18.3.12

ความทรงจำที่มีต่อโรงหนังสามพี่น้องตระกูลเอเพ็คซ์....

          ห่างหายไปนานจาก Blogger เนื่องจากการโดน Hack ไปเรียบร้อย และเนื่องจากได้พิมพ์บทความล่วงหน้าไว้หลายวันจัด พอกลับมาอีกที เพราะว่าถึงเวลาต้องลงบทความใหม่ จะเข้ามาอีกที ก็ได้หายไปจากสารบบเสียแล้ว เอาหล่ะพล่ามมานาน วันนี้เอาืไปเจอสาระดีๆ ก็เลยอดเอามาฝากไม่ได้ตามเคย เกี่ยวกับ โรงหนัง"สยาม-ลิโด-สกาล่า'' ซึ่งใกล้จะโดนทุบ เต็มที เรามารู้เรื่องกับเรื่องที่ควรรู้ และความทรงจำที่มีต่อโรงหนังสามพี่น้องตระกูลเอเพ็คซ์ทั้งสามโ่รงนี้กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง


สยามสแควร์ 

   เิริ่มจากประวัติ จุดก่อกำเนิดของโรงภาพยนตร์ อยู่ที่สยามสแควร์ จึงมีประวัติทีเกี่ยวพันก้ันมาเล่าใ้้ห้ฟังกันเล็กน้อย คือทางจุฬาฯได้บอกให้ทำโครงการพัฒนาที่ดินผืนใหญ่ 52 ไร่ ซึ่งก็คือ สยามสแควร์ปัจจุบัน  และผู้ที่ได้ทำก็โครงการนี้ก็คือคุณกอบชัย ซอโสตถิกุล ผู้ที่ได้รับสิทธิเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของจุฬาฯในตอนนั้น


คุณกอบชัย ซอโสตถิกุล 

      สมัยนั้นที่ดินย่านนั้นเป็นสวนผัก เป็นชุมชนแออัดที่เข้าไปบุกรุกที่ดินจุฬาฯ ทางคูณกอบชัยจะต้องเข้าไปทำความเข้าใจให้เขารื้อถอน ย้ายออกไป จึงสามารถเริ่มโครงการได้ แต่สร้างตึกแถวอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ทางจุฬาฯต้องการให้เป็นศูนย์การค้าเต็มรูป ตอนแรกต้องหาคนมาร่วมลงทุน แต่ไม่มีใครเอาด้วย ที่สุดคุณกอบชัยก็ต้องตัดสินใจทำเอง โดยคุึณกอบชัยได้ให้สัมภาษณ์ไว้จากบทความในเว็บของมติชน 

    “…ก็เสนอไปให้จุฬาฯพิจารณา เราออกแบบเป็นอาคารพาณิชย์ 550 หน่วย มีโรงภาพยนตร์ โรงโบว์ลิ่ง มีไอซ์สเก็ตติ้ง ดูเหมือนจะเป็นศูนย์การค้าแนวราบที่ใหญ่สุดของเมืองไทยก็ว่าได้ ทางจุฬาฯเห็นชอบ ผมสร้างตึกแถวแบบชั้นล่างเป็นที่ขายของ ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย และมีตลาด มีโรงหนัง ครบหมด คนมาซื้อของก็มาดูหนังด้วย ดังนั้น ตึกแถวที่สร้างขึ้นมาขายได้หมด…”

     “จุดเด่นของสยามสแควร์อยู่ที่มีโรงหนังถึง 3 โรง คือ สยาม และลิโด สร้างก่อน แล้วต่อมาจึงสร้าง สกาลา บริเวณโรงหนังสกาลา เดิมจะทำเป็นไอซ์สเก็ตติ้ง แต่มีปัญหา จึงเปลี่ยนมาเป็นโรงหนังแทน และได้กลุ่มเอเพ็กซ์ ของ คุณพิสิษฐ์ ตันสัจจา เข้ามารับผิดชอบ”

คุณพิสิฐ ตันสัจจา 

     จากความสามารถที่ปรากฏให้เห็นในด้านธุรกิจบันเทิงของคุณพิสิฐ จึงทำให้ได้รับการติดต่อจาก คุณกอบชัย ซอโสตถิกุล เจ้าของบริษัท เซาท์ อีสเอเซีย ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินบริเวณนี้มาปรับปรุงให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบริษัท เซาท์ อีสเอเซีย ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ออกแบบ และก่อสร้างอาคารต่าง ๆ บนที่ดินผืนนี้ และมีคุณพิสิฐ มาร่วมด้วยโดยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงภาพยนตร์ทั้งสามโรง

    เนื่องจากคุณพิสิฐ ตันสัจจา โชว์แมนคนสำคัญของเมืองไทย ในขณะนั้นหลังจากที่ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการทำโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย จากที่เคยเป็นโรงละคร มาเป็นโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ที่ทำรายได้มากมาย เป็นผู้ริเริ่มคนแรก ในการนำเข้าระบบการฉายภาพยนตร์ในแบบต่าง ๆ เช่น ระบบสามมิติ, ระบบ ทอคค์ - เอ โอ, ซีเนมาสโคป - ซีเนรามา (เลนส์เดียว), 70 ม.ม. และ ซีเนรามา ฉายพร้อมกัน 3 เลนส์ เป็นต้น


"ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม"

       เ็ป็นชื่อภาษาไทยของหนังญี่ปุ่นเรื่อง''Alway:Sunset on Third street'' ที่เข้ามาฉายในเมืองไทยในปี 2549 เป็นหนังที่ฟอร์มไม่ใหญ่นัก ฉายจำำกัดโรง แต่ฟอร์มของหนังแรงมาก จนเกิดกระแสจากปากต่อปากเรียกคนเข้าไปชมหนังเรื่องนี้กันจำนวนมาก โดยหนังเรื่อง "Always" นี้่ได้พูดถึงชุมชนแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2501 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวเองจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวละครแต่ละตัวในชุมชน ต่างอยู่ร่วมกันด้วยการพึ่งพาอาศัยกันท่ามกลางความยากลำบากของยุคสมัย  แต่ความรู้สึกของหนังกลับทำให้คนดูรู้สึกเต็มอิ่มในทุกอารมณ์ ทั้งน้ำตาและเสียงหัวเราะ...

