21.4.13

ที่ทิ้งขยะถูกทำให้กลายเป็นที่แจกไฟฟ้าฟรี



ไปอ่านเจอข่าวเก่ามาคอลัมภ์ซึ่งน่าสนใจ เลยนำมาฝาก โดยเรื่องมีอยู่ว่า

นาง Teresita Mabignay นั้นกำลังรีดผ้าด้วยไฟฟ้าฟรีบนกองขยะกองหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายความพยายามที่ไม่น่าเกิดประโยชน์เท่าใดนักในการที่เปลี่ยนกองขยะของฟิลิปปินส์ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆให้กลายเป็นแหล่งพลังงานสะอาด

เธออาศัยอยู่บริเวณฐานของหนึ่งในที่ทิ้งขยะที่ใหญ่ที่สุดในกรุงมานิลา ซึ่งเป็นที่แรกในประเทศที่มีการแปลงก๊าซมีเทนเป็นพลังงานอันเป็นผลมาจากโครงการของสหประชาชาติที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น

การย่อยสลายขยะนั้นทำให้เกิดก๊าซมีเทน หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่นักวิทยาศาสตร์ครหาว่าเป็นตัวการของปรากฏการณ์โลกร้อน ซึ่งการเปลี่ยนมันให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้านั้นป้องกันการลอยสู่ชั้นบรรยากาศในขณะที่ลดความต้องการในการเผาเชื้อเพลิงฟอซซิลด้วย

ก๊าซมีเทนนั้นจะถูกกักไว้ด้วยท่อต่างๆที่อยู่ลึกลงไปในที่ทิ้งขยะ เหมือนกับบ่อที่สกัดก๊าซออกมาจากใต้ดินหรือมหาสมุทร โดยมีเทนนั้นจะถูกดูดและส่งไปยังด้านล่างของที่ืทิ้งขยะเพื่อปั๊มลงเครื่องกำเนิดพลังงานและถูกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าต่อไป

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา Mabignay และเหล่าแม่บ้านคนอื่นๆจากชุมชนแออัดด้านล่างของแหล่งทิ้งขยะ payatas นั้นได้รับอนุญาตให้ใช้พลังงานในห้องที่ถูกสร้างขึ้นที่นั่นได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายใดๆ

“มันช่วยเหลือพวกเราได้มากเนื่องจากมันลดค่าไฟของเรา ซึ่งบางครั้งเราก็เอาส่วนประหยัดไว้ได้มาใช้ซื้ออาหาร” Mabignay กล่าว ซึ่งสามีของเธอมีรายได้อยู่ประมาณหกพันบาทต่อเดือนจากอาชีพเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่จุดทิ้งขยะแห่งนี้

บริษัท Pangea Green Energy Philippines ที่อยู่เบื้องหลังโครงการนี้สามารถที่ยอมให้ใช้กระแสไฟฟ้าได้ฟรีเนื่องจากการสูบก๊าซและการแปลงพลังงานนั้นได้มอบรายได้มากมายแก่บริษัท ซึ่งภายใต้โครงการของ UN นั้น ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถรักษาข้อสัญญาของ Kyoto Protocol ในการลดผลผลิตก๊าซเรือนกระจกลงได้โดยการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการต่างๆที่จะช่วยลดการปล่อยมลภาวะในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างฟิลิปปินส์

บริษัทในประเทศที่กำลังพัฒนานั้นจะได้คะแนนจากการลดการปล่อยมลภาวะ ซึ่งแต่ละคะแนนจะเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์หนึ่งตัน โดยแต้มเหล่านี้จะถูกขายให้แก่บริษัท สถาบัน หรือรัฐบาลต่างๆในประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อการหักลบผลผลิตมลภาวะของประเทศตัวเองลงไป

Jennifer Fernan Campos ที่เป็นประธานของ Pangea กล่าวว่าโครงการพลังงานนั้นถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากแผนการของ UN โดยเฉพาะ และไฟฟ้ากิโลวัตต์แรกนั้นได้ถูกผลิตขึ้นในปี 2008

“พวกเราต่างพอใจมากที่จะได้ช่วยดูแลทั้งสภาพแวดล้อมและชุมชน ด้วยหนทางเล็กๆของเราทำให้เราสามารถลดทอนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้” เธอกล่าว

