18.10.12
มะระขี้นก
วันนี้เอาสาระเกี่ยวกับพืชผักมาฝากเพื่อนๆกัน เนื่องจากอยู่ในช่วงของเทศกาลกินเจ ไปตลาดได้ไปเจอแกงยอดมะระขี้นกเจ และได้ยินเด็กวัยรุ่นยืนเถียงกันเรื่องประโยชน์ของมันว่าแม่เค้าบอกว่าแม่้เค้าบอกว่ากินยอดมะระแล้วไม่แก่ก่อนวัย อีกคนก็บอกว่าแม่เค้าบอกว่าต้องกินลูกมันต่างหาก ไอ้เราคนฟังก็ชักจะสับสนตามไปด้วย เลยต้องมาเสาะหามาว่าจริงๆมันมีประโยชน์ยังไงบ้าง เอาล่ะเรามาดูกันเลยดีกว่า
ชื่ออังกฤษ
Balsam Pear, Bitter Cucumber, Leprosy Gourd, Bitter Gourd
ชื่อท้องถิ่น
ผักเหย (สงขลา), ผักไห (นครศรีธรรมราช), มะร้อยรู (ภาคกลางPeninsular), มะห่อย, มะไห่ (ภาคเหนือ), สุพะซู สะพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Momordica charantia Linn.
วงศ์
Cucurbitaceae
ลักษณะ
ลักษณะของพืชเป็นไม้เถา มีมือเกาะใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายฝ่ามือ เรียงสลับกัน ขอบใบเว้าลึก 5-7 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-7 ซม. ดอกเดี่ยว ดอกแยกเพศกัน และอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองรูประฆัง ผลเป็นรูปกระสวย ผิวขรุขระ ดิบสีเขียวเมื่อสุกสีส้ม ใบ ลำต้น และลูกมีรสขม
สรรพคุณสมุนไพร
ลดระดับน้ำตาลในเลือด ใช้ผลสด 50 กรัมต่อวัน หรือ นำผลมะระขี้นกมาหั่น เอาเฉพาะเนื้อ ตากแดดให้แห้ง ใช้เนื้อมะระขี้นกแห้ง 1-2 ชิ้น ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วย ดื่มครั้งละ 2 ถ้วย วันละ 3 เวลา หรือจะชงจำนวนมากพอแล้วใส่ในกระติกน้ำร้อน แบ่งกินได้ตลอดวันก็ได้ หรือ นำมะระขี้นก แกะเมล็ดออก กินดิบๆ หรือต้มสุก รับประทานเป็นผักหรือจิ้มน้ำพริกมื้อละ 1 ถ้วย วันละ 3 ครั้ง
ยับยั้งเชื้อ HIV ใช้เมล็ดจำนวน 10 เมล็ด นำมาปั่นหรือโขลกให้ละเอียดกับน้ำสะอาด 10-20 มิลลิลิตร กรองผ่านผ้าขาวบางให้เตรียมอย่างสะอาดและเก็บไว้ในที่เย็น ใช้สวนทวารหนักวันละ 1 ครั้ง
ช่วยเจริญอาหาร ใช้เนื้อของผลที่ยังไม่สุกไม่จำกัดจำนวน ใช้ประกอบเป็นอาหาร ผักจิ้ม ต้ม แกง
ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ใช้ใบสดมะระขี้นก 20-30 ใบ หั่นใบชงด้วยน้ำร้อนเติมเกลือ เล็กน้อย ช่วยกลบรสขม ดื่มแต่น้ำ ใช้ได้ดีสำหรับถ่ายพยาธิเข็มหมุด นอกจากนี้ยังใช้เมล็ด 2-3 เมล็ด รับประทานขับพยาธิตัวกลม ทำให้อาเจียน ใช้เถาสด 1/3 กำมือ หรือ 6-20 กรัม เติมน้ำพอท่วมต้มให้เดือด 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ
รักษาชันนะตุและศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน ใช้ผลสดที่ยังไม่สุกหั่นเนื้อมะระแล้วตำคั้นเอาแต่น้ำ เติมดินสอพองลงในพอสมควร ใช้ทาบริเวณที่เป็นชันนะตุ
ยาแก้ไข้ ใช้ผลมะระต้มน้ำแล้วดื่ม อาการตัวร้อนจะหายไป แก้ไข้ที่เกิดจากกระทบความร้อน ใช้ผลสด 1 ผล ควักไส้ในออกใส่ใบชาเข้าไปแล้วประกบกันนำไปตากให้แห้งในที่ร่ม รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยต้มน้ำดื่มหรือชงน้ำดื่มต่างชา ก็ได้
แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ผลสด 1 ผล ขูดไส้ในออก หั่น ฝอย ต้มน้ำดื่ม
แก้บิด ใช้น้ำคั้นจากผลสด 1 แก้ว ผสมน้ำดื่ม
แก้บิดเฉียบพลันใช้ดอกสด 20 ดอก ตำคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งพอสมควรดื่ม
แก้บิดปวดท้อง ถ่ายเป็นเมือกๆ ใช้รากสด 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ถ่ายเป็นเลือด ใช้รากสด 120 กรัม ต้มน้ำดื่ม
แก้บิดถ่าย เป็นมูกหรือเลือดใช้เถาสด 1 กำมือ แก้บิดมูกใส่เหล้าต้มดื่ม แก้บิดเลือดให้ต้มน้ำดื่ม
แก้แผลบวม ใช้ผลสดตำพอก แผลสุนัขกัด ใช้ใบสดตำพอก แก้ปวดฝี ใช้ใบแห้ง บดเป็นผงชงเหล้าอื่น
แก้ฝีบวมอักเสบใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหรือใช้รากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำพอก แก้ปวดฟัน ใช้รากสดตำพอก แก้คัน แก้หิด และโรคผิวหนังต่างๆ ใช้ผลแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้คันหรือทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้ทาแก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ในสตรีตั้งครรภ์
การใช้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือด (oral hypoglycemic agents ) อื่น หรือการฉีด insulin อาจทำให้เสริมฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้
อาการอันไม่พึงประสงค์
อาจทำให้ระบายเนื่องจากมะระขี้นกมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