        เหตุที่เกริ่นถึงหนังเรื่องนี้ก่อน ก็เพราะว่าโรงหนังหนึ่งที่เป็นพื้นที่จัดฉายหนังเรื่อง "Always" นั่นคือ โรงหนังลิโด ซึ่งในตอนนี้ มีข่าวว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเจ้าของพื้นที่เวนคืนพื้นที่สยามสแควร์เพื่อทำวอล์กกิ้งสตรีท ซึ่งหนึ่งในจุดที่โดนเวนคืนก็คือ โรงหนังในเครือเอเพ็กซ์อย่าง โรงหนังลิโดและสกาล่า ซึ่งจะหมดสัญญาเช่าในปี 2556 และปี 2559 ตามลำดับ ในอนาคต เป็นไปได้ว่า ตึกนี้จะโดนทุบทิ้ง เพื่อพัฒนาเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ตามที่ว่าไว้  แต่ถึงแม้ว่า วันพรุ่งนี้ โรงหนังเหล่านี้จะถูกทุบทิ้งหรือไม่ แต่สิ่งที่ไม่สลายไป ทุบทิ้งไม่ได้ ก็คือความทรงจำของคนรักหนังต่อโรงหนังในเครือเอเพ็กซ์ ที่เคยหัวเราะและร้องไห้ไปกับมัน  คงไม่ต่างจากที่เรามองเห็นกรุงโตเกียวที่แสนจะก้าวล้ำในวันนี้ แต่ก็ยังไม่เคยลืมความประทับใจของโตเกียวเมื่อ 54 ปีที่แล้ว ที่หลายคนอาจจะมีโอกาสชมผ่าน "Always" ในโรงหนังลิโด้เมื่อหลายปีที่ผ่านมา....
  
       "ชุมชน" คนรักโรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์ได้ส่งข้อความถึงโรงภาพยนตร์ที่พวกเขารักมาเป็น  ''เรื่องที่ควรรู้ และความทรงจำที่มีต่อโรงหนังเครือเอเพ็กซ์ ก่อนที่ตึกจะโดนทุบ" ในวาระที่กิจการโรงหนังเครือนี้มีอายุย่างเข้าปีที่ 46 พอดี...


1.ก่อนช่วงเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในปี 2553 โรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์มีอยู่ 3 โรงด้วยกัน ได้แก่ โรงภาพยนตร์สยาม, โรงภาพยนตร์ลิโด และโรงภาพยนตร์สกาลา ซึ่งปัจจุบัน(พ.ศ.2555) เหลือโรงภาพยนตร์ในเครือเพียง 2 โรง นั่นคือ โรงภาพยนตร์สกาลา กับ ลิโด เพราะโรงภาพยนตร์สยามถูกไฟไหม้ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553  


BATTLE OF THE BULGE

2. โรงภาพยนตร์สยาม มีจำนวน 800 ที่นั่ง เปิดฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2509 ด้วยเรื่อง "รถถังประจัญบาน" (BATTLE OF  THE BULGE) ของบริษัทภาพยนตร์ วอร์เนอร์ บราเดอร์สฯ นำแสดงโดย เฮนรี่ ฟอนด้า, โรเบิร์ต ชอว์ และเป็น โรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยที่สุด มีบันได้เลื่อนขึ้นลง เป็นแห่งแรก


BATTLE OF THE BULGE

3. ต่อมาวันที่ 27 มิถุนายน 2511 เปิดโรงภาพยนตร์ลิโด ที่นั่ง 1,000 ที่ ด้วยภาพยนตร์เรื่อง "ศึกเซบาสเตียน" (GAMES FOR SAN SEBASTIAN) ของ บริษัท เมโทร โควิลด์ฯจำกัด นำแสดงโดย แอนโธนี่ ควินส์ ฯลฯ ถึงวันนี้ โรงภาพยนตร์ลิโด แบ่งออกเป็น 3 โรงด้วยกัน คือ ลิโด 1, 2 และ 3

 "ศึกเซบาสเตียน" 

4. ตอนเริ่มก่อสร้างโรงภาพยนตร์ใหม่ๆ บริเวณสยามสแควร์ ยังไม่มีร้านค้าใดเลย สมัยที่โรงภาพยนตร์โรงแรกเสร็จ ยังต้องส่งปิ่นโตให้กับพนักงานทาน เพราะแถวนี้ไม่มีร้านอาหารเลย จะต้องไปไกลถึงสามย่าน ซึ่งสมัยนั้นกว่าจะถึงสามย่าน ก็ต้องใช้เวลานานมากมีรถเมล์น้อยสาย ไม่ทันที่จะกลับมาทำงาน ตามรอบได้ทันเวลา

โรงภาพยนตร์สกาลา

5. น้องสุดท้องของโรงหนังเครือเอเพ็กซ์ คือ เปิดโรงภาพยนตร์สกาลา จำนวนที่นั่ง 1,000 ที่ โดยประเดิมในวันที่ 31 ธันวาคม 2512 เปิดฉายภาพยนตร์เรื่อง  "สองสิงห์ตะลุยศึก" นำแสดงโดยจอห์น เวนย์, ร็อค ฮัดสัน  และ ไท ฮาดีน ฯลฯ เป็นโรงภาพยนตร์ซีเนรามาที่สมบูรณ์ขั้น มาตรฐานโลก แห่งที่ 3 ณ บริเวณศูนย์การค้าแห่งนี้