โครงการพลังงานอีกหลายพันโครงการในประเทศกำลังพัฒนานั้นได้ถูกลงทะเบียนกับทาง UN แล้วตั้งแต่โครงการเริ่มขึ้นในปี 2005 ซึ่งรวมไปถึงฟาร์มกังหันลม โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ และเขื่อนพลังงานน้ำ และยังมีโครงนำของเสียมาเปลี่ยนเป็นพลังงานอีกหลายโครงการ ซึ่งมีโครงการอื่นๆอีกสี่โครงการในประเทศฟิลิปปินส์กำลังเริ่มต้มขึ้นหลังจากมี Pangea นำร่องไปก่อนแล้ว

อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดของก๊าซเรือนกระจกหนึ่งตันที่หลายบริษัทได้เริ่มลดทอนลงไปได้มากในปี  2010 นั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการถดถอยของเศรษฐกิจในยุโรปซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดด้วย

“ราคาของเรานั้นค่อนข้างที่จะแกว่งไปมา ดังนั้นเมื่อตลาดพังลง เราก็เจ็บตัวด้วย” Fernan Campos กล่าว พร้อมอธิบายได้พวกเธอทำพลาดโดยการไม่ล๊อคราคาให้สูงไว้ในคราวที่เธอมีโอกาส

ผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมได้เตือนว่าแผนการค้าคาร์บอนไดออกไซด์นั้นกำลังอยู่ในอันตรายเนื่องจากการลดลงของราคา และหลายโครงการพลังงานสะอาดนั้นกำลังเผชิญกับอนาคตที่ไม่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม Fernan ได้กล่าวว่าโครงการของเธอนั้นสามารถประคองตัวทางการเงินได้โดยไม่ต้องอาศัยช่องทางของเงินผ่านสหประชาชาติแล้ว โดยในเดือนนี้โรงผลิตไฟฟ้าของเธอได้ขยายความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าจาก 200 กิโลวัตต์เป็น 1 เมกาวัตต์ พร้อมกับได้เริ่มการขายไฟฟ้าให้ระบบไฟฟ้าของกรุงมานิลาแล้วด้วย

ก่อนหน้านี้ไฟฟ้าที่ถูกสร้างขึ้นที่ Payatas นั้นได้ถูกใช้เพียงเพื่อให้พลังงานแก่งานต่างๆที่จุดทิ้งขยะและชุมชนแออัดใกล้เคียงผ่านโครงการรีดผ้าและไฟถนนในละแวกใกล้เคียงเท่านั้น

Fernan กล่าวว่า ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ลดไปได้เพราะโครงการของที่นี่นั้นมีค่าเท่ากับการนำรถ 18,000 คันออกจากถนนในกรุงมานิลาเลยทีเดียว ซึ่งโครงการนี้ยังมีประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมอีกมากมายหลายประการ เช่นมลภาวะทางอากาศที่น้อยลงกับผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง อีกทั้งก๊าซม่เทนที่ถูกสกัดออกมาจะไม่สามารถไปปนเปื้อนระบบน้ำได้อีก

ถึงอย่างนั้น Greenpeace และกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมอื่นๆก็ไม่สนับสนุนโครงการที่เปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นพลังงาน โดยโต้แย้งว่าสิ่งอ้างอิงของโครงการพวกนี้นั้นมักโฆษณาเกินจริงและทำให้เกิดแรงจูงใจทางการเงินให้มีการทิ้งขยะมากขึ้น

“วิธีเดียวที่จะจัดการปัญหาการเกิดก๊าซมีเทนจากของเสียนั้นก็หยุดไม่ให้ขยะไปถึงจุดที่ทิ้งขยะตั้งแต่แรก” Beau Baconguis ผู้ดูแลโครงการ Greenpeace ของฟิลิปปินส์กล่าว “การมีโครงการประเภทนี้เป็นการสนับสนุนการสร้างขยะแทนการกำจัดมัน เพราะคุณต้องการขยะเพื่อสร้างพลังงานป้อนให้โรงงานด้วย”

เขากล่าวว่ารัฐบาลของฟิลิปปินส์นั้นยังไม่ได้แสดงวิสัยทัศน์ในการลดปริมาณขยะลง และประชากรกว่า 12 ล้านคนของกรุงมานิลานั้นผลิตขยะประมาณ 6000 – 8000 ตันต่อวัน

