30.4.14
29.4.14
28.4.14
การกระพริบตา
สาระน่ารู้! ศ.นพ.เสนอ อินทรสุขศรี ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าการกะพริบตาเป็นวิธีการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ตา ซึ่งเป็นการป้องกันตามธรรมชาติของร่างกายเวลากะพริบตาน้ำตาจะได้เคลือบและแผ่ไปได้ทั่วผิวลูกตาทำให้ผิวตาชุ่มชื้นได้ตลอดเวลาตาจะได้ไม่แห้งและไม่แสบตาเราจึงต้องกะพริบตาอยู่ตลอดเวลา โดยเฉลี่ยคนเรากะพริบตาทุกๆ๒-๓ วินาที กว่าจะกะพริบตาครั้งหนึ่งก็ใช้เวลานาน กว่าปรกติ ตามสถิติมีผู้สังเกตว่าเวลาอ่าน หนังสือ ผู้หญิงจะใช้เวลา ๕ วินาที จึงจะกะพริบตาครั้งหนึ่ง ส่วนผู้ชายใช้เวลา ๑๐-๑๒ วินาที จึงจะกะพริบตาครั้งหนึ่ง จะกะพริบตาครั้งหนึ่ง ไมาส่ามารถอธิบายได้ ผู้ทำสถิติตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ชายอาจทนเพ่งอ่านหนังสือได้นานกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ตามคนเราจะต้องกะพริบตาตลอดเวลาเสมอถ้าจะฝืนไม่กะพริบตาเลยเพียงนาน๑๐-๑๒วินาทีก็จะแสบตาเนื่องจากน้ำตาระเหยแห้งไปและด้านหน้าลูกตาแห้งหรือชุ่มชื้นไม่ ทั่วกัน ทั่วกัน
มีบางคนกะพริบตาถี่ๆเมื่อเกิดอารมณ์ผิดปรกติบางอย่างเช่น หวาดระแวง ละอาย ขวยเขิน มีความผิดอยู่ในใจ ตื่นเต้น โกรธ ฯลฯ บางคนกะพริบตาถี่ๆ จนเปนนิสัยก็มี ผลการวิจัยมนุษย์เราจะต้องกระพริบตาถึง 250ล้านครั้งทีเดียวเพราะเราจะกระพริบตาทุกๆ6วินาทีเราต้องทำใหกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวประมาณ 10,000 ครั้งต่อวัน
ถ้าเปรียบกับการทำงานของกล้ามเนื้อขาแล้วจะเท่ากับวิ่งระยะทาง 80 กิโลเมตรต่อวัน แถมยังพบว่าผู้หญิงจะกระพริบตามากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
แต่แพทย์แนะนำว่าเราควรจะกะพริบตาให้ได้ 12 ครั้งต่อ 1 นาที
“ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม //สำนักพิมพ์สารคดี”
Credit-สนุกดอทคอม
posted from Bloggeroid
27.4.14
26.4.14
25.4.14
ถ่านหินจะสะอาดจริงเหรอ
ถ่านหินคือเชื้อเพลิงที่มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายทางสังคมสูงลิบ เปนแหล่งพลังงานที่ทั้งสกปรกและอันตรายที่สุดที่เรามี แต่ในอีกหลายแง่มุม ถ่านหิน ยังเปนเชื้อเพลิงราคาถูกที่สุดด้วย และเรายังต้องพึ่งพามันอยู่ คำถามข้อใหญ่ในทุกวันนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ว่าถ่านหินจะมีวันเปนเชื้อเพลิง “สะอาด” ได้ หรือไม่ เพราะมันไม่สามารถเปนได้อยู่แล้วแต่อยู่ที่ว่าถ่านหินจะมีวันสะอาดพอหรือถึงระดับที่ไม่เพียงปองกันหายนะที่อาจเกิดกับท้องถิ่นแต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกขั้นรุนแรงอีกด้วย โรงไฟฟาเมาเทนเนียร์ของบริษัทอเมริกันอิเล็กทริกพาวเวอร์ หรือเออีพี (American Electric Power: AEP) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝงแม่น้ำโอไฮโอ ในเมืองนิวเฮเวนรัฐเวสต์เวอร์จิเนียสวาปามถ่านหินจากเทือกเขาแอปพาเลเชียนเข้าไปมากกว่าชั่วโมงละ 450 ตัน