7.4.10

Fw: นี่หรือคือสิ่งที่ ใจ อึ๊งภากรณ์เขียนถึงในหลวง จากเว็ป นปช.อเมริกา....

 


ใจอึ๊งภากรณ์เขียนถึงในหลวง จากเวบ นปช.อเมริกา????????????????? ( คนคนนี้กำลังคิดอะไร)
คงลืมไปแล้วมั้ง ว่าใครเป็นคนกอบกู้ประเทศชาติให้มันยืดอกตัญญูอยู่ได้ทุกวันนี้ มิใช่สถาบันพระมหากษัตริย์หรอกรึ??

User Rating: / 87 
Poor Best 

Written by ใจ อึ๊งภากรณ์ 

Friday, 02 October 2009 04:57

เมื่อภูมิพลตาย
ผมไม่เชื่อว่าการเขียนบท ความที่มีหัวข้อแบบนี้เป็นการสาปแช่งให้ใครตายเร็วหรือช้า เพราะผมไม่เชื่อเรื่องการสาปแช่ง มันเป็นเรื่องงมงาย และการที่มนุษย์เกิดมาก็ย่อมตาย คนแก่มีแนวโน้มตายเร็ว มีแค่นี้

คน ไทยจำนวนมาก ไม่ว่าจะแดงหรือเหลือง กำลังรอวันตายของ ภูมิพล ด้วยอารมณ์ที่แตกต่างกันไป เพราะ ภูมิพล มีความสำคัญในสังคมไทย ทั้งบวกและลบ แล้วแต่จุดยืน แต่ประเด็นที่เราต้องมาคิดกันคือ “สำคัญอย่างไร"
คน เสื้อแดงและคนเสื้อเหลืองจำนวนมากมองว่า ภูมิพล คือผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมไทย ยังกับว่าเราอยู่ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผมไม่เห็นด้วยกับการวิเคราะห์แบบนี้ แต่ถ้ามันจริง เมื่อ ภูมิพล ใกล้ตาย ต้องมีการแย่งชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นมาเป็นกษัตริย์คนต่อไป มันจ ะเกิดจริงหรือ? ทหารของพระเทพฯจะรบกับทหารของเจ้าฟ้าชายหรือทหารของราชินีจริงหรือ? ทหารของเปรมจะแต่งตั้งเปรมเป็นกษัตริย์แทนหรือ? ไม่น่าจะใช่

มันอาจจะแย่งกัน แต่สิ่งที่แย่งกันคือ ว่าใครจะมีสิทธิ์ใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมกับตนเองมากกว่า
เมื่อ ภูมิพล ตาย ผมเดาว่าจะมีการสร้างพิธีงานศพมโหฬาร ใหญ่โต สิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาล และจะใช้เวลาอย่างน้อยสองเท่าเวลาที่เขาใช้กับ “พระพี่นาง” อาจถึงห้าปีก็ยังได้ อาจมีงานต่อทุกปีให้ครบสิบปีก็ได้ งานศพนี้จะมีวัตถุประสงค์เดียว (ไม่ใช่เพราะว่าไพร่ทั้งหลายต้องใช้เวลาทำใจท่ามกลางความเศร้าหรอก) แต่เพื่อเสริมสร้างลัทธิกษัตริย์ ที่จะนำมาข่มขู่กดขี่เรา การเสริมสร้างลัทธิกษัตริย์เป็นอาวุธทางความคิดที่สำคัญที่สุดของฝ่าย อำมาตย์ เพราะเวลาอำมาตย์ทำรัฐประหาร ทำลายประชาธิปไตย สร้างสองมาตรฐานทางกฎหมาย ใช้ความรุนแรง กลั่นแกล้งเข่นฆ่าประชนชน ก็ทำในนามกษัตริย์ตลอด โดยคิดว่าถ้าอ้างกษัตริย์แล้วเราพลเมืองทั้งหลายจะเกรงกลัวหรือเกรงใจ และถ้าแค่นั้นไ ม่สำเร็จ ก็ยังมีกฎหมายหมิ่นเดชานุภาพ กฎหมายหมิ่นศาล กฎหมายค อมพิวเตอร์ และกฎหมายความมั่นคงไว้ปราบเราอีก และถ้าแค่นั้นไม่พอก็ยิงประชาชนท่ามกลางเมืองได้