อย่างไรก็ตาม Fernan ได้กล่าวว่าบริษัทของเธอไม่ได้มีการสนับสนุน หรือรับเงินใต้โต๊ะเพื่อสนับสนุนให้มีขยะมาทิ้งที่โครงการของเธอมากขึ้นแต่อย่างใด เธอกล่าวว่ารัฐบาลท้องถิ่นได้ทำการรีไซเคิลและข้อกำหนดการลดปริมาณของเสียอื่นๆในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นก็ได้ทำให้ปริมาณขยะที่ถูกส่งมาที่นี่ลดจาก 1,800 ตันต่อวันเหลือ 1,200 ตันต่อวันเท่านั้น

“พวกเราแค่พยายามกำจัดขยะที่มี และให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลในเวลาเดียวกันก็เท่านั้น” เธอกล่าว

ที่มา -- news.discovery.com

17.4.13

โรคอ้วนอาจรับรู้ได้จากกลิ่นลมหายใจ




โรคอ้วนนั้นมีลักษณะของการแสดงอาการที่เด่นชัดซึ่งยากที่จะปกปิดหรือซุกซ่อนเอาไว้ แถมในตอนนี้แพทย์ยังบอกว่าพวกเขาสามารถแม้ที่จะกระทั่งได้กลิ่นโรคอ้วนจากลมหายใจของคุณได้อีก

เหล่าแพทย์จาก Cedars-Sinai Medical Center ที่ Los Angeles กล่าวว่าจุลินทรีย์ที่ปล่อยก๊าซบางชนิดที่อาศัยอยู่ในท้องมนุษย์นั้นอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่คนๆหนึ่งจะมีน้ำหนักตัวมากเกินไป และการมีอยู่ของก๊าซมีเทนและไฮโดรเจนในจุลินทรีย์จากลมหายใจนั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดต่อน้ำหนักตัวที่มากเกินและไขมันในร่างกายที่มากเกินไปด้วย

พวกเขายังยอมรับอีกว่าการรับประทานมากเกินไปและไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายนั้นเป็นสาเหตุหลักของโรคอ้วน แต่ถึงอย่างนั้นปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่นการมีจุลินทรีย์บางชนิดในสำไส้มากเกินหรือน้อยไปนั้นก็อาจจะเป็นเหตุผลประกอบที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้เช่นเดียวกัน

จุลินทรีย์ช่างหิว

แนวคิดที่ว่าจุลินทรีย์ในกระเพาะนั้นมีความเกี่ยวโยงกับภาวะโรคอ้วนนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่เลย ซึ่งมีรายงานวิทยาศาสตร์หลายฉบับแล้วที่มีเนื้อหาเดียวกันภายในเวลาแค่สองสามปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่เข้าใจว่าจุลินทรีย์ตัวไหนเป็นผู้ร้ายตัวจริง

ทีมแพทย์ซึ่งนำโดย Ruchi Mathur ผู้อำนวยการของ Cedars-Sinai Diabetes Outpatient Treatment and Education Center ซึ่งเป็นศูนย์บริการรักษาและให้ความรู้กับผู้ป่วยนอกเกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวาน ได้เน้นความสำคัญไปที่จุลินทรีย์ผลิตมีเทนที่มีชื่อว่า Methanobrevibacter smithii โดยทฤษฎีก็คือจุลินทรีย์ชนิดดังกล่าวจะเข้ากินไฮโดรเจนที่ถูกผลิตขึ้นโดยจุลชีพตัวอื่นๆในลำไส้ ซึ่งระดับของไฮโดรเจนที่ลดลงนั้นเพิ่มอัตราการหมักตัวในลำไส้ ทำให้ร่างกายดูดซับสารอาหารและพลังงาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือแคลอรี่จากอาหารได้มากขึ้นนั่นเอง

“โดยปกติแล้ว จุลชีพที่อาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารนั้นทำประโยชน์ให้กับเราโดยการช่วยแปรเปลี่ยนอาหารให้กลายเป็นพลังงาน” Mathur กล่าว  “อย่างไรก็ตาม เมื่อ M. smithii มีจำนวนมากเกินไปแล้วล่ะก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงสมดุลย์นี้แล้วทำให้บางคนมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้”