เมื่อเข้าสู่โรงไฟฟาก้อนถ่านหินขนาดเท่าลูกกอล์ฟจะถูกบดเปนผงละเอียดราวกับแปงผัดหน้า แล้วเปาเข้าไปในเตาเผาของหม้อน้ำขนาดใหญ่ที่สุดใบหนึ่งของโลกกังหันพลังไอน้ำสามตัวของโรงไฟฟาแห่งนี้ผลิตกระแสไฟฟาตลอด24ชั่วโมงเพื่อจ่ายให้ลูกค้า 1.3 ล้านรายในเจ็ดรัฐ อย่างไรก็ตามลูกค้าเหล่านั้นรวมทั้งบริษัทเออีพีไม่ต้องจ่ายแม้แต่แดงเดียวสำหรับเอกสิทธิ์ในการพ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากปล่องไอเสียสูง 305 เมตรของโรงไฟฟาเมาเทนเนียร์สู่ชั้นบรรยากาศปละ 6-7 ล้านตัน และนั่นคือปญหา คาร์บอนถูกปล่อยทิ้งอย่างไร้ขีดจำกัดเพราะตามโรงไฟฟาส่วนใหญ่แล้วการทำเช่นนั้นแทบไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย และเพราะ กระทั่งปจจุบันก็ยังไม่มีกฎหมายใดในสหรัฐฯที่ห้ามกระทำเช่นนั้น แต่เมื่อป 2009 มีแนวโน้มว่าอาจมีกฎหมายออกมาในไม่ช้า กล่าวคือ ในฤดูร้อนปนั้นสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับหนึ่ง เออีพีจึงตัดสินใจ เตรียมความพร้อมล่วงหน้า เดือนตุลาคมปนั้น โรงไฟฟาเมาเทนเนียร์เริ่มโครงการทดลองขั้นบุกเบิกใน การดักจับคาร์บอนโดยเออีพีเชื่อมต่อโรงงานเคมีแห่งหนึ่งเข้ากับด้านหลัง ของโรงไฟฟา โรงงานดังกล่าวทำให้ควันที่เมาเทนเนียร์ปล่อยออกมาราว ร้อยละ 1.5 มีอุณหภูมิลดลง แล้วจึงผันไปตามท่อผ่านสารละลายแอมโน เนียมคาร์บอเนต ซึ่งจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ จากนั้นก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกบีบอัดภายใต้แรงดันสูงมาก แล้วถูกฉีดลงไปเก็บไว้ในชั้นหินทรายที่มีรูพรุนลึกลงไปใต้ดินกว่า 1.5 กิโลเมตร ริมฝงแม่น้ำ โอไฮโอ ระบบดังกล่าวใช้ได้ผล ในช่วงสองปถัดมาเออีพีดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์ได้มากกว่า 37,000 ตัน แม้จะคิดเปนสัดส่วน เพียงร้อยละ0.25ของคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่โรงไฟฟาแห่งนี้ ปล่อยออกมา แต่นั่นเปนเพียงการทดลองเบื้องต้น เออีพีวางแผนจะขยาย ขนาดโครงการเพื่อดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้หนึ่งในสี่ของทั้งหมด หรือเท่ากับ 1.5 ล้านตันต่อปทว่าหลังจากวุฒิสภาคว่ำร่างกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้วคณะกรรมการกำกับควบคุมกิจการสาธารณูปโภคของรัฐเวอร์จิเนียจึงแจ้งกับเออีพีว่าทางบริษัทไม่สามารถผลักภาระค่าใช้จ่ายด้วยการเรียกเก็บเงินจากลูกค้าเปนค่าเทคโนโลยีซึ่งกฎหมายยังไม่บังคับว่าต้องมี เออีพียุติโครงการทดลองในฤดูใบไม้ผลิ ป 2011 โครงสร้างสลับซับซ้อนซึ่งมีทั้งท่อเครื่องสูบและแท็งก์กักเก็บถูกรื้อถอนออกไป แม้จะเปน โครงการขนาดเล็ก แต่ระบบของเมาเทนเนียร์ก็ถือเปนระบบแรกของโลกที่ดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟาถ่านหินโดยตรง และดึงดูดผู้สนใจหลายร้อยคนจากทั่วโลกให้มาเยี่ยมชม การดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้ดินในชั้นหินที่มีรูพรุนฟงดูเหมือนทางออกไฮเทคสุดฝนเฟองในสายตาของฝายที่เคลือบแคลงในประสิทธิผลของกระบวนการดังกล่าว