17.4.13

โรคอ้วนอาจรับรู้ได้จากกลิ่นลมหายใจ




โรคอ้วนนั้นมีลักษณะของการแสดงอาการที่เด่นชัดซึ่งยากที่จะปกปิดหรือซุกซ่อนเอาไว้ แถมในตอนนี้แพทย์ยังบอกว่าพวกเขาสามารถแม้ที่จะกระทั่งได้กลิ่นโรคอ้วนจากลมหายใจของคุณได้อีก

เหล่าแพทย์จาก Cedars-Sinai Medical Center ที่ Los Angeles กล่าวว่าจุลินทรีย์ที่ปล่อยก๊าซบางชนิดที่อาศัยอยู่ในท้องมนุษย์นั้นอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่คนๆหนึ่งจะมีน้ำหนักตัวมากเกินไป และการมีอยู่ของก๊าซมีเทนและไฮโดรเจนในจุลินทรีย์จากลมหายใจนั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดต่อน้ำหนักตัวที่มากเกินและไขมันในร่างกายที่มากเกินไปด้วย

พวกเขายังยอมรับอีกว่าการรับประทานมากเกินไปและไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายนั้นเป็นสาเหตุหลักของโรคอ้วน แต่ถึงอย่างนั้นปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่นการมีจุลินทรีย์บางชนิดในสำไส้มากเกินหรือน้อยไปนั้นก็อาจจะเป็นเหตุผลประกอบที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้เช่นเดียวกัน

จุลินทรีย์ช่างหิว

แนวคิดที่ว่าจุลินทรีย์ในกระเพาะนั้นมีความเกี่ยวโยงกับภาวะโรคอ้วนนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่เลย ซึ่งมีรายงานวิทยาศาสตร์หลายฉบับแล้วที่มีเนื้อหาเดียวกันภายในเวลาแค่สองสามปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่เข้าใจว่าจุลินทรีย์ตัวไหนเป็นผู้ร้ายตัวจริง

ทีมแพทย์ซึ่งนำโดย Ruchi Mathur ผู้อำนวยการของ Cedars-Sinai Diabetes Outpatient Treatment and Education Center ซึ่งเป็นศูนย์บริการรักษาและให้ความรู้กับผู้ป่วยนอกเกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวาน ได้เน้นความสำคัญไปที่จุลินทรีย์ผลิตมีเทนที่มีชื่อว่า Methanobrevibacter smithii โดยทฤษฎีก็คือจุลินทรีย์ชนิดดังกล่าวจะเข้ากินไฮโดรเจนที่ถูกผลิตขึ้นโดยจุลชีพตัวอื่นๆในลำไส้ ซึ่งระดับของไฮโดรเจนที่ลดลงนั้นเพิ่มอัตราการหมักตัวในลำไส้ ทำให้ร่างกายดูดซับสารอาหารและพลังงาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือแคลอรี่จากอาหารได้มากขึ้นนั่นเอง

“โดยปกติแล้ว จุลชีพที่อาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารนั้นทำประโยชน์ให้กับเราโดยการช่วยแปรเปลี่ยนอาหารให้กลายเป็นพลังงาน” Mathur กล่าว  “อย่างไรก็ตาม เมื่อ M. smithii มีจำนวนมากเกินไปแล้วล่ะก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงสมดุลย์นี้แล้วทำให้บางคนมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้”

งานวิจัยชิ้นก่อนของ Mathur ที่ได้ทดลองกับหนูนั้นเหมือนจะชี้ให้เห็นได้ว่าจุลินทรีย์ M. smithii นั้นเพิ่มการสะสมของน้ำหนักตัว ซึ่งการมี M. smithii ในปริมาณมากนั้นจะทิ้งร่องรอยของมีเทนในระดับสูงเอาไว้ในลมหายใจของมนุษย์ เปรียบได้กับหลักฐานมัดตัวของจุลินทรีย์ชนิดดังกล่าวว่ามันมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดโรคอ้วนเลยทีเดียว

การทดสอบลมหายใจ

ทีมของ Mathur ได้ทำการวิเคราะห์ลมหายใจของผู้เข้าร่วมทดลองจำนวน 792 คน ซึ่งพวกเขาพบว่าผู้เข้าร่วมทดลองมีทั้งส่วนประกอบของลมหายใจที่ปกติ และแบบที่มีความเข้มข้นของมีเทนสูง แบบที่มีระดับไฮโดรเจนสูง หรือทั้งคู่ ซึ่งผู้อยู่ในกลุ่มหลังสุดนั้นมีดรรชนีมวลกายและปริมาณไขมันในร่างกายที่สูงอย่างชัดเจนด้วย

แต่ปริมาณของไฮโดรเจนและมีเทนในลมหายใจของผู้ที่เป็นโรคอ้วนนั้นอาจชี้ให้ด้วยว่าตัวการนั้นไม่ใช่มีแค่เพียงจุลินทรีย์ M. smithii เท่านั้น หรือไม่อย่างน้อยภาพรวมนั้นก็มีความซับซ้อนมากกว่านี้

ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับงานวิจัยจากนักวิจัยชาวฝรั่งเศสที่ได้พบว่าจุลินทรีย์ Lactobacillus reuteri นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องที่สุดกับผู้ที่เป็นโรคอ้วนที่มีปริมาณของ M. smithii ที่ต่ำ ซึ่งงานวิจัยก่อนหน้านี้เขาก็ได้พบว่าการมีปริมาณ M. smithii มากเกินไปนั้นมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเบื่ออาหารด้วย

กลุ่มของ Mathur เองก็ไม่สามารถยืนยันเหตุและผลได้ว่าโรคอ้วนนั้นเกิดขึ้นจากภาวะไม่สมดุลย์ของจุลินทรีย์ในร่างกาย หรืออาหารที่เกี่ยวเนื่องกับโรคอ้วนอย่างอาหารที่มีแคลอรี่สูงและสารอาหารต่ำนั้นจะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจำนวนจุลินทรีย์และทำให้ง่ายต่อการเป็นโรคอ้วนหรือเปล่า เพราะโรคอ้วนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างคาดเดาไม่ได้อย่างไข้หวัด และจุลินทรีย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนนั้นก็อยู่ในลำไส้ของทุกคนพร้อมกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆอีกนับล้านๆตัว

สิ่งที่เราชัดเจนมากขึ้นก็คือว่าคนบางคนอาจจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้เร็วกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นนั้นเป็นเรื่องของพันธุกรรม หรือจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือเพราะทั้งคู่กันแน่นั้นจะต้องอาศัยการค้นคว้าประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้เพิ่มเติมเพื่อหาเงื่อนงำไปสู่ความเข้าใจและการบำบัดรักษาใหม่ๆที่อาจถูกค้นพบได้


ที่มา -- news.discovery.com