6. สมัยนั้นค่าชมภาพยนตร์ราคาตั้งแต่ 10 บาท 15 บาท สูงสุด 30 บาท แต่มาถึงวันนี้ 100 บาทขาดตัว

7. โรงภาพยนตร์ "สยาม" เดิมทีเดียว ตั้งใจจะใช้ชื่อว่าโรงภาพยนตร์ "จุฬา" แต่มีผู้ใหญ่คัดค้าน เข้าใจว่าจะเป็นม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช บอกว่าเป็นชื่อของ พระมหากษัตริย์ และเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย ไม่สมควรจะใช้ชื่อเดียวกัน จึงเปลี่ยนเป็น "สยาม"

8. โรงภาพยนตร์ทั้ง 3 โรงนี้ เป็นผู้นำในการจัดฉายภาพยนตร์เพื่อการกุศล โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น รายได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยทูลเชิญเสด็จล้นเกล้า ทั้งสองพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินรอบปฐมทัศน์อาทิ เช่น เรื่อง "OLIVER" และเรื่อง "HELLO DOLLY" และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จรอบปฐมทัศน์ รายได้สมทบทุน "ประชาธิปก" ภาพยนตร์เรื่อง "LOST HORIZON" ฯลฯ

9. การโฆษณาให้คนรู้จักโรงภาพยนตร์ทั้ง 3 มากขึ้น ทางผู้บริหารโรงภาพยนตร์ได้จัดพิมพ์หนังสือซึ่งเรียกว่า "สูจิบัตร" ข่าวภาพยนตร์ขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2513 เรียกตุลาบันเทิง เพราะในสมัยนั้น จัดว่าเป็นโรงภาพยนตร์ที่โก้ที่สุดในเมืองไทย สูจิบัตรนี้แจกฟรีกับผู้ที่มาดูภาพยนตร์ จะมีข้อมูลทุกอย่าง ออกเป็นรายเดือนเล่มใหญ่ มีเนื้อหาสาระมากเกี่ยวกับภาพยนตร์

10. คำว่า "สยามสแควร์" ที่เป็นที่รู้จักกันมาจนทุกวันนี้ มาจาก กอบชัย ซอโสตถิกุล  “ชื่อของ สยามสแควร์ มาจากผม” กอบชัย เริ่มต้นสั้นๆ ตรงเป้า แล้วจึงอธิบายว่า ตอนนั้นมี ศูนย์การค้าราชประสงค์ ย่าน วังบูรพา เกิดขึ้นมาแล้ว ย่านเหล่านั้นแออัด คนจึงขยายมาซื้อที่ปทุมวัน ผมสร้างตึกแถวแบบชั้นล่างเป็นที่ขายของ ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย และมีตลาด มีโรงหนัง ครบหมด เราขึ้นป้ายโครงการ ปทุมวันสแควร์ เพราะอยู่อำเภอปทุมวันมี พล.อ.ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในตอนนั้นเป็นประธานวางศิลาฤกษ์  พอทำมาสักพักเกิดความรู้สึกว่าชื่อ ปทุมวันสแควร์ มันเล็ก มันแค่อำเภอ ก็เลยเปลี่ยนเอาชื่อประเทศเลยดีกว่า ใหญ่ดี ตกลงชื่อ สยามสแควร์ แทน และบังเอิญฝั่งตรงข้ามเขากำลังสร้างโรงแรมสยามอินเตอร์-คอนติเนนตัล เลยมีชื่อสยามเหมือนกัน แต่ชื่อของเราเปลี่ยนก่อน ของโรงแรมซึ่งตอนแรกใช้ชื่อ บางกอกอินเตอร์-คอนฯแล้วเปลี่ยนเป็นสยาม เลยไม่รู้ว่าใครเปลี่ยนตามใคร…” สยามสแควร์ จึงปรากฏแทนปทุมวันสแควร์ตั้งแต่นั้นมา...
(ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕)

11. ในหนังสือสูจิบัตร ข่าวภาพยนตร์นี้เอง นักเขียนที่เขียนลงในหนังสือเล่มนี้ก็อย่างเช่น สันตศิริ หรือครูสงบ สวนสิริ, ประมูล อุณหธูป, วิลาศ มณีวัตร, บัวบาน, สุจิตต์ วงษ์เทศ, สายัณห์ แห่ง เดลินิวส์, ขรรค์ชัย บุนปาน, เวทย์ บูรณะ, ประจวบ ทองอุไร ฯลฯ

12. ในยุคหนึ่ง โรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์จะเป็นผู้นำสมัยในเรื่องระบบการฉายภาพยนตร์อยู่เสมอ อย่างเช่น การติดตั้งระบบ "DOLBY DIGITAL" ก่อนผู้อื่น ซึ่งที่ถือว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดในสมัยนั้น

13. โรงภาพยนตร์ทั้ง 3 แห่ง นอกจากจะเป็นผู้นำระบบต่าง ๆ แล้วยังมีความเป็นผู้นำในการทำร้านเล็ก ๆ เพื่อให้คนรุ่น ใหม่ที่มีทุนน้อยเริ่มทำงานใหม่ เริ่มต้นจากการเช่าร้านเล็ก ๆ จากใต้ถุนโรงภาพยนตร์ จนมาถึงทุกวันนี้ก็ยังมีร้านค้าเล็กมากมายรายรอบ
(ข้อ 2-13 ข้อมูลจาก www.apexsiam-square.com)

