า
ไปอ่านเจอข่าวเก่ามาคอลัมภ์ซึ่งน่าสนใจ เลยนำมาฝาก โดยเรื่องมีอยู่ว่า
เธออาศัยอยู่บริเวณฐานของหนึ่งในที่ทิ้งขยะที่ใหญ่ที่สุดในกรุงมานิลา ซึ่งเป็นที่แรกในประเทศที่มีการแปลงก๊าซมีเทนเป็นพลังงานอันเป็นผลมาจากโครงการของสหประชาชาติที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น
การย่อยสลายขยะนั้นทำให้เกิดก๊าซมีเทน หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่นักวิทยาศาสตร์ครหาว่าเป็นตัวการของปรากฏการณ์โลกร้อน ซึ่งการเปลี่ยนมันให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้านั้นป้องกันการลอยสู่ชั้นบรรยากาศในขณะที่ลดความต้องการในการเผาเชื้อเพลิงฟอซซิลด้วย
ก๊าซมีเทนนั้นจะถูกกักไว้ด้วยท่อต่างๆที่อยู่ลึกลงไปในที่ทิ้งขยะ เหมือนกับบ่อที่สกัดก๊าซออกมาจากใต้ดินหรือมหาสมุทร โดยมีเทนนั้นจะถูกดูดและส่งไปยังด้านล่างของที่ืทิ้งขยะเพื่อปั๊มลงเครื่องกำเนิดพลังงานและถูกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าต่อไป
ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา Mabignay และเหล่าแม่บ้านคนอื่นๆจากชุมชนแออัดด้านล่างของแหล่งทิ้งขยะ payatas นั้นได้รับอนุญาตให้ใช้พลังงานในห้องที่ถูกสร้างขึ้นที่นั่นได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายใดๆ
“มันช่วยเหลือพวกเราได้มากเนื่องจากมันลดค่าไฟของเรา ซึ่งบางครั้งเราก็เอาส่วนประหยัดไว้ได้มาใช้ซื้ออาหาร” Mabignay กล่าว ซึ่งสามีของเธอมีรายได้อยู่ประมาณหกพันบาทต่อเดือนจากอาชีพเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่จุดทิ้งขยะแห่งนี้
บริษัท Pangea Green Energy Philippines ที่อยู่เบื้องหลังโครงการนี้สามารถที่ยอมให้ใช้กระแสไฟฟ้าได้ฟรีเนื่องจากการสูบก๊าซและการแปลงพลังงานนั้นได้มอบรายได้มากมายแก่บริษัท ซึ่งภายใต้โครงการของ UN นั้น ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถรักษาข้อสัญญาของ Kyoto Protocol ในการลดผลผลิตก๊าซเรือนกระจกลงได้โดยการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการต่างๆที่จะช่วยลดการปล่อยมลภาวะในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างฟิลิปปินส์
บริษัทในประเทศที่กำลังพัฒนานั้นจะได้คะแนนจากการลดการปล่อยมลภาวะ ซึ่งแต่ละคะแนนจะเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์หนึ่งตัน โดยแต้มเหล่านี้จะถูกขายให้แก่บริษัท สถาบัน หรือรัฐบาลต่างๆในประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อการหักลบผลผลิตมลภาวะของประเทศตัวเองลงไป
Jennifer Fernan Campos ที่เป็นประธานของ Pangea กล่าวว่าโครงการพลังงานนั้นถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากแผนการของ UN โดยเฉพาะ และไฟฟ้ากิโลวัตต์แรกนั้นได้ถูกผลิตขึ้นในปี 2008
“พวกเราต่างพอใจมากที่จะได้ช่วยดูแลทั้งสภาพแวดล้อมและชุมชน ด้วยหนทางเล็กๆของเราทำให้เราสามารถลดทอนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้” เธอกล่าว
โครงการพลังงานอีกหลายพันโครงการในประเทศกำลังพัฒนานั้นได้ถูกลงทะเบียนกับทาง UN แล้วตั้งแต่โครงการเริ่มขึ้นในปี 2005 ซึ่งรวมไปถึงฟาร์มกังหันลม โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ และเขื่อนพลังงานน้ำ และยังมีโครงนำของเสียมาเปลี่ยนเป็นพลังงานอีกหลายโครงการ ซึ่งมีโครงการอื่นๆอีกสี่โครงการในประเทศฟิลิปปินส์กำลังเริ่มต้มขึ้นหลังจากมี Pangea นำร่องไปก่อนแล้ว
อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดของก๊าซเรือนกระจกหนึ่งตันที่หลายบริษัทได้เริ่มลดทอนลงไปได้มากในปี 2010 นั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการถดถอยของเศรษฐกิจในยุโรปซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดด้วย
“ราคาของเรานั้นค่อนข้างที่จะแกว่งไปมา ดังนั้นเมื่อตลาดพังลง เราก็เจ็บตัวด้วย” Fernan Campos กล่าว พร้อมอธิบายได้พวกเธอทำพลาดโดยการไม่ล๊อคราคาให้สูงไว้ในคราวที่เธอมีโอกาส
ผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมได้เตือนว่าแผนการค้าคาร์บอนไดออกไซด์นั้นกำลังอยู่ในอันตรายเนื่องจากการลดลงของราคา และหลายโครงการพลังงานสะอาดนั้นกำลังเผชิญกับอนาคตที่ไม่แน่นอน
อย่างไรก็ตาม Fernan ได้กล่าวว่าโครงการของเธอนั้นสามารถประคองตัวทางการเงินได้โดยไม่ต้องอาศัยช่องทางของเงินผ่านสหประชาชาติแล้ว โดยในเดือนนี้โรงผลิตไฟฟ้าของเธอได้ขยายความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าจาก 200 กิโลวัตต์เป็น 1 เมกาวัตต์ พร้อมกับได้เริ่มการขายไฟฟ้าให้ระบบไฟฟ้าของกรุงมานิลาแล้วด้วย
ก่อนหน้านี้ไฟฟ้าที่ถูกสร้างขึ้นที่ Payatas นั้นได้ถูกใช้เพียงเพื่อให้พลังงานแก่งานต่างๆที่จุดทิ้งขยะและชุมชนแออัดใกล้เคียงผ่านโครงการรีดผ้าและไฟถนนในละแวกใกล้เคียงเท่านั้น
Fernan กล่าวว่า ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ลดไปได้เพราะโครงการของที่นี่นั้นมีค่าเท่ากับการนำรถ 18,000 คันออกจากถนนในกรุงมานิลาเลยทีเดียว ซึ่งโครงการนี้ยังมีประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมอีกมากมายหลายประการ เช่นมลภาวะทางอากาศที่น้อยลงกับผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง อีกทั้งก๊าซม่เทนที่ถูกสกัดออกมาจะไม่สามารถไปปนเปื้อนระบบน้ำได้อีก
ถึงอย่างนั้น Greenpeace และกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมอื่นๆก็ไม่สนับสนุนโครงการที่เปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นพลังงาน โดยโต้แย้งว่าสิ่งอ้างอิงของโครงการพวกนี้นั้นมักโฆษณาเกินจริงและทำให้เกิดแรงจูงใจทางการเงินให้มีการทิ้งขยะมากขึ้น
“วิธีเดียวที่จะจัดการปัญหาการเกิดก๊าซมีเทนจากของเสียนั้นก็หยุดไม่ให้ขยะไปถึงจุดที่ทิ้งขยะตั้งแต่แรก” Beau Baconguis ผู้ดูแลโครงการ Greenpeace ของฟิลิปปินส์กล่าว “การมีโครงการประเภทนี้เป็นการสนับสนุนการสร้างขยะแทนการกำจัดมัน เพราะคุณต้องการขยะเพื่อสร้างพลังงานป้อนให้โรงงานด้วย”
เขากล่าวว่ารัฐบาลของฟิลิปปินส์นั้นยังไม่ได้แสดงวิสัยทัศน์ในการลดปริมาณขยะลง และประชากรกว่า 12 ล้านคนของกรุงมานิลานั้นผลิตขยะประมาณ 6000 – 8000 ตันต่อวัน
อย่างไรก็ตาม Fernan ได้กล่าวว่าบริษัทของเธอไม่ได้มีการสนับสนุน หรือรับเงินใต้โต๊ะเพื่อสนับสนุนให้มีขยะมาทิ้งที่โครงการของเธอมากขึ้นแต่อย่างใด เธอกล่าวว่ารัฐบาลท้องถิ่นได้ทำการรีไซเคิลและข้อกำหนดการลดปริมาณของเสียอื่นๆในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นก็ได้ทำให้ปริมาณขยะที่ถูกส่งมาที่นี่ลดจาก 1,800 ตันต่อวันเหลือ 1,200 ตันต่อวันเท่านั้น
“พวกเราแค่พยายามกำจัดขยะที่มี และให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลในเวลาเดียวกันก็เท่านั้น” เธอกล่าว
ที่มา -- news.discovery.com