26.10.11

รวมเบอร์โทรศัพท์-สายด่วน แจ้งปัญหาน้ำท่วม



          เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนจำนวนมาก และแม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังแล้ว ทว่าอาจยังไม่ทั่วถึงในพื้นที่บางจุด หรืออาจเกิดปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะมีคนบาดเจ็บ-เสียชีวิต, ติดอยู่ภายในบ้าน ไม่สามารถออกมาได้, ขาดแคลนน้ำ-อาหาร, ต้องการแจ้งตัดไฟในพื้นที่, หรือตรวจสอบเส้นทางการเดินทางในพื้นที่น้ำท่วม ฯลฯ

          ด้วยปัญหานานับประการที่กล่าวมานั้นทาง ทีมงานกระปุกดอทคอม จึงขอรวบรวมเบอร์โทรศัพท์สำคัญและจำเป็นในยามสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อให้ทุกท่านสามารถแจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ดังต่อไปนี้

 สายด่วนน้ำท่วม

          - สำนักนายกรัฐมนตรี โทร.1111

          - ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัย ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1111 กด 5

          - ศูนย์น้ำท่วม กทม. สอบถาม ขอความช่วยเหลือ (24 ชั่วโมง) โทร.1555 หรือ 0-2248-5115

          - สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร.1784

          - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี โทร.1669

          - ศูนย์ความปลอดภัยคมนาคม โทร.1356

          - สายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586

          - ตำรวจทางหลวง  สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1193

          - ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146

          - สายด่วน บขส. สอบถามเส้นทางเดินรถต่างจังหวัด โทร.1490

          - สายด่วนกรมชลประทาน เช็คปริมาณน้ำขึ้น โทร.1460 หรือ 0-2669-2560

          - ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง โทร.0-2354-6551

          - สำนักงานประชาสัมพันธ์ โทร.0-2354-6530, 0-2354-6668-76 ต่อ 2014, 2031

          - สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม โทร.1102

          - ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร.1129

          - การไฟฟ้านครหลวง โทร.1130

          - กรมสุขภาพจิต โทร.1323 

          - การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690

          - ท่าอากาศยานไทย โทร. 0-2535-1111 

          - ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส โทร.0-2790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

          - ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ โทร.0-2243-6956

          - กรมการแพทย์ แจ้ง รพ.ทุกแห่ง ที่ประสบภัยน้ำท่วมหากจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วย โทร.0-2206-2952, 0-2206-2920, 0-2644-7000 ต่อ 4444

          - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ประสบภัยส่ง SMS ขอความช่วยเหลือร้องทุกข์ได้ที่ 4567892 ฟรีทุกเครือข่าย

          - ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม. ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 โทร.02-281-5443

          - สอบถามสถานการณ์น้ำ สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-2583-4102

          - ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 0-7538-3405, 0-7538-3253

          - ศูนย์อพยพ กทม.ฝั่งตะวันออก เขตมีนบุรี สอบถาม โทร.087-9803681 คุณเฉลิมศรี / เขตหนองจอก โทร.081-6485557 คุณดำรง (ต่อ)

          - สายด่วนแจ้งจับสัตว์พลัดหลง-จระเข้ ทั่วประเทศ โทร.1362 ตลอด 24 ชม.


  จ.นนทบุรี

          - เทศบาลบางบัวทอง โทร.0-2571-2777, 0-2571-7679

          - เทศบาลนครปากเกร็ด โทร.0-2583-7788

          - ศูนย์ป้องกันและช่วยเหลือฯ เทศบาลนนทบุรี 02-5890489 (24 ชม.) 081-555-3019 081-484-3850


  จ.ปทุมธานี

          - ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี โทร.081-701-4858, 081-825-1343

          - เทศบาลเมืองปทุมธานี โทร.0-2581-7119-21

          - เทศบาลนครรังสิต โทร.0-2567-5999,0-2567-4945,0-2567-4946


  จ.สมุทรปราการ

          - เทศบาลเมืองสมุทรปราการ โทร.0-2382-6040-2


  จ.พระนครศรีอยุธยา

          - หน่วยกู้ภัยสว่างเมตตา รับแจ้งเหตุ-ช่วยเหลือชาว จ.พระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่ อ.มหาราช โทร. 081-669-9272

          - ศูนย์ประสานงานภัยพิบัติ จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3533-55210

          - เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โทร.0-3525-2168 

          - เทศบาลเมืองอโยธยา โทร.0-3588-1571-3

          - อบจ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3579-6447

          - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3524-1612


  จ.เชียงใหม่

          - ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน โทร.053-202609

          - ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ โทร.053-222-479 ( 24 ชั่วโมง)

          - ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ โทร.053-248925, 053-262683

  จ.น่าน

          - ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร.054-792433

          - ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร.054-710-232

  จ.สุราษฎร์ธานี

          - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร.0-7727-2132

          - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย โทร.0-7742-0995

          - สภาองค์กรชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย สุราษฏร์ธานี" ผู้ประสานงาน นายศุภวัฒน์ กล่อมวิเศษ โทร.082-814-9381,นายประวีณ จุลภักดี โทร. 081-397-7442


  จ.นครศรีธรรมราช

          - เทศบาลนครนครศรีธรรมราช รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร.199, 0-7534-8118, 0-7534-2880-3 

          - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 0-7535-8440-4

          - รพ.เทศบาลนครนครศรีฯ รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร.0-7535-6438 หรือ 0-7535-6014

          - มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร.0-7534-5599

          - ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา ม.วลัยลักษณ์ โทร.0-7567-4013 ต่อ 4013

          - มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง โทร.0-7534-3602, ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

          - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช โทร.0-7535-6044

          - โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โทร.0-7534-0250

          - คปภ.นครศรีธรรมราช - ศูนย์รับแจ้งเหตุผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านการประกันภัย โทร.0-7534-7322, 081-1748941

          - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่าศาลา โทร.0-7552-1180

          - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสิชล 0-7577-1666, 0-7577-1592

  ทางหลวงจังหวัด: สอบถามเส้นทาง

          - ทางหลวงจังหวัดพิจิตร โทร.056-697-016

          - ทางหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร.035-241-092

          - ทางหลวงจังหวัดพิษณุโลก โทร.055-302-626

          - ทางหลวงจังหวัดสิงห์บุรี โทร.036-532-523

          - ทางหลวงจังหวัดลำปาง โทร.054-228-246

          - ทางหลวงจังหวัดลพบุรี โทร.036-411-602

          - ทางหลวงจังหวัดเชียงใหม่ โทร.053-228-246

          - ทางหลวงจังหวัดชัยนาท โทร.056-411-649

          - ทางหลวงจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร.055-411-005

          - ทางหลวงจังหวัดอุทัยธานี โทร.056-524-542

          - ทางหลวงจังหวัดนครสวรรค์ โทร.056-221-286

          - ทางหลวงจังหวัดปราจีนบุรี โทร.037-211-098

 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี โทร. 0-2591-2471

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี โทร.0-2581-7119-21

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี โทร.0-3641-4480-1, 0-3641-1936

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3533-5798, 0-3533-5803

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก โทร.0-3738-6209, 0-3738-6484

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี โทร.0-3553-6066-71

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี โทร.0-3621-2238

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี โทร.0-3652-0041

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.อ่างทอง โทร.0-3564-0022

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก โทร.0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ โทร.0-5625-6015

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร โทร.0-5661-5932

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย โทร.0-5561-2415

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท โทร.0-5641-2083

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ โทร.0-5544-4132

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง โทร.0-5426-5072-4

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ โทร.0-5321-2626

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน โทร.0-5356-2963

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก โทร.0-5551-5975

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี โทร.0-4531-2692,             0-4531-3003      

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย โทร.0-4286-1579, 0-4296-1581      

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร.054-741061

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุราษฎร์ธานี (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7727-5550-1

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.กระบี่ (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7561-2639,0-7561-2649  หรือ
0-7561-2735      

          - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.ชุมพร (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-77 50-2257 หรือ 0-7750-3230       

          - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.พัทลุง (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7462-0300 และ  0-7461-1652      

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สงขลา โทร.0-7431-6380-2 โทรสาร  0-7431-6382  

 credit---- ข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


ความรู้เรื่องคลองฉบับน้ำท่วมกรุงกับ ประภัสสร เสวิกุล



ความรู้เรื่องคลองฉบับน้ำท่วมกรุงเทพฯ : วันเว้นวัน จันทร์ พุธ ศุกร์ กับ ประภัสสร เสวิกุล
         บางท่านอาจจะไม่เคยทราบว่า แต่เดิมนั้นกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน กับฝั่งธนบุรี เป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำเจ้าพระยาอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาในอดีตนั้นไหลคดเคี้ยว ถ้าจะพูดให้เห็นภาพอย่างชัดเจนก็คือ ไหลมาจากทางเหนือผ่าน จ.นนทบุรี มาถึงบริเวณที่เป็นสะพานพระปิ่นเกล้าแล้วไหลไปทางตะวันตกเข้าคลองบางกอกน้อย อ้อมไปตลิ่งชัน บางระมาด แล้วจึงวกกลับมาเข้าคลองบางหลวง จากนั้นจึงไหลไปออกทะเลที่อ่าวไทย จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช จึงโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกขึ้นเพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา จากหน้าสถานีรถไฟบางกอกน้อย ถึงหน้าวัดอรุณราชวราราม ในปัจจุบัน เพื่อร่นเวลาการเดินทางระหว่างกรุงศรีอยุธยากับหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทางเดิน และเซาะตลิ่งสองข้างจนกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนเส้นทางเดิมก็ค่อยๆ ตื้นเขิน กลายเป็นลำคลองต่างๆ ได้แก่ คลองบางกอกน้อย คลองชักพระ คลองบางขุนศรี คลองบางเชือกหนัง คลองวัดประดู่ และคลองบางกอกใหญ่



              ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในระยะแรกการขุดคลองเป็นไปเพื่อสร้างแนวป้องกันพระนคร นอกเหนือจากคลองคูเมืองเดิม (คลองผดุงกรุงเกษม) ซึ่งมีมาแต่สมัยกรุงธนบุรี ก็มี คลองรอบกรุง (คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง) คลองหลอด ส่วนคลองมหานาคนั้นขุดขึ้นเพื่อฟื้นฟูประเพณีและจิตใจชาวเมืองซึ่งยังมีความ อาลัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองแสนแสบจากหัวหมากไปบางขนาก จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหารแก่กองทัพไทยในการทำสงครามกับเวียดนาม หลังการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย จึงมีการขุดคลองเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกและการขนส่งข้าว

              ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองเปรมประชากรขึ้น เมื่อ พ.ศ.2413 ตั้งต้นจากคลองผดุงกรุงเกษม หน้าวัดโสมนัสวิหาร ไปออกที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อความสะดวกในการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ กับพระนครศรีอยุธยา และขยายพื้นที่เพาะปลูก ต่อมาในปี พ.ศ.2433-2448 โปรดให้บริษัท ขุดคูคลองและนาสยาม จำกัด ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ในภาคกลางให้เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ โครงการนี้มีพื้นที่ประมาณ 8 แสน-1.5 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นครนายก พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี อันนับเป็นการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อการเกษตรของไทย และทำให้พื้นที่ในโครงการเป็นแหล่งผลิตข้าวประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของทั่วประเทศ ในชั้นแรกคลองนี้มีชื่อเรียกว่าคลองเจ้าสาย ตามพระนามพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ซึ่งทรงเป็นหุ้นส่วนในบริษัท หรือคลองแปดวา ตามความกว้างของคลอง ต่อมาได้พระราชทานนามว่าคลองรังสิตประยูรศักดิ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งเป็นนัดดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

              ทางฝั่งธนบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขุดคลองภาษีเจริญในบริเวณคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ไปเชื่อมกับแม่น้ำท่าจีนที่ดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร ความยาว 28 กิโลเมตร โดยโปรดให้พระยาภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) เจ้าภาษีฝิ่นเป็นแม่กองขุด ใช้เงินพระราชทานจากภาษีฝิ่น จำนวน 112,000 บาท และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดคลอง เมื่อปี พ.ศ.2415 สำหรับคลองมหาสวัสดิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นก่อน เมื่อปี พ.ศ.2402 เพื่อเชื่อมแม่น้ำนครชัยศรีกับแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับเป็นเส้นทางในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ มีความยาว 28 กิโลเมตร

              ส่วนคลองทวีวัฒนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นใน พ.ศ.2421 เป็นคลองแรกในรัชกาลเพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีน เริ่มต้นจากคลองภาษีเจริญตรงรอยต่อระหว่างบางแคกับหนองแขมไปลงแม่น้ำท่าจีน ที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม ความยาว 35.2 กิโลเมตร

              คลองในกรุงเทพฯ ที่ขุดขึ้นโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการเกษตร การคมนาคม หรือการศึกสงคราม ก็คือคลองประปา โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริเมื่อปี พ.ศ.2446 ให้นำน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาผลิตเป็นน้ำสะอาด โดยโปรดให้ขุดคลองประปา จากวัดสำแล จ.ปทุมธานี  มายังโรงกรองน้ำสามเสน แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2457

credit--komchadluek.net


17.10.11

ฟังกูรูนักอุตุนิยมวิทยาต่างประเทศวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย



เดวิด แชลเลนเจอร์ แห่งซีเอ็นเอ็น ได้สัมภาษณ์แบรนดอน มิลเลอร์

นักอุตุนิยมวิทยาอาวุโส เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในหลายประเทศแถบเอเชีย ณ ช่วงเวลาปัจจุบัน ทั้งนี้ มีบทสนทนาหลายตอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์อุทกภัยในประเทศไทย มติชนออนไลน์ จึงขออนุญาตนำบางส่วนของคำถาม-คำตอบเหล่านั้นมาถ่ายทอดต่อดังนี้

ปี 2011 เป็นปีปกติ หรือว่าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีความรุนแรงมากกว่าที่เคยเป็นมากันแน่?

ฤดูกาลของพายุเขตร้อนทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกในปีค.ศ.2011 ถือว่าเป็นปกติ ไม่ได้มีความรุนแรงสูงหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ เราต้องเผชิญหน้ากับพายุที่เกิดติดต่อกัน 2-3 ลูก ซึ่งส่งผลให้เกิดเหตุแผ่นดินถล่มในประเทศฟิลิปปินส์และฝนตกหนักในส่วนอื่นๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงปลายกันยายนถึงต้นตุลาคม แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญจริงๆ ของสถานการณ์ดังกล่าวกลับไม่ใช่ลมมรสุม หากเป็นลักษณะการเคลื่อนตัวของพายุอันเกิดจากความกดอากาศสูงเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ส่งผลให้เศษส่วนที่หลงเหลืออยู่ของพายุเหล่านั้นสามารถเคลื่อนตัวเข้าไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ในระยะไกลมากยิ่งขึ้นกระทั่งเป็นการขยายขอบเขตของร่องมรสุม จนประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม มีอัตราฝนตกมากกว่าปริมาณโดยเฉลี่ย เช่น ปริมาณฝนของพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยประจำปีนี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ตั้งแต่ 15 ไปจนถึง 25%

บางพื้นที่ในทวีปเอเชียถูกบันทึกว่ามีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป เช่น ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปีนี้ต้องรับฝนมากกว่าปกติถึง 58% ทำไมลมมรสุมจึงก่อให้เกิดสภาพอากาศที่รุนแรงกว่าธรรมดาในปี 2011?

ลมมรสุมบางชนิดก็มีกำลังแรงกว่าลมมรสุมลูกอื่นๆ ซึ่งเรื่องดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผลร้อยแปดพันเก้า ปริมาณฝนจากลมมรสุมในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีจำนวนมากขึ้นเพราะปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบอากาศต่างๆ ในเขตร้อนกับร่องมรสุม นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลที่ซับซ้อนกว่านั้น คือ ร่องมรสุมอาจมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพอากาศในระบบใหญ่และภูมิอากาศที่เต็มไปด้วยความแปรปรวนอื่นๆ เช่น ปรากฏการณ์ เอลนิโญ หรือ ลานีญา ยิ่งกว่านั้น อุณหภูมิของพื้นผิวทะเลซึ่งสูงหรือต่ำกว่าปกติ ก็สามารถนำไปสู่ความผันแปรของปริมาณฝนจากลมมรสุมได้เช่นกัน นักวิทยาศาสตร์จึงต้องศึกษาว่า องค์ประกอบเหล่านี้ได้ทำงานร่วมกันอย่างไร จนก่อให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันขึ้นมา

ทั้งนี้ ลมมรสุมอาจมีกำลังแรงในพื้นที่หนึ่ง แต่กลับอ่อนกำลังลงในอีกพื้นที่ ดังเช่นสถานการณ์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งร่องมรสุมมีกำลังแรงมากบริเวณภาคกลางของประเทศไทย แต่ในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ กลับมีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป

จากสภาพทั่วไป ลมมรสุมฤดูร้อนของทวีปเอเชียได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การมีพลังทำลายล้างมากกว่าปกติ หรือว่ายังดำเนินไปตามวงจรของมัน?

ผมเชื่อว่านี่เป็นแค่วงจรปกติของลมมรสุม ซึ่งอย่างที่พูดไปข้างต้นว่า วงจรดังกล่าวขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอันหลากหลาย อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ของมันกลับเลวร้ายยิ่งขึ้น เมื่อประชากรและตัวเมืองได้เติบโตขยับขยายเคียงคู่ไปกับแม่น้ำสายสำคัญๆ อันส่งผลให้พวกเขาได้รับผลกระทบที่รุนแรงและรวดเร็วยิ่งขึ้นในช่วงหน้ามรสุม

ทวีปเอเชียจะสามารถทำอะไรได้บ้าง ในการช่วยบรรเทาผลกระทบจากปริมาณฝนที่สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยปกติ?

การวางผังเมืองและกลยุทธป้องกันน้ำท่วมที่ดีกว่านี้ น่าจะเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดที่จำเป็นต้องทำ น้ำท่วมจากลมมรสุมนั้นเกิดขึ้นอยู่เสมอ และน้ำจากแม่น้ำก็เอ่อนองเข้าท่วมพื้นที่ชายตลิ่งอยู่เป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม ถ้าประชาชนยังคงสร้างอาคารต่างๆ อยู่บนพื้นที่เปราะบางเหล่านั้น หายนภัยธรรมชาติอย่างอุทกภัยก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องบ่อยครั้งขึ้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน





ข่าวหนุ่มเเพร่เอดส์....


สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ตำรวจอังกฤษได้จับกุมหนุ่มอังกฤษวัย 38 ปี ข้อหาแพร่เชื้อเอดส์ให้สาวนับร้อย ทั้งผู้หญิงเที่ยวกลางคืนและโสเภณี เชื่อติดเชื้อมาจากไทยเมื่อ 5 ปีก่อน
หนุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์คนนี้ ชื่อนายไซมอน แม็คเคลียว วัย 38 ปีจากเมืองมิดเดิ้ลบรู ได้ตระเวนแพร่เชื้อเอดส์ให้กับหญิงสาวทั่วราชอาณาจักรโดยเจตนา รวมแล้วเป็นจำนวนนับร้อยคน หลังจากตรวจพบว่า ตัวเองติดเชื้อเอดส์เมื่อปี 2006
และได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน แต่แม็คเคลียว กลับทำในสิ่งที่สวนทางกับคำแนะนำนั้น เมื่อเขาได้ตระเวนท่องราตรีและมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวมากหน้าหลายตา แถมยังไม่ป้องกันอีก ทำให้หญิงสาวหลายรายได้รับเชื้อเอดส์ไปตาม ๆ กัน
กระทั่งในที่สุด เรื่องทั้งหมดก็มาแดงขึ้นเมื่อมีหญิงสาวคู่นอนของเขาคนหนึ่ง ได้ตรวจพบเชื้อเอดส์หลังจากหลับนอนและตั้งครรภ์กับเขา จึงเข้าแจ้งตำรวจในปี 2009 เพื่อดำเนินคดีเพราะเชื่อว่าเขาเจตนาแพร่เชื้อ และอาจจะยังคงตระเวนมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวคนอื่น ๆ ไปทั่ว
ทำให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตามจับกุมหนุ่มผู้แพร่เชื้อรายนี้ทันที ซึ่งจากการสอบสวนเจ้าตัวก็ยอมรับสารภาพว่า เขาเจตนาแพร่เชื้อเอดส์ให้กับหญิงสาวจริง หลังจากเขามักจะเดินทางมายังประเทศไทยในช่วงก่อนปี 2005 และมีเพศสัมพันธ์กับหญิงขายบริการหลายคน โดยป้องกันบ้างไม่ป้องกันบ้าง
ก่อนจะกลับมาบ้านเกิดและตรวจพบเชื้อเอดส์ในที่สุด จึงเชื่อว่าตัวเองได้รับเชื้อมาจากประเทศไทยอย่างแน่นอน นอกจากนี้หลังจากที่ติดเชื้อ เขาก็ยังเดินทางไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ด้วย ซึ่งทางตำรวจเชื่อว่าอาจมีหญิงสาวขายบริการที่นั่นได้รับเชื้อจากเขาไปเช่น กัน
ล่าสุด เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา ศาลได้สั่งจำคุกหนุ่มผู้แพร่เชื้อนี้เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือนแล้ว ฐานเจตนาแพร่เชื้อเอดส์อันนำมาซึ่งความบาดเจ็บสาหัสของบุคคล
ขณะที่ทางฝ่ายสืบสวนคดีได้ประกาศหาหญิงสาวที่เคยเป็นคู่นอนของหนุ่มราย นี้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อพิจารณาเพิ่มโทษ พร้อมแนะนำให้หญิงสาวทุกคนที่เคยหลับนอนกับหนุ่มรายนี้ได้เข้าตรวจเลือดด้วย
แม้ว่าจะมีการตัดสินโทษจำคุกเบื้องต้นไปแล้ว แต่หญิงสาวคู่นอนของเขาที่แจ้งความกับตำรวจ ได้เปิดเผยว่า แม้ว่าจะเป็นโชคดีที่ลูกของเธออันเกิดจากเซ็กซ์ที่ไม่ป้องกันกับเขาจะไม่ได้ รับเชื้อ แต่ศาลพิจารณาตัดสินโทษเบาไป แม็คเคลียวติดคุกเพียง 2 ปี 8 เดือนเท่านั้น แต่เธอผู้ได้รับเชื้อไปเต็ม ๆ นั้นเหมือนกับตกนรกและถูกจองจำไปทั้งชีวิตเลยทีเดียว