งานวิจัยชิ้นก่อนของ Mathur ที่ได้ทดลองกับหนูนั้นเหมือนจะชี้ให้เห็นได้ว่าจุลินทรีย์ M. smithii นั้นเพิ่มการสะสมของน้ำหนักตัว ซึ่งการมี M. smithii ในปริมาณมากนั้นจะทิ้งร่องรอยของมีเทนในระดับสูงเอาไว้ในลมหายใจของมนุษย์ เปรียบได้กับหลักฐานมัดตัวของจุลินทรีย์ชนิดดังกล่าวว่ามันมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดโรคอ้วนเลยทีเดียว

การทดสอบลมหายใจ

ทีมของ Mathur ได้ทำการวิเคราะห์ลมหายใจของผู้เข้าร่วมทดลองจำนวน 792 คน ซึ่งพวกเขาพบว่าผู้เข้าร่วมทดลองมีทั้งส่วนประกอบของลมหายใจที่ปกติ และแบบที่มีความเข้มข้นของมีเทนสูง แบบที่มีระดับไฮโดรเจนสูง หรือทั้งคู่ ซึ่งผู้อยู่ในกลุ่มหลังสุดนั้นมีดรรชนีมวลกายและปริมาณไขมันในร่างกายที่สูงอย่างชัดเจนด้วย

แต่ปริมาณของไฮโดรเจนและมีเทนในลมหายใจของผู้ที่เป็นโรคอ้วนนั้นอาจชี้ให้ด้วยว่าตัวการนั้นไม่ใช่มีแค่เพียงจุลินทรีย์ M. smithii เท่านั้น หรือไม่อย่างน้อยภาพรวมนั้นก็มีความซับซ้อนมากกว่านี้

ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับงานวิจัยจากนักวิจัยชาวฝรั่งเศสที่ได้พบว่าจุลินทรีย์ Lactobacillus reuteri นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องที่สุดกับผู้ที่เป็นโรคอ้วนที่มีปริมาณของ M. smithii ที่ต่ำ ซึ่งงานวิจัยก่อนหน้านี้เขาก็ได้พบว่าการมีปริมาณ M. smithii มากเกินไปนั้นมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเบื่ออาหารด้วย

กลุ่มของ Mathur เองก็ไม่สามารถยืนยันเหตุและผลได้ว่าโรคอ้วนนั้นเกิดขึ้นจากภาวะไม่สมดุลย์ของจุลินทรีย์ในร่างกาย หรืออาหารที่เกี่ยวเนื่องกับโรคอ้วนอย่างอาหารที่มีแคลอรี่สูงและสารอาหารต่ำนั้นจะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจำนวนจุลินทรีย์และทำให้ง่ายต่อการเป็นโรคอ้วนหรือเปล่า เพราะโรคอ้วนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างคาดเดาไม่ได้อย่างไข้หวัด และจุลินทรีย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนนั้นก็อยู่ในลำไส้ของทุกคนพร้อมกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆอีกนับล้านๆตัว

สิ่งที่เราชัดเจนมากขึ้นก็คือว่าคนบางคนอาจจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้เร็วกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นนั้นเป็นเรื่องของพันธุกรรม หรือจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือเพราะทั้งคู่กันแน่นั้นจะต้องอาศัยการค้นคว้าประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้เพิ่มเติมเพื่อหาเงื่อนงำไปสู่ความเข้าใจและการบำบัดรักษาใหม่ๆที่อาจถูกค้นพบได้