"พันธุ์หมาบ้า"

14. ย่านโรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์เป็นที่นัดพบของผู้คนในทุกยุคทุกสมัย แต่วรรณกรรมที่พูดถึงสถานที่แห่งนี้ได้ชัดเจนที่สุดคือเรื่อง "พันธุ์หมาบ้า" ของนักเขียนชื่อดังอย่าง "ชาติ กอบจิตติ" (รวมเล่มครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2531)โดยตัวละครในเรื่องใช้ย่านนี้เป็นจุดนัดพบและทำธุรกิจเครื่องหนัง อันเป็นแรงบันดาลใจให้ดาราอย่าง หนุ่ม-อรรถพร ธีมากรและเพื่อนฝูง ลงทุนเปิดแบรนด์เสื้อผ้า "พันธุ์หมาบ้า"(Phanmaba) ตรงชั้นสองของโรงหนังลิโดในทุกวันนี้

15. โรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์เป็นโรงภาพยนตร์สแตนอะโลน
(ฉายหนังเพียงอย่างเดียว) ที่มีชื่อเสียงในการนำหนังดีนอกกระแสมาฉาย อันที่จริง ทาง "เอเพ็กซ์" ได้เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ก็ฉายหนังทั่วไป จนเมื่อปี 2545 ได้มีโครงการ APEX Exclusive ขึ้นมาซึ่งได้ทดลองจัดฉายหนังอิหร่านเรื่อง Children of Heaven ปรากฏว่าได้รับเสียงตอบรับที่ดี จากคนทั่วไปที่ชอบหนังทางเลือก ทางโรงหนังจึงจัดฉายหนังทางเลือกควบคู่กับหนังกระแสหลักตั้งแต่นั้นมา


16. ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดสามอันดับแรกของเครือเอเพ็กซ์ในยุคที่เริ่มฉายหนังนอกกระแส ได้แก่ อันดับหนึ่ง ภาพยนตร์รางวัลออสการ์ Slumdog Millionaire ประมาณ 3 ล้านบาท อันดับ 2 Be With You เกือบ 3 ล้านบาท และอันดับ 3 Nana ภาค 1 ประมาณ 2 ล้านกว่าบาท

17. ภาพยนตร์ในยุคหนังนอกกระแสที่เข้าฉายในเครือเอเพ็กซ์ได้นานที่สุดคือ ภาพยนตร์เรื่อง Be With You ที่เข้าฉายนานถึง 3 เดือน ในช่วงกลางปี 2548

18. นอกจากภาพยนตร์รางวัลออสการ์ซึ่งเข้าฉายในเครือเอเพ็กซ์เป็นประจำแล้ว ภาพยนตร์ที่ถูกฉายบ่อยและกลายเป็นอีกหนึ่งลายเซ็นของที่นี่ไปแล้ว คือ ภาพยนตร์ญี่ปุ่น ที่พูดถึงกันเยอะๆก็อย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Nana, Tokyo Tower, Always : Sunset on Third Street, Be With You, Nada Sou Sou, The Village Album, Knowbody Knows หรือที่ฉายอยู่ตอนนี้ก็คือ I Wish เป็นต้น

19.  "เด็กบ้านนอกคนนึง ถูกปรามาสว่าดูหนัง soundtrack ไม่เป็นหรอก ตอนซื้อตั๋วเห็นฝรั่งอยู่ข้​างๆ ไอ้เราก็กลัวจะดูไม่รู้เรื่​อง กลัวอ่านซับไม่ทัน แต่ก็สักครั้งในชีวิต เพื่อลบคำสบประมาส พอหนังขึ้นเท่านั้นแหละ ฝรั่งก็ฝรั่งเถอะ...เพราะหนังเรื่องนี้ เป็นหนังญี่ปุ่น เสียดายจังถ้าถูกทุบ เพราะเป็น 1 ใน 3 โรงที่ดู (ลิโด้ สกาล่า สยามที่หายไปแล้ว)" 
(จาก Cookie Kokkok)

20. โรงภาพยนตร์สยามเคยต้อนรับภาพยนตร์ไทยรางวัลเมืองคานส์อย่าง "สัตว์ประหลาด" ผลงานกำกับของ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ซึ่งได้รับรางวัล Jury Prize หรือรางวัลขวัญใจกรรมการ ซึ่งเข้าฉายที่นี่ 10 วัน

21. ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ฉายที่โรงภาพยนตร์สยามก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ คือ เรื่อง "Iron Man" ภาค 2

22. โปรโมชั่นอมตะของโรงภาพยนตร์โรงนี้ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาหลายปีแล้ว นั่นก็คือ ตั๋วหนังราคา 100 บาท ทุกครั้งที่ดูสามารถปั๊มตราโรงหนังที่บัตร "เอเพ็กซ์ เอ็กซ์คลูซีฟ มูฟวี่ ไมลีก" ได้ 1 ดวง ครบ 10 ดวง ดูฟรี 1 เรื่อง สะสมบัตร "เอเพ็กซ์ เอ็กซ์คลูซีฟ มูฟวี่ ไมลีก" ได้ 10 บัตร ดูได้ฟรีอีก 1 เรื่องต่างหาก

"เอเพ็กซ์ เอ็กซ์คลูซีฟ มูฟวี่ ไมลีก"

23. โอเปอเรเตอร์ที่คอยรับสายโทรศัพท์ก็เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของที่นี่ เพราะนอกจากจะเต็มไปด้วยมุกฮาเวลาสนทนากับลูกค้าที่จะมาดูหนังแล้ว ยังเต็มไปด้วยความเอาใจใส่คนดูหนังจนได้รับคำชมอย่างหนาหู