ข่าวโดย : ข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

แล้วถ้าหลังจากที่มัีนหลุดมานี่จะทำยังไงต่อไปอ่ะ




บทความน่าอ่าน

 

ด้วยกาล-เทศะ"อย่าปลุกระดม" - เปลว สีเงิน

อืมมมม...เราจะคุยกันตรงไหนก่อนล่ะ เพราะกองทัพน้ำไหลบ่าไปทางไหน ก็แหลกราบไปทางนั้นเกือบทุกแห่ง ไล่จากนครสวรรค์ลงมาถึงอยุธยา-ปทุม ธานี ทั้งเมือง ทั้งนิคมอุตสาหกรรม ทั้งสาธารณูปโภคพื้นฐาน "จมไปหมด" อย่าไปตำหนิรัฐบาลเลยครับ ทุกคนทำเต็มที่และดีที่สุดแล้ว แต่...ที่ดีที่สุด มันก็ได้อย่างที่เห็น-อย่างที่เป็น "เมืองบาดาล" นั่นแหละ!

ถ้าใครเครียดนักก็เปิดโทรทัศน์ช่อง ๑๑ แช่ไว้ เพราะเขาจะมี "โฆษกจำอวด" ของรัฐบาล หรือศปภ.เวียนกันออกมาพูด มาแถลง มายอวาทีนายกฯ สลับด้วยนักการเมืองมานั่งพูดถึงความสำเร็จในสงครามปราบน้ำท่วมของรัฐบาลต่างๆ นานา


ก็ว่ากันไป เป็นธรรมดาครับ เหมือนสุนัขตกน้ำ ถ้าไม่สลัดขนเอง แล้วใครจะสลัดให้มัน นี่ก็ทำนองนั้น ด้วยหวงอำนาจ แล้วกุมสภาพบริหาร-จัดการปัญหาอย่างที่เห็น-อย่างที่เป็นจะรอให้ใครที่ไหนเขามาชมล่ะ?

แต่ขออย่างได้ไหม ท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ หรือนางอะไรผมจำชื่อไม่ได้ซักที รัฐมนตรีคุมสื่อน่ะ ให้ผู้หลักผู้ใหญ่ของพรรคได้โฆษณาสรรพคุณพรรค-สรรพคุณรัฐบาลก็น่าจะพอแล้ว ไม่ควรขยิบตา หรือแกล้งไม่รู้ ปล่อยให้ "วิทยุชุมชน" เครือข่าย นปช.ตอกลิ่มทำลายความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนไทยและของบ้านเมืองทุกเมื่อเชื่อวัน

จะยกย่อง-เชิดชูทักษิณเป็นเทพเจ้าเหนือประเทศไทยอย่างไร ก็ว่ากันไป แต่ที่ควรต้องห้าม-ต้องปรามกันไว้บ้างตรงที่ จะช่วยไม่ให้ชาวบ้านบ่น-โทษ-ตำหนิรัฐบาลจากวิกฤติน้ำ ด้วยการบิดเบือนข่าวสาร-ข้อมูล โดยผูกเรื่อง-แต่งประเด็น

แล้วแจกบทให้บรรดาสมุนนำไปเผยแพร่ตามมวลชนด้วยช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะทางวิทยุชุมชนที่ปล่อยจนเป็นเหมือนวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ไปแล้ว เผลอๆ จะเหนือกรมประชาฯ ด้วยซ้ำ

การออกอากาศบิดเบือนใส่ไคล้ หรือการทำเป็นชาวบ้านโทรศัพท์เข้ามา พูดทำนอง...ได้ยินเขาว่า ที่เขื่อนเก็บน้ำไว้จนล้น แล้วปล่อยออกมาทีเดียวมากๆ พร้อมๆ กันจนท่วม นั่นเป็นแผนของ.....บ้าง ทหารกั๊ก ไม่ยอมออกมาช่วยจริงๆ จังๆ บ้าง

อะไรทำนองนี้ รัฐบาลปล่อยได้อย่างไร ไม่มีสิทธิ์อ้าง ไม่รู้..ไม่เห็น..ไม่ได้ยิน มันเป็นหน้าที่ต้องดูแลโดยตรง และนับแต่เพื่อไทยชนะเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาล วิทยุชุมชนแต่ก่อนที่คลื่นส่งไม่สูงนัก ทุกวันนี้กลับเสียงดัง ฟังชัด หรือมีนโยบายให้เป็น "กรม นปช.สัมพันธ์" ของรัฐบาล?

แล้วระบาดไปทุกจังหวัดนะ วิทยุชุมชนบิดเบือนข่าวให้คนเสื้อแดงด้วยกันหลงเชื่อ สร้างบรรยากาศให้ชาวบ้านคล้อยตาม เพื่อให้เกลียดชังสถาบัน อย่างที่เรียกว่า "ล้างสมองชาวบ้าน" ให้เชื่อว่าประเทศนี้ ต้องทักษิณเท่านั้น

แถมยังจ้างให้ "ทนายต่างชาติ" เข้ามามีอำนาจเหนืออธิปไตยประเท
ศ ดังที่เห็นขณะนี้!?

ก็ปล่อยให้พูดกันทั้งวัน-ทั้งคืน ทั้งในกรุงเทพฯ และทุกตำบล-อำเภอ-จังหวัด ระดับรัฐบาลเป็นใบ้ ระดับท้องถิ่นก็พลอยหูหนวก-ตาบอดตามกันไปหมด!

นี่...ก็ฝากเรื่องนี้ให้ "สุมศีรษะ" คนเป็นนายกฯ ไว้อีกเรื่อง ไม่ใช่อะไรหรอก ผมเข้าห้องน้ำชอบเปิดวิทยุ ตะก่อนวิทยุแดงจะดังแบบคลื่นแทรก แต่เดี๋ยวนี้ วิทยุทหาร-วิทยุกรมประชาฯ ต้องชิดซ้าย ดังแบบคลื่นแทรกวิทยุเสื้อแดงไปแล้ว

ผมฟังแล้วทุเรศ คือตอนนี้ก็เห็นกันอยู่ ชาวบ้านทุกคน ไม่มีพวกเขา หากแต่เป็นพวกเรา "คนไทยด้วยกัน" ทั้งนั้น เมื่อมีทุกข์ก็ไม่รั้งรอปันสุขไ
ปเคล้าทุกข์ ช่วยเหลือกันสุดใจขาดดิ้น

แต่รัฐมนตรีคุมสื่อกลับปล่อยให้วิทยุเสื้อแดง อันเป็นสื่อในเครือข่ายรัฐบาลนั่นแหละ เจาะไชประเทศเรื่อยไป ออกข่าวใส่ไคล้-บิดเบือน ในเรื่องที่ไม่สามารถนำมาพูดตรงนี้ได้ ทำนองตอกลิ่ม-ปลุกระดมให้เชื่อ ด้วยเกรงพวกเสื้อแดงจะกลับใจ-เลิกแดง
ด้วย "รู้แจ้ง-เห็นจริง" ในความรักบริสุทธิ์ของคนไทยด้วยกัน!

มาคุยกันถึงสถานการณ์น้ำวันนี้บ้าง นี่...บ่ายวาน (๑๖ ต.ค.) ได้ยิน ศปภ.เขาประกาศทางโทรทัศน์ด้วยน้ำเสียงค่อนข้างลิงโลดว่า "น้ำก้อนใหญ่จากนครสวรรค์ผ่านกรุงเทพฯ ลงทะเลไปแล้ว" ทำนองจะบอกชาวบ้านว่า

"น้ำไม่ท่วมตัวกรุงเทพฯ แล้ว"!

ก็ขอให้เป็นอย่างนั้น "น้ำไม่ท่วม" กับ "น้ำยังไม่ท่วม" ฟังเผินๆ จะเหมือนกัน แต่มันไม่เหมือนนะ ที่ไม่ท่วมน่ะ เพราะกองทัพน้ำหลังจากเหยียบราบจมบาดาลเรื่อยมาเป็นจังหวัดๆ แล้ว ตอนนี้กำลังโรมรันพันตูอยู่กับแนวต้านทานชานกรุงด้านตะวันออกแถวๆ คลองรังสิต ปทุมธานี

ที่ว่า "น้ำก้อนใหญ่ลงทะเลหมดแล้ว" นั้น ยังหรอกครับ ได้แปรจากทัพก้อนใหญ่ ไปเป็นก้อนเล็ก-ก้อนน้อย กระจายตามพื้นราบกำซาบอาบเอิบ หวังหาช่องซอนซอกแทรกซึมเข้า "กทม.ชั้นนอก-ชั้นใน" ให้ได้

นิคมอุตสาหกรรม ๔-๕ แห่ง นั่นคือบทพิสูจน์ฝีมือ ศปภ. และขณะนี้ยุทธการชิง "นิคมอุตสาหกรรมนวนคร" ระหว่างน้ำก้อนใหญ่ กับกองกำลังต้านรับที่เปลี่ยนจากบัญชาการ ศปภ. มาเป็นภายใต้บัญชาการของทหาร

วัดกันละครับ ใครดี-ใครได้ ถ้าน้ำเหนือกว่า ตีนวนครแตก กทม.คงต้องเสียเมืองบางส่วนให้กองทัพน้ำก้อนใหญ่ กระทั้งที่ตั้ง ศปภ.เองก็เหอะ คงต้องรับสภาพ "กองบัญชาการใหญ่ฝ่ายรัฐบาลแตก"

แต่ถ้ากองกำลังภายใต้บัญชาการทหารต้านอยู่ คงพอมีเวลาตั้งหลักถอนหายใจไปจนถึงปลายเดือน นี่ตามตารางน้ำขึ้น-น้ำลง แต่ตามตารางของผม ปลายเดือนตุลาไม่น่ากลัวเท่าปลายเดือนพฤศจิกา!?

