8.4.11

พระราชดำรัสให้แจ้งให้ทราบ" ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์..แตก!!!

 

                      
          ด้วยพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ท่านทรงมีพระราชดำรัสให้แจ้งประชาชนให้ทราบถ้าเขื่อน ศรีนครินทร์..แตก!!!

นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ ( มท. 3)
อยากชี้แจงให้นักท่องเที่ยวทราบว่าถ้าแผ่นดินไหวแล้วทำให้เขื่อนแตกน้ำ ก็จะใช้เวลาเดินทางไปยังที่ต่างๆประมาณ 15 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวยังสามารถหลบหนีได้ทัน

นายสิทธิชัย กล่าวว่า การตรวจเขื่อนครั้งนี้
เนื่องจากประชาชนจังหวัดกาญจนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง วิตกว่าหากเกิดแผ่นดินไหว อาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในแนวลุ่มน้ำของจังหวัดได้ เพราะจังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของ เขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ตั้งอยู่บนแนวแขนงรอยเลื่อน ศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ที่แยกจากแนวรอยเลื่อนสะแกงในประเทศพม่า.

- สำนักข่าวไทย

ประเด็นสำคัญสำหรับเรื่องนี้ก็คือ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ท่านทรงมีพระราชดำรัสให้แจ้งประชาชนให้ทราบ ' ความจริง ' ตรงจุดนี้กรณีเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งหากเกิดแผ่นดินไหว ตรงรอยเลื่อน และเขื่อนแตกออก ' ผลก็คือ '
- ด้วยพลังงานของน้ำ ที่มีปริมาณมหาศาล ตัว จ. กาญจนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงในแนวเส้นทางน้ำห ลากลงมาราบเป็นหน้ากลองแน่นอน มีเวลาอพยพ 5 ชั่วโมง ดังนั้นท่านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต้องมีการเตรียมตัว กันเอาไว้บ้าง

- เป้ฉุกเฉิน

- แผนอพยพของครอบครัว..เส้นทางอพยพ

- จังหวัด ที่อยู่ในเส้นทางน้ำในระดับต่อลงมา ย่อมเกิดผลกระทบตามไปด้วยแน่นอนและระดับพลังงานการ ทำลายล้าง ไม่น้อยกว่าสึนามิ

- สำหรับกรุงเทพมหานคร หากเขื่อนศรีแตก มีเวลาอพยพ 35 ชั่วโมง ซึ่งต้องคำนวนเผื่อกรณีที่ รวบรวมคนทั้งครอบครัว เผื่อรถติดหาเส้นทางอพยพ ที่ไม่สวนกระแสน้ำเพราะน้ำวิ่งมาตามถนนสายหลักอย่างเพชรเกษมแน่นอน ที่สำคัญหากน้ำทะเลหนุน ระดับน้ำที่คำนวนเอาไว้อาจสูงเกิน 2 เมตรหรือตึก 2 ชั้นได้

- ดังนั้นตั้งสติเอาไว้ ใช้ปัญญาพิจารณา หาแนวทางป้องกันตัวเองอย่าได้ประมาทในการทั้งปวง



ทีนี้เรามาดูประัวัติความเป็นมาเขื่อนศรีนครินทร์
เขื่อนศรีนครินทร์ (ชื่อเดิม เขื่อนเจ้าเณร) เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง สร้างขึ้น บนแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี นับเป็น เขื่อนแห่งที่ 8 ในจำนวน 17 แห่ง ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สร้างขึ้นเพื่อ อำนวยประโยชน์ทางด้านต่างๆ ตลอดจนช่วยพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎร และส่งเสริมให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม
เขื่อนศรีนครินทร์ก่อกำเนิดขึ้น เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชน และการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่พักผ่อนที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี แต่ละปีจะมีนักทัศนาจรหลั่งไหลเข้าไปเที่ยวชมอย่างมากมาย นับเป็นสถานที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง

ลักษณะเขื่อน

เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความสูงจากฐานราก 140 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร กว้าง 15 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 419 ตารางกิโลเมตร มีความจุมากเป็นอันดับหนึ่งคือ 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร โรงไฟฟ้าเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 5 เครื่อง เครื่องที่ 1-3 กำลังผลิต เครื่องละ 120,000 กิโลวัตต์ เครื่องที่ 4-5 เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบบสูบกลับ กำลังผลิต เครื่องละ 180,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 720,000 กิโลวัตต์ งานก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ เริ่มเมื่อปี 2516 แล้วเสร็จในปี 2523 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญ พระนามาภิไธยสมเด็จพระศรีนครินทร์ มาขนานนามเขื่อน และเสด็จ พระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2524
ประโยชน์

เขื่อนศรีนครินทร์เป็นโครงการอเนกประสงค์ ซึ่งอำนวยประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
ชลประทานช่วยส่งเสริมระบบชลประทาน โครงการแม่กลองใหญ่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมี เขื่อนแม่กลองของกรมชลประทาน เป็นหัวงานทดน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรได้ตลอดปีเป็นเนื้อที่ถึง 4,118 ล้านไร่
ผลิตไฟฟ้า สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละประมาณ 1,250 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
บรรเทาอุทกภัย สามารถกักเก็บน้ำที่หลากมาในช่วงฤดูฝน ไว้ในอ่างเก็บน้ำได้เป็นจำนวนมาก ช่วย บรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำแม่กลองให้ลดน้อยลง
คมนาคมทางน้ำ สามารถใช้เป็นเส้นทางเดินเรือขึ้นไปยังบริเวณอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
ผลักดันน้ำเค็ม สามารถปล่อยน้ำลงผลักดันน้ำเค็มมิให้หนุนล้ำเข้ามาทำความเสียหายแก่พื้นที่บริเวณปากน้ำแม่กลองในช่วงฤดูแล้ง
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับราษฎรอีกทางหนึ่งด้วย
เขื่อนศรีนครินท์นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ให้ทั้งความรู้ และความเพลิดเพลินแก่ผู้มาเที่ยวชมปีละเป็นจำนวนกว่าแสนคน และก่อให้เกิดการขยายตัวทางการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง เช่น แพท่องเที่ยวในอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น


ที่มา วิกิพีเดีย. ชัยโรงเกลือ