ที่มา -- news.discovery.com

12.4.13

เกรปฟรุตผลไม้กินเพื่อต้านอนุมูลอิสระ




         หายไปนานเนื่องจากยุ่งกับเรื่องงาน วันนี้เอาสาำระประโยชน์จากผลไม้มาฝากเพื่อนๆในสภาวะที่อากาศร้อนๆแบบนี้ นั่นคือเจ้าเกรปฟรุต  ผลไม้ชนิดนี้เติบโตอยู่ในผลไม้กระกูลส้ม เป็นญาติสนิทของส้มโอ แต่เนื้อของเกรปฟรุตมีสีแดง รสชาติอมเปรี้ยวนิด ๆ เหมาะสำหรับกินหลังมื้อเช้าจะช่วยเพิ่มความสดชื่นก่อนไปทำงานได้ดีเลยทีเดียว  และเพื่อนๆรู้หรือไม่ว่ามันสามารถกินเป็นยาไ้ด้ เพราะเจ้าเำกรปฟรุตมีสารเพกตินที่มีอยู่ ซึ่งเป็นไฟเบอร์ประเภทหนึ่งสามารถช่วย ลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ก่อนที่จะจับตัวเป็นก้อนไปขวางทางเดินในหลอดเลือด นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้สารพิษหรือโลหะหนักทำอันตรายต่อร่างกาย และยังช่วย ต่อต้านการเกิดมะเร็ง กระเพราะอาหารและมะเร็งตับอ่อนได้ด้วย
และมีประโยชน์เพื่อต้านอนุมูลอิสระได้ด้วยคือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือ ชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชั่น กระบวนการออกซิเดชั่นมีได้หลายรูปแบบ เช่น กระบวนการออกซิเดชั่นที่ทำให้เหล็กกลายเป็นสนิม ทำให้แอปเปิ้ลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือทำให้น้ำมันพืชเหม็นหืน หรือกระบวนการออกซิเดชั่นที่เกิดในร่างกาย เช่น การย่อยสลายโปรตีนและไขมันจากอาหารที่กินเข้าไป มลพิษทางอากาศ การหายใจ ควันบุหรี่ รังสียูวี ล้วยทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกายของเราซึ่งสร้างความเสียหายต่อร่างกายได้ ในความเป็นจริงไม่มีสารประกอบสารใดสารหนึ่งสามารถป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นได้ทั้งหมด แต่ละกลไกอาจต้องใช้สารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันในการหยุดกระบวนการออกซิเดชั่น และในความเป็นจริงไม่มีสารประกอบสารใดสารหนึ่งสามารถป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นได้ทั้งหมด ซึ่งแต่ละกลไกอาจต้องใช้สารต้านอนุมูลต่อิสระที่แตกต่างกันในการหยุดกระบวนการออกซิเดชั่น

       แต่ในประโยชน์ของมันก็มีโทษเช่นกันถ้าเรารับประทานผิดวิธี คือการรับประทานยากับเกรปฟรุต เพราะเจ้าเกรปฟรุตกับยาอาจทำให้เป็นสาำเหตุของการได้รับยาเกินขนาด เนื่องจากสารในผลไม้ดังกล่าวไปยับยั้งการเอนไซม์ที่จะเปลี่ยนโครงสร้างของยา ซึ่งจะทำให้ยาหมดฤทธิ์ แล้วถูกขับออกจากร่างกาย แต่น้ำเกรปฟรุตไปยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายยา ดังนั้น เมื่อไม่มีเอนไซม์กำจัดยา ยาก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น 

        มีนักวิจัยผู้ที่ค้นพบอันตรายนี้กล่าวว่า มียาจำนวนมากที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยถ้าบริโภคเกรปฟรุตกับยา โดยไ้ด้มีคณะวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อสุขภาพ Lawson ประเทศแคนาดาได้ตีพิมพ์งานวิจัยนี้ในวารสาร Canadian Medical Association Journal โดยอธิบายเกี่ยวกับจำนวนยาที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงเมื่อรับประทานกับเกรปฟรุต จากที่มียาเพียง 17 ชนิด เมื่อปี 2008 กลับเพิ่มขึ้นเป็น 43 ชนิดในปี 2012

"ยาหนึ่งเม็ดเมื่อรับประทานกับน้ำเกรปฟรุต อาจส่งผลให้ออกฤทธิ์เทียบเท่ากับการรับประทานยา 5-10 เม็ดกับน้ำเปล่า"

        ดร.เดวิด เบย์ลีย์ ได้ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของเกรปฟรุต พบว่ามีสารฟูราโนคูมาริน (furanocoumarin) สารตัวนี้จะไม่ทำปฏิกิริยาโดยตรงกับยา  แต่จะรวมตัวกับเอ็นไซม์ CYP 4A4  ที่อยู่ในลำไส้เล็ก   ซึ่งเอ็นไซม์ตัวดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดการดูดซึมเอายาบางตัวไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นเมื่อเรารับทานน้ำ grapefruit  เข้าไป  สาร Furanocoumarin  จะไปบล็อกการทำงานของเอ็นไซม์ตัวดังกล่าว  เป็นเหตุให้ยารักษาที่คนเรารับทานเข้าไป  สามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่ายขึ้น  ทำให้ระดับของยาในกระแสเลือดสูงเร็วขึ้น  และมีปริมาณความเข้มข้นสูงกว่าปกติ   ซึ่งในบางราย  สามารถก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงได้