แต่กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ทุ่มงบ ประมาณไปแล้วราว 6,500ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมาเพื่อวิจัยและทดสอบเทคโนโลยีนี้ และเปนเวลากว่า 40ปมาแล้วที่ อุตสาหกรรมน้ำมันใช้วิธีฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกบีบอัดลงไปในบ่อ หรือแหล่งน้ำมันเก่าเพื่อดันให้น้ำมันที่ถูกกักอยู่ในหินลอยตัวขึ้นมา วิธีนี้ยังใช้กันในแถบที่ราบเกรตเพลนส์ของแคนาดาจนกลายเปนปฏิบัติการกักเก็บ คาร์บอนใต้ดินขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นับตั้งแต่ป 2000 เปนต้นมา คาร์บอนไดออกไซด์กว่า 20 ล้านตันถูกดักจับจากโรงไฟฟาแห่งหนึ่งในรัฐนอร์ทดาโคตา ซึ่งเปลี่ยนถ่านหินให้กลายเปน ก๊าซธรรมชาติสังเคราะห์ แล้วส่งไปตามท่อยาว 320 กิโลเมตรขึ้นเหนือเข้าไปในรัฐซัสแคตเชวันของแคนาดา จากที่นั่นบริษัทปโตรเลียมสัญชาติแคนาดาชื่อเซโนวุสเอเนอร์จีจะอัดฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลึกลงไปในแหล่งน้ำมันเวย์เบิร์นและไมเดล ซึ่งเปนแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ คาร์บอนได ออกไซด์ทุกๆ หนึ่งตันจะละลายน้ำมันออกมาจากชั้นหินที่กักเก็บได้ราวสอง ถึงสามบาร์เรล จากนั้น คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกฉีดกลับลงไปอีกครั้งเพื่อกักเก็บไว้ในชั้นหินลึกลงไปเกือบ 1.5 กิโลเมตรใต้ชั้นเกลือและหินดินดานคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกกักเก็บอยู่อย่างนั้นอีกนานเพียงใดแหล่งสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติบางแห่งคงสภาพอยู่อย่างนั้นมานาน หลายล้านปแล้ว แต่คาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลที่ปลดปล่อยออก มาอย่างฉับพลันอาจเปนอันตรายร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อก๊าซนั้นสะสมอัดแน่นอยู่ภายในพื้นที่จำกัด จนถึงปจจุบันยังไม่มีรายงานการรั่วไหล ครั้งใหญ่ใดๆ เกิดขึ้นที่เวย์เบิร์นซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบขององค์การ พลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency) นัก วิทยาศาสตร์ถือว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลขั้นรุนแรงถึงขั้นหายนะอยู่ ในระดับต่ำมาก พวกเขากังวลกับการรั่วไหลขนาดเล็กที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานมากกว่า เพราะนั่นอาจทำให้วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการทั้งหมดกลายเปนเรื่องไร้ ความหมาย มาร์ก โซแบ็ก และสตีเวน กอร์ลิก นักธรณีฟสิกส์จากมหาวิทยา ลัยสแตนฟอร์ด มองว่า การกักเก็บคาร์บอนเปน “กลยุทธ์ที่เสี่ยงและแพง มาก” แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็เห็นด้วยว่าคาร์บอนสามารถกักเก็บไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในแหล่งกักเก็บบางแห่ง เช่นที่แหล่งก๊าซสไลปเนอร์ใน ทะเลเหนือ ซึ่งตลอด 17 ปที่ผ่านมาบริษัทน้ำมันสัญชาตินอร์เวย์ชื่อ สตา ตอยล์ ได้ฉีดคาร์บอนไดออกไซด์ราวปละหนึ่งล้านตันลงไปในชั้นหินทรายอุ้มน้ำเกลือลึกลงไปเกือบหนึ่งกิโลเมตรใต้พื้นทะเล นักวิจัยฝงยุโรปประเมินว่า แหล่งกักเก็บใต้ทะเลเหนือสามารถรองรับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโรงไฟฟาทั่วทวีปยุโรปใน ช่วงเวลาหนึ่งร้อยปไว้ได้ทั้งหมด ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ชี้ไป ในทางเดียวกันว่า ใต้ทะเลสหรัฐฯ ก็มี “ชั้นหินอุ้มน้ำเกลือระดับลึก” ลักษณะ เดียวกัน ซึ่งสามารถรองรับปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟาทั้งหมดในประเทศในช่วงเวลากว่าหนึ่งพันปได้ ในกรณีโรงไฟฟาถ่านหิน สถานการณ์แตกต่างออกไป คาร์บอนไดออกไซด์ เปนส่วนหนึ่งของก๊าซเสียสารพัดชนิดที่ผสมปนเปกันอยู่ในควันจากปล่องไอ เสีย และบริษัทไฟฟาก็ขาดแรงจูงใจทางการเงินที่จะดักจับไว้ บทเรียนที่เมาเทนเนียร์ได้รับคือ การดักจับ (capture) เปนขั้นตอนที่แพงที่สุดของ โครงการดักจับและกักเก็บใดๆ ก็ตาม โครงสร้างระบบดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของเมาเทนเนียร์มีขนาดพอๆกับอาคารชุดสูงสิบชั้น และกินพื้นที่กว่า 30 ไร่ ซึ่งนั่นแค่เพื่อดักจับเศษเสี้ยว หนึ่งของคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่โรงงานปล่อยออกมา ขั้นตอนที่สิ้น เปลืองพลังงานอย่างยิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดสิ่งที่วิศวกรเรียกว่า “ภาระกาฝาก”ซึ่งอาจกินพลังงานถึงร้อยละ30 ของพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้จากโรงไฟฟาถ่านหินที่ดักจับคาร์บอนทั้งหมดของตนหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดการสูญเสียแสนแพงนี้ลงได้ คือการแปรสภาพ ถ่านหินให้เปนก๊าซก่อนการเผาไหม้ การแปรสภาพเปนก๊าซ (gasification) ไม่เพียงทำให้การผลิตกระแสไฟฟามีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ยังช่วยให้การแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำได้ง่ายขึ้นและราคาถูกลง โรงไฟฟาแห่งใหม่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างในเคมเพอร์เคาน์ตี รัฐ มิสซิสซิปป ออกแบบโดยตั้งอยู่บนแนวคิดในการดักจับคาร์บอนและจะแปรสภาพถ่านหินที่ใช้ให้เปนก๊าซก่อน ส่วนโรงไฟฟาที่มีอยู่ในปจจุบันซึ่งออกแบบให้เผาไหม้ถ่านหินที่บดเปนผงต้องหันไปใช้วิธีอื่นแทนแนวคิดหนึ่งคือการเผาถ่านหินในออกซิเจนบริสุทธิ์ แทนการเผาในอากาศ วิธีการนี้จะก่อให้เกิดก๊าซเสียที่ซับซ้อนน้อยลงซึ่งจะช่วยให้แยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาได้ง่ายขึ้น.
เรื่อง มิเชลล์ ไนฮัส
posted from Bloggeroid
ประโยชน์ของสีเขียว
เพื่อนๆรู้หรือไม่ว่าเจ้าผลไม้สีเขียวหลายๆชนิดมันมีคุณประโยชน์ช่วยฟื้นฟูผิวให้สวย
เช่นผลไม้จำพวกแอปเปิ้ลเขียวหรือฝรั่ง เพราะผลไม้เหล่านี้ล้วนอุดมด้วยอิลาสติน คอลลาเจน และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูผิวจากมลภาวะ ทำให้ผิวแข็งแรง มีสุขภาพดี และนอกจากนี้แล้วมันยังช่วยซ่อมแซมผิวและลดการเกิดสิวได้อีกด้วยหล่ะ....