ด้วยความจำเป็นทางบริหาร-จัดการในภาวะวิกฤติ รัฐบาลคงต้องมอบภาระให้ทหารเข้ามาควบคุมสถานการณ์เต็มตัวมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างตัวอย่างที่เห็น ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้าน มึงกั้น-กูรื้อ, มึงเปิด-กูปิด

ด้วยอำนาจ ศปภ.ใครก็ควบคุมและสั่งใครไม่ได้ สภาพหดหู่ทางสังคมที่มีให้เห็นคือ "ฉิบหายให้เหมือนกันหมด สะใจ-สบายดี" จึงปรากฏให้รันทด และละอาย ความแห้งของเพื่อนบ้าน คือภาพทรมานจิตใจของคนอีกฝ่ายหนึ่ง นี่แหละสภาพ "สังคมไทย" ยุคแดงทั้งแผ่นดิน เพื่อทักษิณคนเดียว!

เอาละครับ...วันนี้ผมมีของฝากเล็กๆ น้อยๆ จากคนที่หลายท่านชะเง้อคอย คือบทคุยจาก "อาจารย์กรหริศ บัวสรวง" ต้องขออภัยที่ตัดทอนบางส่วนออกไปด้วยเนื้อที่จำกัด และอีกอย่างเอาไว้ให้ท่านได้พูดคุยเองวันนั้น ดังนี้ครับ

ผมหายไปจากหน้า ๕ ของคุณเปลวนานพอสมควร ในขณะที่บ้านเมืองกำลังเผชิญกับภัยพิบัติก่อนกำหนดในมหาชลาลัยอย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน และกรุงเทพฯ ก็หนีไม่พ้นที่จะจมน้ำ ตามกำหนดควรจะเกิดจริงแล้วจะเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นับไปถึงอนาคตเป็นระยะเวลานานถึง ๕ ปี โดยจะมีเภทภัยอย่างน้อย ๕ ประการ

ผมขอบคุณผู้ที่ติดตามงานเขียน งานพูดทางโทรทัศน์และวิทยุที่เรตติงแรงมาก แต่ผมคงออกอากาศได้เพียงวันอังคารเท่านั้น และคอลัมน์คุณเปลวที่ให้กำลังใจว่าผมทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ แม้การแก้ดวงเมืองครั้งนี้จะต้องกระทบต่อผู้อื่นหรือใช้งบประมาณสูงมาก ในการพึ่งพาอาศัยใบบุญของของมหาพุทธานุภาพที่ไม่มีไสยศาสตร์เจือปน

วันนี้คงไม่เอาเนื้อที่ของคุณเปลวมาก นัก แต่วันที่ ๒๑ ตุลาคม ผมไปที่ไทยโพสต์แน่นอน อาจไปถึงช้าเพราะสอนที่สมาคมฯ เสร็จเวลาเที่ยง และหากคุณเปลวอนุญาต หลังจากฟังธรรมะจากท่าน ว.วชิรเมธี แล้ว ผมจะบรรยายร่ายเรื่องราวเล่าสู่กันฟังสดๆ อย่างกันเองว่าด้วยสถานการณ์บ้านเมืองตามหลักของศาสตร์หลายแขนงที่ผมมีอยู่อย่างถึงพริกถึงขิงตามสไตล์ของผมสักครึ่งชั่วโมง และจะเปิดเผยสิ่งที่คนกว่าค่อนประเทศไม่รู้

ก็คงมีสาระและเอ็นจอยกันพอควร เพื่อตอบแทนท่านที่มาทำบุญกับผมเพราะอ่านไทยโพสต์ ในฐานะเป็นประธานชมรมปวงชนข้าแผ่นดิน ซึ่งยื่นเรื่องจัดตั้งเป็นสมาคมไว้แล้ว ในวันนั้นผมจะนำหนังสือ “สถานการณ์ภัยพิบัติของโลก” เขียนโดย ดร.สมิทธ ธรรมสโรช และผม เพื่อให้ท่านได้บริจาคทำบุญเป็นปัจจัยในการเททองหล่อพระพุทธรูป "องค์แรก" องค์เดียวในบวรพระพุทธศาสนา มีศิลปะทรงเครื่องงดงามดังที่เห็นในภาพ (หากนำลงได้)

เมื่อมาอาศัยหน้าของคุณเปลวแล้ว ท่านผู้อ่านที่เชื่อถือผมคงต้องการรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับ “ผู้นำ”ก็โปรดสดับดังนี้

๑.ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน เวลา ๑๒.๓๕ น.ถึง ๑๗ ธันวาคม เวลา ๐๑.๑๖ น.ผู้นำคนนี้แหละจะถูกสังคมพิพากษาจากพฤติกรรมในอดีต ทำให้อับอายขายหน้า เสื่อมเสียชื่อเสียง (ซึ่งที่จริงก็ไม่มีอยู่แล้ว)และอาจเกี่ยวพันไปถึงข้อกฎหมายที่ทำให้ต้องหลุดจากตำแหน่งก็อาจเป็นไปได้

๒.คนในตระกูลในครอบครัวจะเจอกับบทลงโทษจากกฎแห่งกรรม

๓.เศรษฐกิจจะพังพินาศ

๔.ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกรจะลุกฮือกันอย่างพร้อมเพรียงกัน

๕.ทหารเตรียมพร้อมไม่ระย่อห่อเหี่ยวเหมือนเดือนกันยายน-ตุลาคม ดาวอังคารซึ่งเป็นดาวประจำดวงเมืองจะเป็นดาวยงยศตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ทำมุมทแยงรูปปลายศร ๑๕๐ องศา ส่งกระแสสัมพันธ์ไปยังพระราหูที่อยู่ในเรือนของดาวอังคาร เป็นมุมหักข้อพับ ๙๐ องศา

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่ออังคารและพระราหูจรยังส่งแรงดันไปยังดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีเดิมของดวงเมืองด้วยมุมทแยงเช่นกัน ในขณะที่ดาวเสาร์กำลังแสดงฤทธิ์เดชเป็น “พระเสาร์เขย่าโลก” ให้โศกศัลย์จาบัลย์บรรลัยในปีแห่งพญานาค หรือนาคราช ที่จะเริ่มต้นเป็นปีมะโรงในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ คงจะเห็นภาพบ้างแล้วว่ารัฐบาลและนักการเมืองจะอยู่ได้ไม่นาน

และเรื่องของชาวไทยโพสต์ในวันที่ ๒๑ ตุลาคม เป็นวันที่มีรหัส ๘ ที่หมายถึง ความคิดในแนวทางแห่งปรัชญา (Philosophic though) เป็นวันที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ อันแรงกล้าต่อศาสนา การศึกษาพิสูจน์ความเร้นลับ เลข ๘ ในทางโหราศาสตร์สากล คือดาวเสาร์ ซึ่งเรียกขานว่า The Planet of Fate ที่นำมาซึ่งอุดมการณ์และประสบการณ์ บังเกิดเป็นความสำเร็จที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคจนได้รับโชคชัยเป็นรางวัลแห่งชัยชนะจนเป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีคุณค่าเหนือกว่าใคร

แล้วพบกันครับ ด้วยความขอบคุณต่อผู้ที่มีกุศลกรรมร่วมกัน

-กรหริศ บัวสรวง-

ก็ยินดีครับ แต่ยังไม่ทราบเลยว่า ศุกร์ที่ ๒๑ ตุลานี้ ฟ้าดินจะเมตตาประทานน้ำมาคลองเตยด้วยหรือไม่ แต่ถึงยังไงอาจารย์กรหริศกับผม มากันแค่ ๒ คน ก็ฉลอง ๑๕ ปี ไทยโพสต์กัน ๒ คน มิเห็นจะเป็นไร..นิ.

http://www.thaipost.net/news/171011/46709


15.10.11

อย่าลืมยกเลิกบัตรเครดิตของคุณก่อนตาย...



อย่าลืมยกเลิกบัตรเครดิตของคุณก่อนตายนะ มันสำคัญมาก
สิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน เพราะส่วนบริการลูกค้ามักจะเป็นเช่นนี้
นางแจ่มชัดเสียชีวิตไปเมื่อเดือนมกราคม ปีนี้เอง
 ทางธนาคารซิตี้แบงค์ ได้ส่งใบเรียกเงินมาเก็บค่าธรรมเนียมประจำปี
ของบัตรเครดิตมาถึงเธอในเดือน กุมภาพันธ์ และมีนาคม
พร้อมทั้งเรียกเก็บค่าปรับที่เธอชำระช้าพร้อมดอกเบี้ยของยอดที่เรียกเก็บนั้น
ซึ่งในความเป็นจริง เธอไม่ได้ใช้บัตรนั้นมาตั้งแต่วันที่เธอตายแล้ว
แต่บัดนี้ยอดทั้งหมดที่เรียกเก็บ กลายเป็นจำนวนสองพันกว่าบาทเข้าไปแล้ว


ทางญาติของเธอจึงโทรศัพท์ไปยังธนาคาร
เชิญอ่านดูการโต้ตอบ:
ญาติผู้ตาย ;  ดิฉันโทร. มาแจ้งว่าคุณแจ่มชัดเสียชีวิตแล้วค่ะตั้งแต่เดือน มกราคม
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ;  ยังไม่มีการแจ้งปิดบัญชีนะคะ ดังนั้นค่าปรับการชำระช้า จึงต้องเรียกเก็บค่ะ
ญาติผู้ตาย ;   งั้นช่วยยกเลิกบัตรให้ดีไหมคะ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ; แต่มันช้ามาสองเดือนแล้วนะคะ ที่เรียกเก็บไม่ได้ และธนาคารได้ออกใบเรียกเก็บไปแล้วค่ะ
ญาติผู้ตาย ; ตามปกติถ้าลูกค้าเกิดตายไป ทางธนาคารจะจัดการอย่างไรต่อคะ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ; เรา อาจต้องแจ้งหน่วยคดีฉ้อโกง หรือไม่ก็แจ้งไปยังเครดิตบูโร(ส่วนงานที่จะคอยเก็บประวัติการมีเครดิตของคน ประเทศไทยก็มีค่ะ)หรือไม่ก็แจ้งไปทั้งสองที่ค่ะ
ญาติผู้ตาย ; แล้วยมบาลจะโกรธเธอไหมคะ ? ( ฉันชอบคำถามนี้ของตัวเองจริงๆ)
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ; อะไรนะคะ ?
ญาติผู้เสียชีวิต ; นี่คุณได้ยินหรือเปล่าคะที่ดิฉันบอกว่าเธอตายไปแล้วน่ะค่ะ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ; รอสักครู่ค่ะ คุยกะหัวหน้าดีกว่าค่ะ
สักครู่หัวหน้ารับโทรศัพท์ไปพูดต่อ