24. "ครั้งนึงเคยโทรไปถามตารางหนัง ลุงคนรับสายแกถามก่อนเลยว่า​บ้านอยู่ไหน แล้วอยากดูหนังเรื่องอะไร ผมจะได้ช่วยกะเวลาเดินทางไ​ด้ถูก คุณจะได้ไม่ต้องกระหืดกระหอ​บเหนื่อยมาดูหนัง นี่แบบ..ได้ใจเต็มๆ อะ เป็นห่วงลูกค้าด้วย :D พี่เลยลองถามหนังเรื่องอื่น​ด้วยว่าฉายกี่โมง เนื้อเรื่องอะไรยังไง คนดูเยอะมั้ย ลุงก็ตอบได้ครบถ้วนแถมคุยสนุกด้วย สุดยอดประทับใจเลย" 
(จาก Sutthasinee Jit)

25. "ตอนผมเข้าเรียนปี 1 เขาก็กำลังไล่รื้อตึกแถวบริเวณส​ามย่านกันพอดี ผมยังทันได้ชิมร้านข้าวร้านขนมข​องอาแป๊ะอาซิ้ม ที่ตั้งกันมานานหลายสิบปี ยังจำรสชาติอร่อยล้ำได้จนถึงทุก​วันนี้ หลังจากนั้นไม่นานร้านค้าและตึก​แถวก็กลายเป็นแท่งปูนมหึมาตั้งขึ้นมาตรงสามย่าน และเขาก็หยุดสร้างกันไปนานหลายปี เพราะเหตุวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 40 จนเพิ่งกลับมาสร้างกันต่อ และเสร็จสมบูรณ์กลายเป็นจามจุรี​สแควร์ติดแอร์เย็นฉ่ำ ความเปลี่ยนแปลงในแง่หนึ่งมันก็​นำไปสู่สิ่งใหม่ที่พัฒนาขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน มันทำลายสิ่งเก่าที่มีคุณค่าในตัวไปหมดเกลี้ยง" 
(แอดมินของเพจ "กลุ่มคนชอบดูหนังที่โรงเอเพ็กซ์สยามสแควร์")

   

จามจุรีสแควร์

26.  "ผมเคยไปเดินกล่องรับบริจาคส​มัยเป็นลูกเสือวัดสุทธิวราร​ามครับ จำได้ว่าดู ′เกรมลินส์ ปีศาจแสนซน′ (ฟีบี้ เคทส์ - นางเอก) ราวเจ็ดสิบรอบ 5555 เป็นโรงหนังที่คนดูควงคู่กั​นมาชมภาพยนตร์จริงๆ นะครับ ไม่ค่อยเห็นมาทำประเจิดประเ​จ้อเหมือนสมัยนี้ (ทีรู้ก็เพราะตอนนั้นกำลังอ​ยู่ในวัยสอดรู้สอดเห็นมาก)" 
(จาก Ponchai Tiger Nawakanpisut)

เกรมลินส์ ปีศาจแสนซน

27. ว่าด้วยพี่เดินตั๋วหนัง..."หนังดีๆ โรงมีสไตล์ ไม่แพง คนเดินตั๋วเป็นมิตรเหมือนญา​ติ'' เสียดายครับ เข้าใจว่าทุกอย่างเปลี่ยนไป​ตามกาล แต่เสียดายแทนคนรุ่นที่โตมา​กับสยามจริงๆ"
(จาก Ajiravudh Subarnbhesaj)

28.  "เป็นโรงที่ไปดูคนเดียวอย่าง​ชิวที่สุด คุณลุงชุดเหลืองและพนักงานข​ายตั๋วน่ารักมาก เพื่อนร่วมโรงส่วนใหญ่ก็มีม​ารยาท ไม่ค่อยเจอพวกนิสัยเสียในโร​งหนัง(ที่หลังๆเจอบ่อยมากเว​ลาดูเครืออื่น) เจอแต่คนชอบดูหนังที่ตั้งใจ​มาดูจริงๆ :′)" 
(จาก Chompunud Phiromjit)

City of God

29. "ผมเริ่มดูหนังนอกกระแสเรื่อ​งแรกๆของชีวิต คือ City of God ที่ลิโด้ ครับ ... หลังจากนั้น ผมก็แทบจะดูแต่หนังนอกกระแส​และหนังฟอร์มเล็กตลอดครับ ... ลิโด้ จึงเป็นจุดเริ่มที่ทำให้ผมเ​ปลี่ยนมาดูแต่หนังนอกกระแสแ​ละหนังฟอร์มเล็กครับ :)" 
(จาก Chompot Kasemrungchaikit)

30. "ที่สกาลา จำได้ว่า ซอยข้างโรงหนัง มีก๋วยเตี๋ยวเจ้าอร่อย พร้อมร้านขายน้ำต้นตำรับวลี​ทีเด็ดในการตั้งชื่อเมนู เช่น วารีกระด้างพล้อย (น้ำแข็งเปล่า) ฯลฯ อะไรประมาณนี้
(จาก Nozebook Janesak)"

31. "แนะนำร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊ติม (ก๋วยเตี๋ยวกวน teen) ที่ศูนย์อาหาร 1 ร้านแรกติดกับสกาล่า ลองไปคุยดูเผื่อได้อะไรดีๆ เพราะขายมานานมากแล้ว . . . รสชาติพอใช้ได้ ได้เยอะ ลีลาการรับออร์เดอร์ คิดเงินกวนเหลือรับประทาน ^_^"
(จาก นิ้งหน่อง ดีเจบ้านนอก)

32. สมัยก่อน ที่นี่เป็นสถานที่ที่วัยรุ่นมานัดเดทกันเป็นประจำ จนถึงวันนี้ก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่...