posted from Bloggeroid
24.4.14
ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน
1. ดอกซิมปอร์ ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ดอกซิมปอร์หรือดอกส้านชะวา ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน มี กลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบ ดอกมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไป ของบรูไนมีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผลหากใครแวะไปเยือนบรูไนจะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1ดอลลาร์ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย
2. ดอกลำดวน เปนดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบแข็ง เล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นถูกจัดเปนไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเปนดอกไม้สำหรับสุภาพสตรีวิธีปลูกที่ถูกต้องต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้านที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ
3. ดอกกล้วยไม้ราตรี ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย ดอกกล้วยไม้ราตรีเปนหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุดโดยช่อดอกสามารถแตกกิ่งและ อยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปละ 2-3 ครั้งเท่านั้นทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้นจึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
4. ดอกจำปาลาว ดอกไม้ประจำชาติลาว คนไทยรู้จัก กันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่า ต้องเปนเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สี แดง หรือสีโทนอ่อนต่างๆโดยดอกจำปาลาวนั้นเปนตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยม ใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธี ต่าง ๆ รวมทั้งใช้เปนพวงมาลัยเพื่อรับแขก
5.ดอกพู่ระหง เปนดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย ใน ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกัน ทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเปน สีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอกถูกจัดให้เปนสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซียเพื่อเสริมสร้างความเปนปกแผ่นและความอดทนในชาติเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างามรวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงาม
6.ดอกพุดแก้ว ดอกไม้ประจำชาติฟลิปปนส์ ดอกมีสีขาวกลีบดอกเปนรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่น ในตอนกลางคืนถือเปนสัญลักษณ์ของความ บริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความ เข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองใน ตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟลิปปนส์
7.ดอกกล้วยไม้แวนด้า เปนดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์จัดเปนดอกกล้วยไม้ที่เปนที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปโดยถูกจัดให้เปนดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ป พ.ศ.2524
8.ดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำชาติไทยมีสีเหลืองสวยสง่างามเมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่นถือเปนสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรีซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเปนสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ
9.ดอกบัว เปนดอกไม้ประจำชาติเวียดนามโดยดอกบัวเปนที่รู้จักกันในนาม“ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ”เปนสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพันและการมองโลกในแง่ดีดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่ บ่อยครั้ง