ญาติผู้เสียชีวิต ; ดิฉันโทร.มาแจ้งให้ทราบว่า เจ้าของบัตรเสียชีวิตไปตั้งแต่เดือนมกราแล้วค่ะ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ;   ยังไม่มีการแจ้งปิดบัญชีนะครับ ดังนั้นค่าปรับการชำระช้า จึงต้องเรียกเก็บครับ(สงสัยเป็นประโยคทีทางธนาคารมีไว้ให้ใช้ตอบกับลูกค้า)
ญาติผู้เสียชีวิต ; หมายความว่าจะต้องเรียกเก็บจากที่ดินของเธอหรือคะ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ; ( ชักเริ่มติดอ่าง) คุณเป็นทนายความของเธอหรือครับ ?
ญาติผู้เสียชีวิต ;   เปล่าค่ะ  ดิฉันเป็นเหลนของเธอน่ะค่ะ (ทนายสอนให้บอกเช่นนี้)
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ;   กรุณาช่วยส่งแฟกซ์ มรณบัตรของเธอมาได้ไหมครับ
ญาติผู้เสียชีวิต ; ยินดีค่ะ (ทางธนาคารแจ้งเบอร์แฟกซ์) หลังจากได้รับแฟกซ์เรียบร้อย
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ; ทางระบบของเราไม่ได้บอกว่าจะให้จัดการอย่างไร
ในกรณีที่ลุกค้าเสียชีวิต ผมก็ไม่ทราบจะช่วยเหลือได้อย่างไร
ญาติผู้เสียชีวิต ;  อ่อค่ะ คิดต่อไปนะคะ ถ้ายังคิดไม่ออกก็เรียกเก็บเงินเธอไปเรื่อยๆแล้วกัน
เธอคงไม่ว่าอะไรหรอกค่ะ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ;  ครับค่าปรับการชำระช้าก็ต้องเรียกเก็บต่อไปนะครับ (มันเป็นห่าอะไรของมันวะ!!!)
ญาติผู้เสียชีวิต ; ไม่ทราบต้องการที่อยู่ใหม่ขอคุณยายทวดไหมคะ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ;   ดีเลยครับ
ญาติผู้เสียชีวิต ;  ปากน้ำ  แม่น้ำเจ้าพระยา  สมุทรปราการค่ะ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร ; ขอประทานโทษครับ นั่นมันเป็นแม่น้ำนี่ครับ
ญาติผู้เสียชีวิต ;   อ้าว แล้วเวลาญาติพวกคุณตาย เอาอังคารไปลอยแถวไหนหรือคะ





11.10.11

ความเข้าใจเรื่อง "การเมือง" ...ของเด็กคนหนึ่ง

 


เรื่องนี้เป็นเรื่องของเด็กน้อยคนหนึ่ง ซึ่งมีครอบครัวที่อบอุ่นในครอบครัวมีด้วยกันทั้งหมด 5 คน

วันนึงขณะที่เด็กน้อยนั่งกินข้าวเช้าอยู่บนโต๊ะอาหารเด็กน้อยมองเห็นคุณพ่อดูข่าว TV เกี่ยวกับการ เมือง

" พ่อ...การเมืองคืออะไรอ่ะ" 
เด็กน้อยถามพ่อด้วยความสงสัย

พ่อทำท่าทางคิดหนักก่อนจะตอบกลับไปว่า 
"อืม...มันก็ไม่ยากหรอกลูกเปรียบเทียบง่ายๆนะลูก"

เปรียบ พ่อเป็น พ่อค้านายทุน ก้อคอยหาเงินไง
เปรียบ แม่เป็น รัฐบาล ก็คอยเอาเงินจากพ่อมาบริหารไง
เปรียบ ตัวลูกเองเป็น ประชาชน ที่ต้องมีรัฐบาลคอยดูแล
เปรียบ น้องชายของลูกเป็น อนาคตของชาติ
เปรียบ พี่แจ๋ว (พี่เลี้ยงของเด็กในบ้าน) เป็นชนชั้นแรงงาน


เด็กน้อยทำหน้า งง ก่อนจะปล่อยให้ ความสงสัยนั้นอยู่ในหัวตลอดทั้งวัน
จนเมือถึงเวลาตกดึกของวันนั้น ขณะเด็กน้อยกำลังหลับ

"แง๊ๆๆๆๆๆ" 
เสียงน้องชายตัวน้อยของเค้าร้องดังขึ้น


เด็กน้อยเดินไปดูที่เปลจึงได้รู้ว่าน้อยชายของเค้า "ขี้แตก"
เด็กน้อยรู้ทันทีว่าต้องไปตามแม่มาดูน้อง

ขณะเดินไปตามแม่เด็กน้อยได้ยินเสียงออกมาจากห้องของพี่แจ๋ว พี่เลี้ยงคนสวย  ด้วยความสงสัยจึงแง้มประตูดูพบว่า พ่อเค้ากำลังอยู่บนตัวของพี่แจ๋ว

เด็กน้อยจึงเดินไปที่ห้องของแม่พบว่า แม่ของเค้ากำลังนอนหลับไม่รู้เรื่องอยู่

เด็กน้อยพยายามปลุกแต่ก็ไม่ยอมตื่น

เด็กน้อยท้อใจเดินกลับห้องนอนและหลับไปหลังจากคิดอะไรได้มากมาย

ตื่นตอนเช้าขณะลงมาจากห้องเพื่อกินข้าวเช้าเด็กน้อยเห็นพ่อของเค้า

"พ่อๆ ผมรู้แล้วละว่าการเมืองเป็นยังไง" 
เด็กน้อยยิ้มที่ตัวเองเข้าใจในสิ่งที่ผู้ใหญ่บางคนยังไม่เข้าใจ

"แล้วมันเป็นยังไงละไหนบอกพ่อสิลูก" 
พ่อถามด้วยความอยากรู้

" การเมืองก็คือ ....การที่พ่อค้าหรือนายทุนกดขี่ชนชั้นแรงงาน!! ในขณะที่รัฐบาลก็หลับหูหลับตาไม่สนใจประชาชนแม้ว่าประชาชนจะเรียกร้องยังไง ก็ตาม!! โดยทิ้งอนาคตของชาติให้จมบนกองขี้!!!!!!!!!!!! "
เด็กน้อยตอบด้วยความภาคภูมิใจ ที่เค้าได้คำตอบให้กับตัวเองและพ่อของเค้า



10.10.11

วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

 

****เอาบทความจากบล๊อคของคุณกาญจนามาฝากค่ะ****

น้ำท่วมเชียงใหม่ปีนี้ บ้านผมก็หนีไม่พ้นอีกเช่นเคย เพราะอยู่ในโซนหมายเลข 1 ที่น้ำจะต้องท่วมก่อนโซนอื่น ๆ ยังโชคดีที่ อบต.ปรับปรุงถนนหน้าหมู่บ้านให้มีความสูงมากขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี ดังนั้นถึงแม้ระดับน้ำจากแม่น้ำปิงจะสูงเกินค่าวิกฤติ คือ 3.70 เมตร น้ำก็ยังไม่ล้นตลิ่งข้ามถนนเข้าไปท่วมหมู่บ้าน แต่ในที่สุดก็ไม่รอด เพราะปีนี้น้ำขึ้นสูงสุดถึง 4.94 เมตร สรุปว่าน้ำเริ่มเข้าท่วมถนนภายในหมู่บ้านตั้งแต่ตอนบ่ายวันพุธที่ 28 กันยายน 2554 และหยุดท่วมในเช้าวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554

ถึงน้ำจะท่วมถนนภายในหมู่บ้านสูงถึง 60 ซม. จนไม่สามารถใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้า-ออกได้ตามปกติ แต่จากประสบการณ์ที่ต้องผจญกับน้ำท่วมในหมู่บ้านนี้มาหลายครั้ง ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่จะป้องกันไม่ให้น้ำจากถนนภายในหมู่บ้าน ไหลเข้าไปท่วมในบริเวณบ้านอย่างได้ผล ขอนำมาบันทึกไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ในวันนี้ครับ

เตรียมการก่อน

ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1)บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้น มา (2)กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้

(1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน
(2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ
(3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่าไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว
(4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

น้ำมาแล้ว

เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้ว ในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้ามาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ

เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสีย หายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว

ภาพบรรยากาศ


ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน


เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว


ขณะที่ถนนด้านนอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที


ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้


บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน


อีกภาพหนึ่ง


หวังว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไป ได้บ้างตามสมควรครับ

cradit---http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ampols&month=10-2011&date=04&group=6&gblog=4







20 ประการ เตรียมบ้านให้พร้อมก่อนน้ำท่วมใหญ่



         เมื่อน้ำเหนือก้อนใหญ่กำลังไหลเข้าสู่เมืองหลวง หลายฝ่ายกำลังสู้รับมือภัยพิบัติ ถึงเวลาที่เราต้องพึ่งพาตัวเอง ด้วยการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือเหตุน้ำท่วมกับ "บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม" โดย อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์...

        เมื่อเร็วๆนี้ ไทยรัฐออนไลน์ได้รับบทความจากอาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ สถาปนิกผู้ดำเนินรายการ รายการ "คุยกับหมอบ้าน" เล็งเห็นว่า บทความนี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือที่ต่ำ ที่ต้องประสบกับเหตุน้ำท่วม เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสียหายให้บรรเทาเบาบางลง โดยอาจารย์ยอดเยี่ยมเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่หวังผลตอบแทน ดังนั้น ไทยรัฐออนไลน์ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ เพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชนในวงกว้างต่อไป

           เมื่อนานมาแล้ว ปี พ.ศ. 2538 น้ำท่วมประเทศไทย ผมเขียนหนังสือร้อยพันปัญหาในการก่อสร้างเล่มที่ 3 เรื่อง “บ้านหลังน้ำท่วม” โดยมีเป้าหมายในการให้คนที่มีทุกข์จากการถูกน้ำท่วม ทราบแนวทางในการปรับปรุงบ้านของตนเองอย่างถูกวิธี และประหยัดงบประมาณ ซึ่งเป็นหนังสือที่ไม่มีลิขสิทธิ์ใดๆ จึงมีผู้จัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายไปเป็นจำนวนหลายแสนเล่ม  มาถึงวันนี้ คนไทยทั้งหลายเข้าใจเรื่องน้ำท่วมมากขึ้น ศึกษาข่าวสารบนความไม่ประมาทมากขึ้น และเริ่มมีการ “เตรียมตัว” เพื่อจัดเตรียมบ้านให้พร้อมก่อนที่น้ำจะมา จึงขอเขียนบันทึก “บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม” แบบสั้นกระชับนี้ขึ้น ซึ่งหวังว่าคงจะพอมีประโยชน์ครับ ขอให้หลับตาแล้วนึกถึงภาพว่า เรากำลัง “เตรียมเมืองรับศึกสงคราม” 

1. ดูทางน้ำที่จะมาสู่บ้านเรา แล้วจะไปทางไหนได้บ้าง     

ขอให้คิดว่า เราเหมือนกำลังตั้งค่ายคูประตูหอรบอยู่ เราต้องรู้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีเราทางทิศใดได้บ้าง และหากเกิดความพลาดพลั้งขึ้นมา เราจะหนีไปทางไหนได้บ้าง ซึ่งข้าศึกอาจจะเข้ามาตีเราหลายทางก็ได้ และเราก็อาจจะมีทางหนีไปหลายทางก็ได้ บางครั้งข้าศึกไม่ได้มาตีแค่ 2-3 ทาง แต่ทำการ “ล้อม” เราเอาไว้ทุกด้านก็ได้ ทำให้ทางหนีของเราถูกปิดกั้นไว้หมด  หาก เมื่อรู้แนวทางเหล่านั้นแล้ว ก็ขอให้เริ่มวางแผนที่จะ“หยุดน้ำ หยุดข้าศึก ที่จะเข้ามาโจมตีเรา” ซึ่งการหยุดยั้งน้ำหรือข้าศึกนั้น มีหลายวิธีที่ต้องจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการ “สร้างเขื่อนชั่วคราว” ด้วยกระสอบทราย หรือเอาแผ่นวัสดุใดๆ มากั้นก็ได้ การปิดกั้นนั้นมีหลายวิธี ซึ่งใช้ความเข้าใจพื้นฐาน บวกกับสอบหาข้อมูล ก็จะพอทราบกันเองได้