 "คุณพ่อเล่าว่าสมัยก่อนคนที่มาดูหนังที่สามโรงนี่เป็นพวกเด็กเตรียมอุดม(คุณพ่ออยู่เตรียมฯ) เด็กช่างกล แล้วก็เด็กจุฬาซะเยอะ คุณพ่อไปดูหนังก็ต้องซื้อขนม ซื้อข้าวโพดคั่วเป็นของคู่โรงหนัง แล้วก็แถวนั้นก็จะมีโรงโบลลิ่งด้วยที่ชอบไป รุ่นคุณป้าคนที่สามก็ไปเดทที่โรงหนังนี่เหมือนกัน แต่ถ้าเลยขึ้นไปรุ่นคุณลุงคนที่ 1 คนที่ 2 เค้าจะเดทกันที่โรงหนังคิงส์ ควีน (อีกชื่อปาล์มจำไม่ได้) แถววังบูรพามากกว่า''

"ส่วนคุณแม่เล่าว่าคนสมัยก่อนชอบไปดูหนังกัน เพราะมันไม่มีพวกวิดีโอ หรือแผ่นหนังให้ดูเหมือนคนสมัยนี้ แล้วหนังแต่ล่ะเรื่องก็รู้สึกว่าเค้าลงทุนทำดีมากอย่างพวก My Fair Lady, The Sound of Music ซึ่งถ้าหนังดีมาก คุณลุงก็จะพาน้องๆ ไปดู แต่ก็ไม่ได้ไปแค่สามโรงนี้ ยังไปพวกโรงหนังอินทรา โรงหนังเอเธนส์ ซ. รางน้ำ จำได้ว่าดู Fiddler on the Roof ที่โรงหนังแอมบาสซาเดอร์ตรงสะพานขาวด้วย''

"พูดถึงสามโรงหนัง ก็ถือว่าเป็นโรงหนังที่เลือกหนังเข้ามาฉายได้ดีขึ้นชื่อ และเป็นโรงหนังที่ใหญ่และทันสมัยมากในยุคนั้น หนุ่มสาว"ทุกคู่" ต้องไปดูหนังเดทกันที่นี่ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ แล้วร้านรวงก็ไม่ได้มากเหมือนสมัยนี้ คุณแม่จำได้ว่าที่เด่นๆ มีร้านไข่บูติกของสมชาย แก้วทองอยู่ที่โรงหนังสยามด้วยค่ะ" 
(จาก Preeyapa ′Palmy′ Temcharoen)

The Sound of Music

33. "มาดูกะแฟนคนแรก..และก็มาดูกับแฟนคนสุดท้าย..ซึ่งก็เป็น​คนเดียวกัน..(ก็ชาตินี้มีแฟ​นอยู่คนเดียวนี่นา..(^^)" )
(จาก พรสุข คงเอี่ยมพิธี)

34. แถวๆหน้าโรงภาพยนตร์ มีที่นั่งที่ซึ่งหลายคนใช้เป็นที่อ่านหนังสือ..."ที่นี่มันเป็นหลาย ๆ อย่างของเรา เป็นที่ออกเดต เป็นที่พบปะสังสรรค์กับเพื่​อน เป็นที่ที่เราใช้ฝึกการดูหนังในเชิงประเด็น/​เนื้อหา และเป็น "สวนสาธารณะ" ที่เราสามารถไปนั่งสงบจิตใจ ผ่อนคลายร่างกาย หรืออ่านหนังสือได้อย่างสงบ​ท่ามกลางโปสเตอร์หนังที่เรี​ยงรายอยู่รอบ ๆ" (จาก Pongpreeda Limwatthanakun)

35.  "เป็นโรงหนังเครือเดียวที่พี่คนขายตั๋วไม่ทำหน้าตกใจเวล​าบอกว่า เอาใบเดียวค่ะ หรือสรุปเอาเองว่าสองใบนะ เพราะลิโด้เป็นโรงหนังสำหรั​บนักดูหนัง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำได้ลำพังแม้ไม่มีเพื่อนดูด้วย วันนึงไปดูหนังนอกกระแส ที่ทั้งโรงมีคนดู 4 คน คู่นึงมาดูด้วยกัน เหลือมาดูคนเดียวแค่ 2 คน สุดท้ายก็เลยย้ายที่นั่งมานั่งดูข้างกันค่ะ ได้มิตรภาพกลับไป ^ ^" 
(จาก RomchatWachirarattanakornkul)

36. ร้านหนังสือดวงกมล สยามสแควร์: เมื่อกว่า 20 ปีก่อน ร้านหนังสือดวงกมลสยามสแควร์ ถือเป็นหนึ่งในร้านหนังสือรุ่นแรกๆของเมืองไทยที่หนอนหนังสือต้องไปแวะเวียน ร้านประกอบด้วยสามชั้น ชั้นล่างจะเป็นหนังสือประเภทเรื่องสั้น วรรณกรรมแปล นิตยสารและหนังสือพิมพ์ ชั้นสองและสามจะเป็นหนังสือวิชาการ และหนังสือจากต่างประเทศร้านหมึกจีน ถ้าเป็นคอการ์ตูน ก็จะทราบกันดีว่าต้องเดินตรงไปด้านหลังของโรงหนังลิโด้ ร้านนี้เป็นแหล่งรวมหนังสือการ์ตูนหลากหลายประเภท ที่มากที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งจากของสำนักพิมพ์หมึกจีนเองและเจ้าอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีหนังสือประเภทนวนิยายให้บริการแก่ลูกค้าอีกด้วย