อำนาจ ดิบแท้ของอำมาตย์อยู่ที่ทหาร เวลาทหารทำอะไรในอดีต เช่นรัฐประหาร มันไม่ใช่การทำตามคำสั่งของ ภูมิพล เพราะ ภูมิพล เป็นคนขี้ขลาดทางการเมือง เป็นคนไร้จุดยืนที่แน่นอน และไม่มีศักยาภาพ ที่จะนำอะไร เขาเป็นคนไปตามกระแส เป็นหุ่นเชิดได้ดี ตอนทักษิณเป็นนายกก็ชมทักษิณ ตอนเผด็จการทหารขึ้นมาก็ชมทหาร พูดกำกวมให้คนไปตีความเองได้ตามความต้องการ เพื่อจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ยินดีให้คนกราบไหว้ และยินดีสะสมความร่ำรวย
ดัง นั้นเวลาทหารตัดสินใจทำอะไร ก็ทำพิธีเหมือนกับจะไปรับคำสั่ง แต่แท้จริงไป “แจ้ง” ว่าจะทำอะไร ภูมิพลก็พยักหน้าหรืออาจไม่ให้พบแต่แรก แล้วแต่ว่าความเห็นส่วนใหญ่ของทหารอื่นและผู้ใหญ่อื่นๆจะว่าอย่างไร ตรงนี้เปรมเป็นผู้ประสานงาน แต่ไม่มีอำนาจพิเศษ พอทหารเห็นภูมิพลพยักหน้า ก็รีบออกมาแจ้งสังคมว่าสิ่งที่เขาทำ ทำไปตาม “คำสั่ง” ทั้งนี้เพื่อหลอกให้เราคิดว่ามีความชอบธรรม หรือหลอกให้เรากลัว

เมื่อ ภูมิพล ตาย ทหารจะยังมีอำนาจอยู่ ปืนและรถถังไม่ได้หายไปไหน และเมื่อทหารชั้นผู้ใหญ่ตกใ จที่ภูมิพลตาย ก็ไม่ใช่เพราะ “ไม่รู้จะรับคำสั่งจากใคร” แต่ปัญหาของเขาคือ “ไม่รู้จะหากินสร้างความชอบธรรมจากใครต่อ” มันต่างกันมาก ผมเดาว่าเมื่อ ภูมิพล ตาย ทหารจะต้องการยืดงานศพให้ยาวนาน ภาพ ภูมิพล จะเต็มบ้านเต็มเมือง และใครที่คิดต่างจากทหารหรืออำมาตย์ หรือใครที่อยากได้ประชาธิปไตยแท้ ก็จะถูกโจมตีว่าต้องการ “ล้มภูมิพล” ทั้งๆ ที่ ภูมิพล ตายไปแล้ว ใช่ครับมันไม่สมเหตุสมผล แต่ลัทธิกษัตริย์ของอำมาตย์มันไม่ต้องสมเหตุสมผลทุกครั้งอยู่แล้ว

นอก จากนี้ ในขณะที่มีงานศพยาวนานพร้อมการคลั่งและเชิดชูคนที่ตายไปแล้ว ก็จะมีการเข็นลูกชายออกมารับหน้าที่เป็นกษัตริย์ใหม่ ปัญหาของอำมาตย์คือไม่มีใครเชื่อว่าลูกชายเป็นคนดีห รือมีความสามารถ ไม่เหมือนพ่อ ไม่มีใครรัก แม้แต่คนเสื้อเหลืองเองก็ไม่เคารพ แต่การจัดงานศพพ่อยาวๆ การ “ไม่ลืมภูมิพล” จะกลายเป็นเครื่องมือเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากลูกชาย นอกจากนี้เขายังมีเมีย ภูมิพล อีกด้วย เข็นออกมารับงานได้ แต่ประชาชนก็ไม่รักเท่าไรตั้งแต่ไปงานศพพันธมิตรฯ ดังนั้นในเรื่องลูกชายและเมีย ก็ต้องย้ำเสมอว่า “เป็นลูกชายภูมิพล เป็นเมียภูมิพล” เพื่อไม่ให้เราลืมความดีงามของ ภู มิพล

ทั้ง ลูกชายและเมีย ภูมิพล มีภาพว่าเป็นคนโหดร้าย อาจจริง แต่จะโหดร้ายแค่ไหนก็ไม่มีอำนาจมากกว่าที่ ภูมิพล มีหรือเคยมี ซึ่งภูมิพลก็ไร้อำนาจ แต่เราจะเห็นละครของทหารและข้าราชการ “ไปเข้าเฝ้า” เพื่อ “รับคำสั่ง” ตามเคย บางครั้งอาจเป็นคำสั่งจริงในเรื่องแปลกๆ ตลกๆ ที่ไม่ค่อยมีความสำคัญกับบ้านเมือง ทหารก็คงทำไปเพื่อเอาใจและสร้างภาพ แต่ในประเด็นสำคัญหลักๆ ทหารและอำมาตย์ส่วนอื่นจะตัดสินใจก่อน แล้ วไป “แจ้ง” ให้ลูกและเมียทราบ และออกมาโกหกว่ารับคำสั่งมา