2.   กำแพงบ้านไว้กันน้ำได้ แต่ต้องระวังรั้วพัง

ตามปกติแล้วรั้วบ้านที่เป็นคอนกรีตหรือก่ออิฐ จะเปรียบเสมือนกำแพงเมืองที่จะกันน้ำไม่ให้เข้ามาในบ้านของเรา แต่เราต้องไม่ลืมว่า น้ำหนักของน้ำที่ขังหรือถาโถมเข้ามากดที่ด้านข้างของกำแพงรั้วเรา จะทำให้รั้วบ้านของเราเกิดการเอียง แตกร้าว หรือพังลงมาได้ เพราะรั้วบ้านทั่วไป วิศวกรท่านจะไม่ได้ออกแบบไว้ให้รับแรงหรือน้ำหนักที่กระทำด้านข้างได้มากนัก
ทางป้องกันที่ง่ายที่สุดก็คือเราหากระสอบทรายมาวางไว้อีกด้านหนึ่งของรั้วบ้านเรา (ในบ้านเรา) วางไว้ติดชิดกับรั้วไปเลย ยามเมื่อรั้วจะเอียงเพราะว่าน้ำที่ท่วมกดน้ำหนักมาอีกด้านหนึ่ง กระสอบทรายก็จะทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักเอาไว้ ถ่ายแรงจากรั้วมา รั้วก็ยังตั้งตรงอยู่ได้ "กำแพงเมืองของเราก็ไม่แตก หรือล้มครืนลงมา"

3. น่าจะมี “ปืน” ไว้สู้ฝน สู้น้ำท่วม จัดการกับ “รูรั่ว”

บ้านหลายหลังที่มีรู มีรอยแตกเล็กๆ ตามผนังหรือช่องหน้าต่าง ตามรอยต่อของผนังกับเสาและคาน หรือแม้แต่ตามรั้วบ้าน ซึ่งบางครั้งเราไม่มีเวลา (หรืองบประมาณ) ที่จะแก้ไขได้ที่ต้นเหตุ จะตามช่างมาซ่อมแซมหรือ ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หรือไม่ทันเวลาเสียแล้ว ดังนั้น เราก็น่าจะมีวัสดุอุดประสานรอยจำพวก ซิลิโคน หรือ อะคริลิค หรือ โพลี่ยูริเทน เอาไว้ เพื่ออุดรอยเหล่านี้ ซึ่งเราน่าจะทำได้ด้วยตัวเอง (โดยเฉพาะในจังหวะที่เศรษฐกิจไม่ดี หรืออยากจะฝึกตัวเองเป็นช่างบ้าง) แต่การที่เราจะใช้วัสดุ ประสานที่มีความยืดหยุ่นและอยู่ในหลอดแข็งๆนี้ได้ เราจะต้องมีอุปกรณ์การ "ฉีด" ซึ่งภาษาช่างทั่วไปเขาเรียกกันว่า "ปืน" ที่ราคาไม่แพงเลยครับ บางครั้ง ท่านอาจจะต้อง "พกปืน" ไว้ในบ้านของท่านสักชุด เพื่อช่วยเหลือตัวเองในการต่อสู้ ป้องกันน้ำไม่ให้ไหลเข้ามาในบ้านของเรา

4. อย่าให้ต้นไม้ล้มทับบ้าน ยามน้ำท่วมและพายุมา

ต้นไม้ทั้งหลายที่อยู่ในบ้านหรือใกล้บ้านเราจะเป็นอันตรายยามมีพายุมา เพราะต้นไม้อาจจะล้ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ที่ล้อมจากที่อื่นมาปลูก เพราะต้นไม้เหล่านั้นไม่มี “รากแก้ว” ครับ) หรือ กิ่งต้นไม้บางประเภทที่ค่อนข้างเปราะ (เช่น ต้นประดู่กิ่งอ่อน) อาจจะหักลงมาสู่ตัวบ้านเรา ต้องทำการเล็มกิ่งหรือตัดกิ่งบางกิ่งออกไปเสีย
ยามเมื่อน้ำท่วม ระดับน้ำใต้ดินจะสูงมาก (หรือน้ำท่วมเข้ามาได้จริงๆ) รากของต้นไม้จะแช่น้ำเป็นเวลานาน รากต้นไม้จะเน่าได้ แล้วความสามารถในการยึดเกาะกับดินก็จะน้อยลง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ไม่มีรากแก้ว) ต้นไม้ก็อาจจะล้มลงได้ ต้องทำการค้ำยันลำต้นเอาไว้ให้ดี ก่อนน้ำจะท่วม สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องการให้ปุ๋ย ซึ่งตอนที่น้ำท่วม ห้ามให้ปุ๋ยต้นไม้ เพราะจะทำให้รากเน่าเร็วขึ้น (ต้นไม้ที่โดนน้ำท่วมก็เหมือนคนป่วย เขาไม่ต้องการอาหารดีๆ (แต่ย่อยยาก)  ขอให้หายป่วยเสียก่อนค่อยกินอาหารดีๆ เยอะๆได้)

5. ตรวจสอบถังน้ำใต้ดิน

บ้านใครมีถังน้ำใต้ดิน ต้องตรวจสอบ “ฝา” ของถังน้ำให้ดีๆ เพราะเวลาน้ำท่วม ถังน้ำจะอยู่ใต้น้ำด้วย หากฝาของถังน้ำมีระบบป้องกันน้ำเข้าไม่ดี น้ำสกปรกที่ท่วมเข้ามา ก็จะไปปนกับน้ำสะอาดในถังน้ำของเรา ปัญหาเรื่องโรคภัยต่างๆ ก็จะตามเข้ามาหาตัวเราโดยทันทีครับ   หากเรา ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำเล็ดลอดเข้ามาในถังของเราได้ ก็ขอให้ต่อท่อน้ำตรงจากท่อประปาหน้าบ้านเรา เข้ามาที่ตัวบ้านของเราเลย (โดยปกติแล้วบ้านที่มีถังน้ำใต้ดินจะมีวาล์วหมุนเปิดทางให้น้ำประปาจากหน้าบ้านเรา วิ่งผ่านตรงเข้ามาในบ้านโดยไม่ลงไปที่ถังน้ำใต้ดินได้ ต้องหาวาล์วตัวนี้ให้เจอ แล้วต่อตรงเข้ามาเลยดีกว่า น้ำจะเบาลงหน่อย แต่ก็ยังเป็นน้ำสะอาด)

6. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้านอกบ้าน ตัดกระแสไฟเสีย

ภายนอกบ้านของเราจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่าง เช่น ปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ หรือแม้กระทั่งไฟสนาม และกริ่งหน้าบ้าน ต้องหาสวิตซ์ตัดไฟให้พบว่า จะต้องตัดไฟตรงไหนไม่ให้ไฟฟ้าวิ่งเข้าไปที่อุปกรณ์เหล่านั้นได้ ยามเมื่อน้ำท่วมเข้ามา ต้องทำการตัดไฟตรงนั้นเสีย (แม้กระทั่งยามจะเข้านอน ถ้าไม่แน่ใจว่าน้ำจะท่วมเข้ามาตอนเราหลับอยู่หรือเปล่า ก็ต้องปิดสวิตซ์ไฟฟ้าของอุปกรณ์เหล่านั้นเสีย ตื่นมาตอนเช้า หากน้ำยังไม่ท่วม ก็ค่อยเปิดสวิตซ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง) ส่วนการย้ายเครื่องมือย้ายอุปกรณ์เหล่านั้นในตอนนี้ หากแน่ใจว่าน้ำท่วมแน่ และมีช่างมาช่วยย้าย ก็อาจจะย้ายได้ แต่หากไม่มีช่างมาช่วย ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำเอง ก็อาจจะต้องยอมให้อุปกรณ์เหล่านั้นแช่น้ำไปก่อนตอนน้ำท่วม

7. ป้องกัน งู เงี้ยว เขี้ยว ขอ ตะกวด และสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ   

ยามน้ำท่วมมิใช่เพียงมนุษย์และสัตว์เลี้ยงของเราเท่านั้นที่ต้องหนีน้ำท่วม แต่เหล่าสัตว์ต่างๆ ก็ต้องหนีน้ำกันด้วย และการหนี้น้ำท่วมที่ดีที่สุด ก็คือการเข้ามาในบ้านของเรา เพราะบ้านของเราพยายามกันน้ำท่วมอย่างดีที่สุดแล้ว
ปัญหาก็คือ เหล่าสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ที่ทั้งเลื้อยและทั้งคลานเข้ามาในบ้านเรา เป็นสิ่งที่เราไม่ต้อนรับ และอาจเป็นผู้ทำอันตรายเราด้วย ดังนั้นเราต้องมั่นใจว่า “รู” ต่างๆ ของบ้านเราจะต้องโดน “อุด” เอาไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรูที่ประตูหน้าต่าง หรือที่ผนังบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รูจากท่อระบายน้ำ” ที่พื้นบ้านของเรา (เขาชอบมาทางนี้กัน) บางท่านอาจจะมีการโรย “ปูนขาว” ล้อมรอบบ้านเอาไว้ด้วยก็ได้ (แต่ต้องมั่นใจว่าโรยรอบบ้านจริงๆ และ ไม่ถูกน้ำท่วม หรือถูกฝนชะล้างจนหายไปหมด) เพราะปูนขาวจะกันสัตว์เหล่านี้ได้นอกจากนี้ก็น่าจะเตรียมยาฉีดกันแมลง ติดบ้านไว้ด้วย