       กลุ่มของยาที่มีผลข้างเคียงเมื่อรับประทานกับเกรบฟรุต เช่น ความดันเลือด มะเร็ง ยาลดคลอเลสเตอรอล และยากดภูมิคุ้มกันหลังได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยทำให้การออกฤทธิ์ของยาสูงขึ้น


Calcium Channel blockers:
ยาในกลุ่มนี้ใช้สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่  Felodipine, Verapmil, Diltiazem, Amlodipine (Norvasc)และ  Nifedipine (Adalat) ซึ่งมีรายงานไว้ว่ายาจะออกฤทธิ์รุนแรงกว่าการรับประทานยากับน้ำเปล่าถึง 3 เท่า

Statins:
เป็นยาสำหรับรักษาระดับไขมันสูง (cholesterol)  ได้แก่: Atorvastatin
(Lipitor);  Simvastatin (Zocor);  Lovastatin (Mevacor);  Fluvastatin (Lescol);
Pravastatin (Pravachol);  Rosuvastatin(Crestor);  Pitavatatin (Livalo)


Immunosuppressants:
เป็นยาที่ถูกนำไปใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะ  เช่น  Cyclosporine (Sandimmune)

Benzodiepines:
(ยาที่ใช้ใน anxiety, insomnia) ยาในกลุ่มนี้ได้แก่  Diazepam (Valium); Triazolam(Halcion); Midazolam (Versed); Flurezapm(Damane); Clonazepam (Klonapin)

Neurological and Psychiatric:
เป็นยาที่ใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการเครียด (anxiety) และ  Insomnia   ซึ่งได้แก่  Buspirone (Buspar); Sertraline (Zoloft);  Carbamazepine (Tegretol); Haloperidol (Hadol); Trazodone (Deseril);
Zolpidem (Ambien)

        ผลข้างเคียงอื่นๆ นั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่รับประทาน อาจมีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ ไตถูกทำลาย หรืออาจถึงตายได้


        ดร.เดวิด เบย์ลี่ย์ กล่าวว่า การรับประทานยาหนึ่งเม็ดกับน้ำเกรปฟรุต อาจส่งผลให้การออกฤทธิ์ของยานั้นมากเท่ากับ การรับประทานยา 5-10 เม็ดกับน้ำเปล่าได้เลยทีเดียว

        ผู้ป่วยที่ขาดความรู้ในเรื่องของความปลอดภัยในการรับประทานยาอาจได้รับยาเกิดขนาดโดยไม่ตั้งใจ จากต้องการไปพบแพทย์เพื่อการรักษา กลับกลายเป็นว่าได้รับยาเกินขนาดซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตแทนได้

        ผลไม้ในกลุ่ม ซิตรัส (citrus) อื่นๆ เช่น Seville oranges  และ tangles บ่อยครั้งที่นำมาทำเป็นแยมผลไม้ ก็จะให้ผลข้างเคียงเช่นเดียวกับการรับประทานน้ำเกรปฟรุต หรือผลเกรปฟรุตโดยตรง

        นีล พาเทล จากสมาคมเภสัชกรรมกล่าวว่า เกรปฟรุตไม่ได้ของกินชนิดเดียวที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายเมื่อรับประทานกับยา แต่ยังมีอาหารประเภทนม ที่จะไปยับยั้งการดูดซึมของยาปฏิชีวนะบางชนิดเป็นต้น

        โฆษกประจำ MHRA ซึ่งเป็นองค์กรรัฐบาลประเทศอังกฤษ ที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางการแพทย์และการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ได้เชิญชวนให้ผุ้ป่วย แพทย์ และเภสัชกรร่วมกันรายงานอาการไม่ถึงประสงค์หรือผลข้างเคียงที่เกิดจากการรับประทานยาพร้อมกับอาหารบางชนิดในโครงการ Yellow card scheme เพื่อทำการศึกษาและวิจัยต่อไป

       เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกกินแต่พอดีเพื่อสุขภาพของเราเอง โดยไม่ใ้ห้มากหรือน้อยเกินไป และต้องกินอย่างถูกวิธี

ที่มา -- tsgclub/intelihealth.com/bbc.co.uk