ถ้าลูกชายภูมิพลไม่ได้รับความเคารพในสังคม ทำไมไม่นำลูกสาวขึ้นมาเป็นกษัตริย์แทน? ถ้าภูมิพลมีอำนาจจริง ทำไมเขาไม่ประกาศว่าลูกสาวจะเป็นกษัตริย์คนต่อไปก่อนตาย? คำตอบคือ ภูมิพลไม่กล้า และที่สำคัญการนำลูกสาวขึ้นมาโดยทหาร จะส่งสัญญาณอันตรายว่า ระบบกษัตริย์ไม่ได้อิงจารีตอันเก่าแก่จริง ให้ผู้หญิงเป็นกษัตริย์ได้แทนผู้ชายที่ยังมีชีวิต ยิ่งกว่านั้นจะส่งสัญญาณว่าในระบบกษัตริย์ ถ้ากษัตริย์หรือเจ้าฟ้าชายไม่ดีไม่เหมาะสม ก็เปลี่ยนคนได้อีกด้วย ถ้าเปลี่ยนคนได้ก็ยกเลิกไปเลยได้เหมือนกัน อย่าลืมว่ากษัตริย์มีบทบาทหลักในการเป็นลัทธิความคิดที่ใช้คร อบงำเรา มันไม่ใช่อำนาจดิบ ดังนั้นผลในทางความคิดเป็นเรื่องใหญ่ นอกจากนี้เจ้าฟ้าชายอาจเป็นคนที่ถูกใช้ได้ดีกว่าเจ้าฟ้าหญิงก็ได้

เมื่อ ภูมิพล ตาย สังคมไทยจะไม่ปั่นป่วนกว่าที่เป็นอยู่แล้ว อย่าไปโง่คิดว่า “จุดรวมศูนย์หัวใจคนไทยหายไป” มันเลิกเป็นจุดรวมศูนย์นานแล้ว และไม่ได้รวมหัวใจทุกคนด้วย แต่สิ่งที่จะปั่นป่วนหนักคือหัวใจของพวกอำมาตย์และเสื้อเหลือง ต่างหาก พวกนี้จะคลั่งมากขึ้น อันตรายมากขึ้น แต่อันตรายท่ามกลางความกลัว เขาจึงมีจุดอ่อน

เมื่อ ภูมิพล ตาย คนเสื้อแดงจำนวนมากที่เกรงใจ ภูมิพล อาจรัก ภูมิพล จะไม่เกรงใจหรือรักลูกชายเลย ความปลื้มในระบบกษัตริย์จะลดลงอีกในสายตาคนส่วนใหญ่

แต่ เมื่อ ภูมิพล ตาย คนเสื้อแดงที่ไม่เอาเจ้า เพราะอยากได้ประชาธิปไตยแท้ จะไม่ประสบผลสำเร็จง่ายๆ โดยอัตโนมัติ เพราะฝ่ายอำมาตย์จะไม่เลิก อำนาจทหารจะยังมี และการรณรงค์คลั่งเจ้าจะเพิ่มขึ้น

ใน มุมกลับ เมื่อ ภูมิพล ตาย อำมาตย์จะปั่นป่วน และมันเป็นโอกาสที่เราจะสู้ทางความคิดอย่างหนัก เพราะแหล่งความชอบธรรมเขาจะอ่อนลง เราจะต้องถามว่าทำไมต้องมีระบบนี้ต่อภายใต้ลูกชายหรือแม่?

พลเมือง ที่ร ักประชาธิปไตยไม่สามารถรอวันตายของ ภูมิพล ได้ เพราะมันจะมีทั้งภัยและโอกาสตามมา เราหลีกเลี่ยงการวางแผน การจัดตั้งคน และการ ผนึกกำลังมวลชนไม่ได้ ประชาธิปไตยจะไม่หล่นจากต้นไม้ เหมือนมะม่วงสุก เราต้องไปเด็ดมันลงมากิน และเราจะต้องสอยอำมาตย์ทั้งหมดลงมา เพื่อไม่ให้ทำลายประชาธิปไตยอีก

โดย..ใจ อึ๊งภากรณ์
25 ก.ย. 2552