8.  เรื่องส้วม ส้วม ส้วม สุขา สุขา

เป็นเรื่องของความสุขที่เปลี่ยนไปเป็นความทุกข์ทุกครั้งที่เกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบส้วมที่เป็นระบบบ่อเกรอะ บ่อซึมแบบเดิม ที่น้ำจากการบำบัดจะต้องซึมออกสู่ดิน แต่พอน้ำท่วมน้ำจากดินภายนอกจะซึมเข้ามาในบ่อ ก็ทำให้บ่อเกรอะเต็มไปด้วยน้ำ ส้วมก็จะเกิดอาการ “อืด และ ราดไม่ลง” หากน้ำจากภายนอกท่วมมาก มีแรงดันมาก ก็อาจจะเกิดอาการ “ระเบิด” ทำให้สิ่งปฏิกูลต่างๆ พุ่งกลับมาที่โถส้วม ความสุขหายไป ความทุกข์ปล่อยออกไม่ได้
ในกรณีนี้ ต้องยอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ต้องป้องกันไม่ให้สิ่งปฏิกูลทั้งหลายพุ่งกลับออกมาทางโถส้วม ต้องปิดโถส้วมให้ดี หากเป็นโถส้วมนั่งราบที่มีฝาปิด ก็ต้องปิดฝาให้แน่น เอาเชือกผูกเอาไว้ หากเกิดอาการพุ่งขึ้น ก็จะไม่เรี่ยราดทำความสะอาดยาก กรณีนี้ทำเฉพาะโถส้วมชั้นล่างก็พอ เพราะน้ำคงไม่ท่วมถึงชั้นสอง (เพราะหากท่วมถึงชั้นสอง เราคงไม่ได้อยู่ในบ้านได้แล้ว)
กรณีที่เป็น บ่อบำบัดสำเร็จ ซึ่งเขาจะทำงานโดยไม่ต้องมีบ่อเกรอะบ่อซึม ในเวลาปกติเขาจะบำบัดจนเสร็จภายในถังเอง แล้วก็จะระบายน้ำที่บำบัดเสร็จแล้วลงท่อระบายน้ำนอกบ้านของเรา ยามเมื่อน้ำท่วม น้ำจากบ่อบำบัดจะไหลระบายออกไปไม่ได้ เพราะระดับน้ำที่ท่วมอยู่สูงกว่าบ่อบำบัด ซึ่งเป็นการแก้อะไรไม่ได้  ต้องปล่อยไว้อย่างนั้น ถังบำบัดสำเร็จบางรุ่นจะมีมอเตอร์อัด อากาศเข้าไป (ซึ่งในบ้านส่วนใหญ่จะไม่ใช้รุ่นนี้) ก็ต้องตรวจดูว่ามอเตอร์อยู่ที่ไหน หากมอเตอร์น่าจะอยู่ในระดับที่น้ำท่วมถึง ก็ต้องตัดกระแสไฟไม่ให้เข้าไปสู่ตัวเครื่องกลนั้น  ทั้งนี้สิ่งที่ต้องระวังก็คือ “ท่อหายใจ” ที่เป็นท่อระบายอากาศของระบบส้วมของเรา ต้องมั่นใจว่าท่อหายใจนั้นจะต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำที่มีโอกาสท่วม หากท่อหายใจของเราอยู่ระดับต่ำ ก็ต้อง “ต่อท่อ” ให้มีระดับสูงขึ้นให้ได้ จะต่อแบบถาวรก็ได้ (หากมีช่างมาทำ หรือเราทำเป็น)หรือจะต่อแบบท่อไม่ถาวร ก็คือเอาสายยางธรรมดา มาครอบท่อหายใจเดิม แล้วก็ยกให้ปลายท่อนั้นอยู่สูงขึ้นกว่าระดับน้ำที่คาดหมายว่าจะท่วม ท่อหายใจนี้จะเป็นอุปกรณ์สำคัญมากในการช่วยระบายความดันภายในระบบส้วมของเรา ไม่ให้สิ่งปฏิกูลมีแรงดันมากเกินไป  


9.  ปลั๊กไฟ สวิตซ์ไฟ ตรวจสอบและแยกวงจร

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของบัญญัติ20 ประการของบทความนี้ เพราะอันตรายที่มองไม่เห็นก็คือเรื่องของ “ไฟฟ้า” แต่ในขณะเดียวกัน ไฟฟ้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตเสียแล้ว หากบ้านของเรามีการแยกวงจรไฟฟ้าไว้ตั้งแต่แรก คือวงจรไฟฟ้านอกบ้าน วงจรไฟฟ้าชั้นล่าง และวงจรไฟฟ้าชั้นบน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้านอกบ้านเมื่อน้ำท่วมนอกบ้าน หากน้ำสูงขึ้นมาจนเข้าในตัวบ้าน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้าชั้นล่าง หากน้ำสูงขึ้นถึงชั้นสอง น่าจะหาทางออกจากบ้านเพื่อย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว เพราะสวิตซ์หลักของบ้านโดยทั่วไปจะอยู่ที่ชั้นล่างระดับประมาณ 1.8 เมตรจากพื้นห้องกรณีที่บ้านไหนโชคดี วงจรไฟฟ้าชั้นล่างแยกวงจรออกมาเป็นระดับปลั๊กด้านล่างและระดับสวิตซ์บน ก็ค่อยๆตัดวงจรปลั๊กชุดล่างก่อนตามระดับน้ำที่ท่วมขึ้นมา  หากกรณีที่ไม่มีการจัดวงจรเอาไว้อย่างเป็นระบบตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เราต้องค่อยๆ ทำการทดสอบอย่างใจเย็นๆ ว่าปลั๊กหรือสวิตซ์ชุดใดจะมีการตัดวงจรไฟฟ้าจากคัตเอาท์หลักบ้างแล้วทำโน้ตบันทึกเอาไว้ หากเมื่อน้ำท่วมเมื่อไร ก็จะได้ทราบว่าเราต้องตัดวงจรชุดใดก่อน (ตัดวงจรส่วนที่ถูกน้ำท่วม) อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากหน่อยที่จะตรวจสอบ แต่ก็ต้องใจเย็นๆ และตั้งใจที่จะตรวจสอบ  ในกรณีที่วงจรบางวงจรที่ควบคุมทั้งปลั๊ก หรือสวิตซ์ตัวล่างกับปลั๊กหรือสวิตซ์ตัวบน ก็จำเป็นต้องตัดวงจรทั้งหมด ห้ามเสี่ยงโดยเด็ดขาด

อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่สามารถขนย้ายได้ใน ตอนนี้ ก็อาจขนย้ายขึ้นไปไว้ชั้นบนก่อน ยังไม่ต้องใช้ตอนนี้ก็ได้เช่น เตาไฟฟ้า เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องตีไข่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องชาร์จโทรศัพท์ ฯลฯ ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังต้องใช้งานอยู่ ก็ต้องเตรียมการขนย้ายขึ้นข้างบนเอาไว้เลย เช่นเครื่องไมโครเวฟ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ การขนย้ายยุ่งยาก และหาที่วางยาก เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ ก็ต้องวางแผนว่าจะเอาอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต หากยังใช้อยู่แล้วยามน้ำท่วมขึ้น จะมีคนช่วยขนหรือไม่ หรือจะทิ้งเอาไว้อย่างนั้น   เรื่องไฟฟ้าเป็นอันตรายที่มองไม่เห็น และน้ำเป็น “สื่อไฟฟ้า” ด้วย ดังนั้นเรื่องไฟฟ้าในบ้าน จึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องมีการตรวจสอบและเตรียมการ

10. ตรวจสอบว่าประตูหน้าต่างแน่นหนาและแข็งแรง

เพราะว่าประตูบ้านของเรา (ไม่ว่าจะเป็นประตูที่รั้วบ้าน หรือประตูที่ตัวบ้านเรา)  และหน้าต่าง เป็นจุดหนึ่งที่ถือว่ามีความอ่อนแอมากที่สุด มีโอกาสที่จะบิด หรือเผยอตัว หรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน หากมีแรงดันน้ำมากๆ ดันเข้ามา
ดังนั้นเราจึงต้องตรวจสอบความแข็งแรงให้ดี ต้องพยายามที่จะใช้ “กลอน”ช่วยรับน้ำหนักทางด้านข้างด้วย การลงกลอนในบานประตูและหน้าต่างที่ไม่ได้ใช้เป็นปกติธุระ น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะป้องกันน้ำวิ่งเข้ามาที่ตัวบ้านของเราได้ หากหนักหนาจริงๆประตูหน้าต่างของเราดูจะอ่อนแอรับแรงดันน้ำไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องเอาไม้มาตีพาดขวางช่วยรับแรง หรือเอาของหนักๆมาวางช่วยดันประตูเอาไว้ (ต้องเป็นประตูด้านที่เราไม่ใช้โดยปกตินะไม่เช่นนั้นอาจจะมีปัญหาตอนที่เราจะหนีออกจากบ้าน หรือตอนที่คนเขาจะเข้ามาช่วยเราในบ้าน ยามเกิดวิกฤติ)

11. เตรียมระบบสื่อสารทุกประเภทเอาไว้ให้พร้อม

ระบบสื่อสารทุกอย่างที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นระบบโทรศัพท์ปกติหรือโทรศัพท์มือถือ ระบบอินเทอร์เน็ตทั้งมีสายและไร้สาย วิทยุ โทรทัศน์ หรือ อุปกรณ์สื่อสารพิเศษอย่างอื่น (เช่นระบบดาวเทียม วอร์คกี้ทอร์คกี้เป็นต้น) เพราะการรับข่าวสาร และการติดตามข่าวสารเรื่องภัยน้ำท่วมที่จะมาถึงตัวเราเป็นเรื่องสำคัญ และไม่น่าจะเกิดความผิดพลาดในทุกวินาที   และหากน้ำท่วมแล้ว การขอความช่วยเหลือ หรือสอบถามข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ ณ วินาทีวิกฤตินั้นแน่นอน อีกทั้งระบบสื่อสารที่เรามีนั้น มิได้ใช้เพียงการที่เราช่วยตัวเอง แต่อาจจะมีผู้เดือดร้อนคนอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องการคำปรึกษาจากเรา ก็สามารถติดต่อกับเราได้ ต้องคนละไม้คนละมือเสมอ ทุกคนล้วนลำบากทั้งสิ้น

12. ชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างเตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง

อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างมีความจำเป็นยามเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ หรือแม้กระทั่งกล้องถ่ายภาพ ฯลฯ  จะต้องมีการชาร์จไฟไว้ให้เต็มร้อยตลอดเวลา เพราะยามน้ำท่วม ระบบไฟฟ้าทั้งหมดอาจติดขัด
นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องชาร์จไฟให้เต็มที่แล้ว การใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเมื่อไฟฟ้าปกติไม่มา จะต้องประหยัดไฟด้วย เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะทำงานได้เต็มที่ยามฉุกเฉิน อีกทั้งต้องเตรียมอุปกรณ์อื่นเสริมอีกด้วย เช่น ไม้ขีดไฟ เทียนไข เป็นต้น


13. ย้ายของทุกอย่างให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม

ข้าวของในบ้านของเรา ไม่ใช่เพียงเรื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้าเท่านั้นที่เราจะต้องมีการจัดการย้ายให้ อยู่ในที่ที่เหมาะสม แต่หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดว่ามีความสำคัญ และอาจจะเสียหายได้เมื่อมีน้ำท่วม ตั้งแต่รถยนต์ ถังก๊าซ เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ของขวัญ รูปภาพ ฯลฯ ขอให้ย้ายไปสู่ที่ที่เหมาะสม ซึ่งที่ที่เหมาะสมนั้นอาจจะอยู่ในตัวบ้านของเรา หรือจะย้ายออกไปเก็บไว้นอกบ้าน สถานที่อื่นที่คิดว่าปลอดภัย