37. "ป็อปคอร์น30บาท อร่อยที่สุด (^^)
(จาก Yim P. Charuphan-ngam)"

38. วัยรุ่นสมัยก่อน มักจะรวมตัวกันที่โรงพิมพ์เล็กๆหลังลิโด ก่อนที่จะไปดูหนังกัน ซึ่งคล้ายกับวัยรุ่นสมัยนี้ โดยเฉพาะเด็กมัธยมฯที่มักจะรวมตัวกันด้านหลังลิโดเช่นกัน

39. รำลึกความหลัง..."กรุงเทพครั้งแรก...กับโรงหนัง ลิโด้ สำหรับคนต่างจังหวัด ที่มีแต่หนังกลางแปลง แค่นี้ ก็อยู่ในความทรงจำตลอดกาล หนังเรื่องนั้น คือ "superman" "(จาก Attapon Srihayrun)

40. "โดดเรียนครั้งแรกตอนม.ต้น เพื่อไปดูหนังเรื่อง"รองต๊ะ​แล่บแปล๊บ"ค่ะ ^___^" (จาก Nuch Nuch Wan)

41. แอนิเมชั่นจากแดนญี่ปุ่นก็ฉายที่นี่เป็นประจำ..."เคยดูเรื่อง ponyo เมื่อปี 2008 ชอบเก้าอี้ สไตล์เก่าๆ ทำให้นึกถึงโรงหนัง ตจว. คิดถึงสมัยที่ยังไม่มีเมเจอ​ร์ sf" (จาก ′Gabby Evilimp)

Ponyo

42.  "สยาม ลิโด สกาล่า ในความทรงจำ... มิสเตอร์โดนัทสาขาแรกตรงข้า​มสกาล่า .. ร้านป้าที่ขายอาหารเครื่องดื่มให้เด็กจุฬากับเกรียนยุค​นั้นก๊งเหล้า ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าของ MK สุกี้... ร้านขายชุดเด็กเลดี้เบิร์ดต​รงข้างลิโดอันแสนคลาสสิค...​ ฝั่งเซ็นเตอร์ก็ Hi-light ที่มืดตึ๊ดแม้ในตอนกลางวัน มุมเก้าอี้โซฟาแบบเรโทรที่เ​กรียนยุคนั้นใช้สูบบุหรี่กิ​นเหล้า.. กับแฟชั่นแบบโดมอนแมน เทมโปโป้.. และอื่นๆอีกมากมาย" (จาก Thai Land)

43. "ที่นี่เคยจัดฉายเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ในช่วงปี 2545-2548 ด้วยนะ "ตอนนั้นอยู่​ ม.5 ได้ไปดูหนัง international film fest (ไม่รู้จำชื่อถูกเปล่า) พอเข้ามหาลัยก็ไปเรียนที่เชียงใหม่ แต่ลงมากรุงเทพทีไรต้องไปดู​หนังที่ลิโด้ให้ได้ จนจบแล้วทำงานแล้วก็ยังเป็น​แบบนี้่อยู่ หลังๆ เพิ่งรู้สึกตัวว่าลิโด้เป็น​ที่นึงในกรุงเทพที่ผมไปแล้ว​รู้สึกสงบ เหมือนกลับไปมหาลัยหรือกลับ​ไปโรงเรียนเก่า" (จาก Ronnawat Janjaruwong)

44. "เรียนอยู่ย่านๆนี้ หลังเลิกเรียนก็มีแต่สยามสแ​ควร์นี่แหล่ะที่เป็นที่สุมหัว ดูหนังก็ต้องลิโด้ สกาล่า ตั้งแต่สตาร์วอร์ภาคแรก ๆ เสิ้อผ้าก็ต้องไข่บูติค เดินได้ทุกวัน สมัยนั้นยังไม่มีมาบุญครอง" 
(จาก Plearn Siri)

45. "ความประทับใจของฉัน คือ เคยเจ้าหน้าที่ออกตั๋วให้ผิด เราก็ไม่ได้เช็ค แต่คุณพี่เสื้อเหลืองในโรงพาเราออกมาและคุยกะเจ้าหน้าที่เพื่อเปลี่ยนตั๋วแถมเดินมาส่งเราถึงหน้าโรงที่ถูกต้องอีกอย่างคือ บัตรสะสมแต้มของเอเพ็กซ์ เป็นอะไรที่เรารักมาก เป็นของไม่กี่อย่างในกระเป๋าที่เราเก็บสะสมแต้ม ดูครบ 10 ครั้งแถม 1 ครั้ง ไม่มีกำหนด เรา เคยใช้สิทธ์ สะสมครบ 10 ใบ ฟรี ตั๋ว 2 ที่นั่งมาแล้ว ทุกครั้งที่ครบจะรู้สึกดีมาก แถมบัตรก็มีลวดลายเปลี่ยนไปเรื่อยๆ"

46.  "ดูหนังที่นี่หลายเรื่อง มานั่งแฮงก์บ่อยสมัยที่สยาม​ยังมี hoburger เป็นอาหารแรกด่วนรุ่นบุกเบิ​ก แบบว่า ฟาสต์ฟู๊ดส์อย่างแม็กโดนัลด์ยังมาไม่ถึงเมืองสยาม แต่ถ้าวัยรุ่นจริงๆ สมัยนู๊นนน เขาต้องนัดกันที่ "ดังกิ้นโดนัท" แต่ถ้าเอาเก่ารุ่นจิ๊กโก๋ขา​เดฟ ต้องถามพี่ๆ ที่ไปดูคอนเสิร์ตรอบเช้า(ก่​อนหนังรอบปกติฉาย) วงดังสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็น รอยัลสไปรท์, แม็คอินทอช ฯลฯ ล้วนเคยเปิดคอนเสิร์ตในสกาล่า กันมาแร้วทั้งนั้น 555"(จาก Sompratana Kraywichian)