10.ดอกประดู่ ดอกไม้ประจำชาติเมียนมาร์ เปนดอกไม้ที่พบมากในประเทศเมียนมาร์ มีสีเหลือง ทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรกช่วงเดือนเมษายนซึ่งเปนช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศ เมียนมาร์มีการเฉลิมฉลองปใหม่ขึ้นชาวเมียนมาร์เชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรงความทนทานและเปนดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวเมียนมาร์.
ที่มา -- เดลินิวส์ออนไลน์
posted from Bloggeroid
21.4.14
การละเลยสุขภาพเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์
จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่าคนสูงอายุที่ไม่ใส่ใจสุขภาพตั้งแต่ยังหนุ่มสาวมักต้องทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้าเพราะเซลล์ประสาทในสมองที่ควบคุมหน่วยความจำและการสื่อสารเสื่อม มรรถภาพ
การค้นพบล่าสุดช่วยให้แพทย์ใช้เปนเครื่องมือระบุกลุ่มของประชากรที่มีความเสี่ยงของการเกิด โรคอัลไซเมอร์ โดย ดร.เลนอเร่แห่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติรัฐแมรี่แลนด์สหรัฐอเมริกากล่าวว่าการไม่ใส่ใจสุขภาพอาจเปนสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเสื่อมสมรรถภาพของสมองในอนาคต
ในการศึกษาผู้สุงอายุ 76 ป ที่ไม่มีภาวะสมอง เสื่อมจำนวน 4,354คนโดยใช้คำถามด้านสุขภาพและความสนใจด้านอารมณ์ความรู้สึกและดูปริมาณรอยหยักในสมองเปนตัวชี้วัดของการสูญ เสียเซลล์ประสาทที่เกิดขึ้นในช่วงอายุปกติ
ทั้งนี้การวิจัยจะแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของสมองโดยสารสีเทาแทนค่าที่เกิดขึ้นในการเรียนรู้รวมทั้งความทรงจำที่ถูกเก็บไว้ในสมองส่วนสารสีขาวทำหน้าที่เปนสายการสื่อสารที่เชื่อมต่อส่วน ต่างๆ ของสมอง
การวิจัยพบว่าผู้ที่เลือกจะอยู่บ้านลดการทำกิจกรรมและมีภาวะขาดพลังงาน ร้อยละ 1.4 สมองจะมีสารสีเทาน้อยลง และร้อยละ 1.6 สีขาว น้อย
ดังนั้นการใส่ใจสุขภาพหมั่นออกกำลังกายจึงถือเปนเรื่องสำคัญและมีความจำเปนอย่างยิ่ง เพื่อสุภาพที่ดีเมื่อเวลาล่วงเลยถึงช่วงไม้ใกล้ฝง.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน
posted from Bloggeroid
ควาหมายเลขท้าย ID
ไปเจอมาลองดูกันสิว่าตรงไม๊เอ่ย?? กับความหมายของเลขท้ายบัตรประชาชนของแต่ละคน...
posted from Bloggeroid
20.4.14
19.4.14
17.4.14
14.4.14
คนขี้โมโหต้องระวัง!!
คนขี้โมโหเสี่ยงปอดพัง
คนเจ้าอารมณ์ควรระวัง เพราะผลสำรวจจากอังกฤษพบ คนขี้โมโหมีโอกาสเสี่ยงสูงเป็นของโรคปอด วันจันทร์ 14 เมษายน 2557 เวลา 00:00 น.แพทย์อังกฤษเผยผลสำรวจยืนยันทุกครั้งที่คนเรามีอารมณ์ฉุนเฉียวอากาศที่ขับออกจากปอดจะลดน้อยลง 9 มิลลิลิตร ทำให้เสี่ยงต่อการ เป็นโรคที่เกี่ยวกับปอด
ทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดสหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาสุขภาพ และวัดระดับของอารมณ์ความเกลียดชัง ด้วยวิธีที่เรียกว่า "คุ้ก เมดลีย์ สเกล" รวมทั้งดูกำลังของปอด ด้วยการวัดปริมาณอากาศที่ถูกขับออกมาในแต่ละวินาที เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินการทำงานของปอดในชายวัยกลางคน จำนวน 670 คน อายุระหว่าง 45-86 ปี มีอายุเฉลี่ยประมาณ 62 ปี โดยจัดให้มีการทดสอบกับอาสาสมัครทุกๆ 8.2 ปี ให้ได้ 3 ครั้ง หลังจากตัดปัจจัยอื่น ๆ ที่จะทำให้ปอดเสื่อมเร็ว เช่น การสูบบุหรี่ออกไป นักวิจัยพบว่า อารมณ์โมโหก็จะส่งผลต่อการทำงานของปอด เนื่องจากอัตราการเกิดความเกลียดชังใกล้เคียงกับความสามารถในการทำงานของปอด โดยผู้ที่มีความเกลียดชังหรือโมโหมากการทำงานของปอดก็ จะลดลงมากกว่าคนที่อารมณ์ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงหรือมองโลกในแง่ดีมากกว่า โดยทุก ๆระดับของอารมณ์ที่ฉุนเฉียวมากขึ้นจะทำให้อากาศที่ขับออกมาจากปอดน้อยลงไป 9 มิลลิลิตร
อย่างไรก็ตาม การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าอารมณ์เกลียดชังและโมโหมีผลเกี่ยวเนื่องกับการเกิดโรคหัวใจ โรคหอบ หืดความดันโลหิตสูง และโรคอื่น ๆ อีกมาก
ดังนั้นการมองโลกในแง่ดี คงเป็นยาดีของการลดความเสี่ยงโรคภัยไข้เจ็บได้.
ที่มา ทีมเดลินิวส์ออนไลน
posted from Bloggeroid
Subscribe to:
Posts (Atom)