มีข้อมูลว่า เมื่อน้ำท่วมหลายคนเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากการ “ห่วงของ” ต้องลุยน้ำกลับไปกลับมาเพื่อขนของออกจากบ้าน และหลายครั้งที่ขนของออกมาแล้ว แต่ไม่มีที่วาง ก็จำต้องวางไว้ในที่ที่ไม่ปลอดภัย ปรากฏว่าของที่อุตส่าห์ขนออกมาด้วยความเสียดายหรือความผูกพันนั้น ถูกผู้ชั่วร้ายใจทรามขโมยต่อเอาไปอีกด้วย  แต่ของที่เราจะย้ายนั้น ไม่ได้หมายความว่าเป็นของทุกอย่างไปเลย เลือกเฉพาะที่เราคิดว่าต้องย้ายเท่านั้น  ของบางอย่างที่แช่น้ำได้ไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องขนย้ายก็ได้

14. ใช้พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำให้เป็นประโยชน์

วัสดุส่วนใหญ่จะกลัวน้ำ หรือไม่สามารถที่จะสู้กับน้ำได้ แต่พลาสติกเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำ ดังนั้นอุปกรณ์ต่างๆที่เป็นพลาสติก น่าจะต้องมีการเตรียมการเอาไว้ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นถังน้ำพลาสติก ท่อพลาสติก กระดานพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าหรือแผ่นพลาสติก ที่เราจะเอาไว้ใช้หุ้มอุปกรณ์หรือส่วนต่างๆของบ้านเรา ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ฯลฯ แม้กระทั่งการหุ้มป้องกันตัวเรา หรืออวัยวะบางส่วนของตัวเรา  ขอให้หาซื้อผ้าหรือกระดานพลาสติก เก็บเอาไว้ใกล้มือเรา ยามฉุกเฉิน พลาสติกจะเป็นวัสดุอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์มากจนคาดไม่ถึงได้ครับ และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ “ห่วงยาง” 

15. เตรียมอาหาร น้ำดื่ม และยาให้พร้อม

เพราะยามน้ำท่วมแล้ว เราอาจจะต้องติดอยู่ในบ้านของเราก็ได้ สิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพของเราก็คือ “อาหาร” ที่ต้องเตรียมเอาไว้ ทั้งอาหารที่ต้องมีการปรุงด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า (หรือก๊าซ) กับอาหารที่สามารถกินได้เลย โดยไม่ต้องมีการปรุง และต้องเตรียมเรื่อง “น้ำดื่ม” เอาไว้ด้วย เตรียมให้เพียงพอสำหรับทุกคนประมาณ 3-4 วัน
ยา เป็นสิ่งสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่เราต้องเตรียมเอาไว้ (ในที่ที่ปลอดภัย) ยาหลักๆก็คือ ยาแก้ปวด ยากแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ยาล้างแผล ยาแก้แพ้  ยากันแมลงและยาของโรคประจำตัวของทุกคน
มีผู้หวังดีแนะนำบอกต่อว่า อย่าสะสม “สุรา” เอาไว้ตอนน้ำท่วม เพราะน้ำท่วมนานๆ อาจจะมีคนกลุ้มใจ แล้วใช้สุราแก้ความกลุ้มใจ จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยมากขึ้น ส่วนเหล่าขวดสุราที่เก็บสะสมเอาไว้ ไม่ต้องขนไปไกลก็ได้ เพราะขวดสุราเหล่านั้น เขาสามารถแช่น้ำได้ ไม่มีปัญหาประการใด

16. บ้านชั้นเดียว ต้องตรวจสอบหลังคาด้วย

สำหรับบ้าน 2 ชั้น หลังคาบ้านจะมีผลมากยามเมื่อฝนตกหนักๆ ซึ่งเราน่าจะต้องดูแลกันไปพอสมควรแล้วในเวลาที่เพิ่งผ่านมา แต่ในกรณีน้ำท่วมนั้นหลังคาไม่ค่อยมีผลมากเท่าไร เพราะน้ำท่วมจากข้างล่างขึ้นไป หากท่วมถึงหลังคาชั้นสอง เราก็น่าจะย้ายไปอยู่ที่อื่นก่อนหน้านั้นแล้ว แต่กรณีที่เป็นบ้านชั้นเดียว น้ำอาจจะท่วมชั้นล่างของบ้านอย่างรวดเร็ว หลังคาหรือส่วนของหลังคาจึงเป็นพื้นที่หลบภัยได้ชั่วคราวพื้นที่หนึ่ง เราจึงต้องตรวจสอบทางหนีทีไล่ของเรา กรณีที่เราต้องขึ้นไปหนีภัยบนหลังคา ซึ่งเราอาจจะขึ้นไปทางฝ้าเพดานของเรา (กรุณาอย่าลืมตัดวงจรไฟฟ้าที่บ้านทั้งหมดก่อนจะขึ้นไปบนฝ้าเพดานสู่หลังคานะ)

17. ระวังโจร ระวังมาร ระวังผู้ชั่วร้าย

เป็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าสลดใจที่สังคมน่าอยู่และเห็นอกเห็นใจของเมืองไทยเรา ได้ถูกลัทธิวัตถุนิยมเข้าครอบงำไปหลายส่วนแล้ว ดังนั้นเราจึงได้ข่าวเนืองๆว่า มีผู้ชั่วร้ายที่อยากได้ประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก เข้ามารังแกจี้ปล้นประชาชนที่กำลังลำบากทุกข์เข็ญ ยามน้ำท่วม เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังยุ่งกับภารกิจอย่างอื่น เหล่าคนชั่วก็จะออกอาละวาดรังแกผู้ที่กำลังเดือดร้อน มีการขโมย จี้ปล้น ฉกชิงวิ่งราว ให้เราได้ทราบอยู่เป็นประจำ และมีความเป็นไปได้ว่าหนึ่งในอนาคตนั้นอาจจะเป็นตัวเราและบ้านของเรา ดังนั้นการเตรียมการป้องกันโจร จึงเป็นอีกประการหนึ่งที่เราต้องเตรียมการ อย่าเก็บของมีค่าเอาไว้ในบ้านของเรา เอาไปฝากที่อื่นก่อนดีกว่า เงินทองไม่จำเป็นที่ต้องพกมากมาย และคอยเฝ้าสังเกตบุคคลที่น่าสงสัย  การส่งเสียงดังๆในบางครั้ง จะเป็นอาวุธป้องกันตัวเราได้

18. เพื่อนบ้าน ต้องร่วมด้วยช่วยกัน

ในกรณีนี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องของการต่อสู้ป้องกันโจรประการเดียว แต่หมายถึงในทุกๆกรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เรา “ขอความช่วยเหลือ” จากเพื่อนบ้าน แต่หมายถึงการที่ “เราจะช่วยเหลือเพื่อนบ้าน” ด้วย รวมๆกันก็หมายถึง “การสร้างชุมชนเข้มแข็ง” เพราะความรักที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้เสมอยามที่คนเรามีความลำบากร่วมกัน อย่าต่อสู้หรือป้องกันภัยทั้งหลายคนเดียว ต้องสื่อสารกัน ต้องจับมือกัน และวางแนวทางการป้องกัน การต่อสู้ที่เป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น แล้วเราจะมีโอกาส หากตอนนี้เหล่าเพื่อนบ้านยังไม่มีการเคลื่อนไหวร่วมกัน เราก็อาจจะเป็นแกนตัวเล็กๆที่จะเป็นผู้เริ่มต้นได้ อย่าอาย อย่ากลัวใครเขาหมั่นไส้ครับ หากเราเป็นคนดี มีจิตใจดี ทุกคนจะเข้าใจ

19. เตรียมทางหนีทีไล่เพื่อออกจากบ้าน

ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า การป้องกันน้ำท่วมก็เหมือนการป้องกันเมืองจากการโจมตีของข้าศึก ซึ่งเราอาจจะป้องกันเอาไว้ได้หรือป้องกันไม่ไหวก็ได้ หากถึงที่สุดแล้ว เราไม่มีทางต่อสู้ได้แน่ๆ  พ่ายแพ้แล้ว  การเตรียม “ทางหนี” เป็นเรื่องที่จำเป็น หากเราเตรียมทางหนีเอาไว้แต่แรก เราก็สามารถหนีได้ หนีทัน เกิดความเสียหายน้อยลง ทางหนีจากกรณีน้ำท่วมบ้าน อย่าคิดเพียงทางหนีออกจากบ้าน แต่ต้องคิดให้จบว่าหนีออกไปแล้ว จะหนีด้วยอะไร มีเรือหรือห่วงยางหรือไม่ มีเชือกสาวตัวเองหรือไม่ จะพกอะไรติดตัวไปบ้าง (ที่สามารถพกพาแบกหามไปได้) และจะมุ่งหน้าไปทางทิศใด มุ่งหน้าไปไหน และจะไปหยุดที่ใด พักที่ใด กับใคร ทุกอย่างต้องคิดเป็นกระบวนการ และคิดให้จบวงจรไว้แต่แรก


20. ตั้งจิตให้มั่น ตอนนี้ “สติ” สำคัญที่สุด

อย่าเสียเวลากับการเกรี้ยวโกรธ อย่าเพิ่งด่าอะไรใคร อย่าโทษฟ้าดิน ยังมีเวลาและโอกาสอีกมากมายที่จะทำเช่นนั้น เวลานี้เป็นเวลาที่เราต้องตั้งสติ และคิด และเตรียมการอย่างเป็นระบบ เราต้องรับรู้ข่าวสารต่างๆอย่างทันต่อเหตุการณ์จากคนที่เชื่อถือได้ (ระวังคำพูดนักการเมืองนิด)  ต้องฟังวิทยุหรือแม้แต่ติดตามทางอินเทอร์เน็ต (เช่นhttp://www.thaiflood.com/หรือ  http://flood.gistda.or.th/ เป็นต้น)

ค่อยๆกลับไปอ่านตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 19 แล้วอาจจะเพิ่มข้ออื่นๆ ที่เราคิดออกเข้าไปอีกได้ เมื่ออ่านแล้วก็ตรวจสอบ และลงมือทำทันทีครับ .... ตอนนี้ “สติ” สำคัญที่สุด

บทตาม

บทความนี้ถูกเขียนขึ้นเท่าที่ผู้เขียนมี ข้อมูลและความรู้ มิใช่เป็นบทความที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ต้องการเขียนขึ้นในฐานะของคนไทยคนหนึ่งที่ต้องการเป็นประโยชน์กับผู้อื่น ในสภาวะวิกฤติของบ้านเมืองบ้าง โดยหวังว่าอาจจะ “ลดความทุกข์” ให้สังคมได้ส่วนหนึ่ง แม้เป็นส่วนเล็กน้อยก็ตาม


นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์  สถ. ๓๔๔ ว.
ตุลาคม ๒๕๕๔

ที่มา--thairath.co.th

http://www.facebook.com/note.php?note_id=10150326973062877