47. และแต่ก่อนแสงสว่างรอบ ๆ โรงภาพยนตร์ จะต้องใช้ไฟของโรงภาพยนตร์ต่อไปใช้ตามที่จอดรถ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาชมภาพยนตร์รอบค่ำ

48. ่จากข้อสังเกตุ สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้โรงภายนตร์เก่าทั้งสามโรงสามารถยืนหยัดอยู่ได้จนถึงปัจจุบันท่ามกลางการล้มหายตายจากของเพื่อนๆ โรงภาพยนตร์หลายต่อหลายโรงในอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน รวมถึงจากการผุดชึ้นของโรงภาพยนตร์ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ นอกจากจะเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้คงความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา อาทิ ในเรื่องของระบบการฉายต่างๆ

49. โรงหนังทั้งสามโรง มีเรื่องของความมี “เอกลักษณ์” ทั้งในส่วนของรูปแบบการก่อสร้าง การอนุรักษ์ไว้ซึ่งบรรยากาศเดิมๆ เช่น เครื่องแต่งกายของพนักงาน บรรยากาศ ฯ รวมไปถึงในส่วนของการเป็นโรงภาพยนตร์ “ทางเลือก” ที่มีการจัดโปรแกรมฉายหนังที่หลากหลาย และแตกต่างไปจากโรงภาพยนตร์หลักๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญไม่แพ้กัน.....

50. เวลาไปดูหนังที่ลิโด และสยาม ไม่รู้ว่่าจะรู้สึกเหมือนกันหรือเปล่าว่า เรามักจะรู้สึกแบบว่าถึงมีคนดูแค่ไม่กี่คนแต่เรากลับจะรู้สึกว่าทุกคนในนั้น เป็นเพื่อนกับเรา ซึ่งต่างจากการดูในโรงใหญ่ๆที่ดังๆและทันสมัยในหนึ่งรอบมีคนดูเยอะๆ แต่ถ้าเราไปดูคนเดียวเราก็ยังคงรู้สึกว่าเราอยู่คนเดียว...

51. Spring, Summer, Fall, Winter and Spring (29/01/2004) ของคิมคีด็อค เป็นอีกหนังเทศกาลที่ฉายที่นี่ เป็นประสบการณ์ดูหนังที่สวยงาม เพราะความน่าประทับใจคือ หลังจากหนังจบ ผู้ชมก็พากันลุกขึ้นยืน และปรบมือให้กับหนัง นั่นคือคำว่า Standing Ovation 

52. ใน 3 โรงนี้ สกาลา ใหม่สุด คือถ้าจะจำได้คือ อีเวนท์ ที่คนจัดหนังรอบพิเศษเช้ามืดจริงๆ คือ เช้ามืด 6 โมง มีดนตรีก่อน ซึ่งตอนนี้มันไม่มีแล้ว-(ชลิดาภรณ์)

53. เมื่อก่อน สกาลาก็มีร้านอาหารด้านล่าง ถือว่าหรูมาก แล้วสยาม ก็เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจเรื่องที่จอดรถ ขณะที่ก่อนหน้านั้น รุ่นพ่อรุ่นแม่เรา ไปเที่ยวบางลำพู ยศเส มีตลาดโรงหนัง  แต่ย่านเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์ ก็ไม่เหลือแล้ว กลายเป็นอะไรใหม่หมด-(พรรษิษฐ์)

54. และในความเป็นจริงแล้ว หนังก็ไม่ได้ทำเงิน แต่ต้องยอมรับว่าผู้ประกอบการ (ตระกูลตันสัจจา) พื้นเพเดิมเขาทำธุรกิจเกี่ยวกับหนัง รู้สึกว่าเขาสร้างหนังด้วย ไม่ได้มีรายได้เพียงแต่ค่าตั๋วโรงหนัง เป็นตระกูลเก่าที่ก็มีเงิน เพียงแต่ตอนหลังๆ โรงหนังเปลี่ยนแปลงไปนับตั้งแต่ไฟไหม้ลิโด โดยปรับปรุงใหม่ และส่วนที่ทำเงินก็คือ ช็อปปิ้งพลาซ่าข้างล่าง  แล้วให้เช่าร้านค้าเปิดหน้าร้านออกตรงซอยทางเดิน ตรงกลาง นั่นคือแหล่งทำรายได้ของทั้งลิโด และสยาม ทำใ้ห้โรงหนังอยู่มาได้จนถึงทุกวัีนนี้

55. เมื่อก่อนแบรนด์ร้านอาหารที่เป็นไอคอน ก็จะมาเริ่มที่สยาม นอกจากเตรียมมาดูหนังที่โีรงหนังสยามแล้ว ก็เตรียมการมารับประทานอาหาร เพราะก็ไม่ได้มีมาก ตั้งแต่ปี 1990 ถึงตอนนี้สังคมไทยเปลี่ยนมาก ค่อนข้างพลิกหมด กลายเป็นฟาสต์ฟู้ด ผิดกับแต่
เมื่อก่อนเหมือนเป็นอาหารไอคอนของโลกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นโดนัท หรือแฮมเบอร์เกอร์ ในสมัยเด็กๆ....

แต่ตอนนี้คงไม่มีแล้วหล่ะ นอกจากความทรงจำดีๆทีจดจำกันไ้ว้ ซึ่งอาจจะมีหลงเหลืออยู่บนเเผ่นภาพเก่าๆ ที่อาจหลงเหลือให้เด็กรุ่นใหม่ได้เห็นกันบ้าง....