7.4.12

ประวัติของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู



       วันนี้เอาประวัติของศาสนาพราหมณ์และฮินดูมาฝากซึ่งอาจจะยาวนิดนึง เพราะช่วงนี้ไปใหนก็มีแต่คนพูดถึงว่าอยากไปสักการะพระพิฆเนศที่นู่นบ้าง ที่นึ่บ้่าง ก็เลยอยากรู้ถึงประัวัติทีมาและ ที่ไป ที่เกิดของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูขึ้นบ้าง เอาหล่ะเรามาเริ่มดูกัีนเลยดีกว่า

กำเนิดของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

     ในสมัยโบราณแรกเริ่มเดิมที ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เรียกว่า “สนาตนธรรม” แปลว่า “ศาสนาสนาตน”

     คำว่า “สนาตน” นี้ หมายถึง “เป็นนิตย์” คือ ไม่สิ้นสุด ไม่รู้จักตาย เรื่อยๆ  เสมอๆ นอกจากนี้น คำว่า “สนาตน” ยังแปลได้อีกอย่างนึ่งในเมื่อแยกพยางค์ออกแล้ว คือ สนา แปลว่า ไม่รู้จักตาย หรือ เป็นนิตย์ กับ ตน แปลว่า กาย เมื่อรวมกันเข้าแล้วแปลตามศัพท์ หรือ แปลโดย พยัญชนะว่า กายอันไม่รู้จักตาย แปลเอาความหมายถึง พระวิษณุ หรือกายอันไม่รู้ตายกล่าวคือ พระวิษณุ เพราะฉะนั้น สนาตนธรรมนี้จึงเรียกได้อีกอย่างว่า วิษณุธรรม คือ คำสั่งสอนของพระวิษณุเป็นเจ้า นั่นเอง

     ครั้นเวลาล่วงมาหลายปันปี ศาสนานี้ได้มีชื่อเรียกกันต่อมาว่า “ไวทิกธรรม” คือ ธรรมที่ได้มาจากพระเวท ความจริงพระเวทก็คือ คำสั่งสอนของพระวิษณุเป็นเจ้านั่นเอง

     หลายพันปีต่อมา มีผู้ตั้งชื่อให้สานานี้ใหม่ว่า “อารยธรรม” ซึ่งแปลงว่า ธรรมอันดีงามก็ได้ ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงานก็ได้ รวมความว่าเป็นหลักธรรมอันเจริญ อันดีงานทั้งสิ้น

     ครั้นเวลาล่วงมาอีกหลายพันปี ศาสนาสนาตนธรรมนี้ เปลี่ยนไปเรียกกันว่า “พราหมณธรรม” ซึ่งแปลว่า คำสั่งสอนของพราหมณ์ ในสมัยนั้นชนวรรณะพราหมณ์ กำลังครอบครองความเป็นใหญ่มีอำนาจเต็มที่ ผู้ใดไม่เชื่อถือคำสั่งสอนของพราหมณ์ จัดว่ามีโทษหนัก ดังนี้จึงเห็นได้ว่า ทั้งสนาตนธรรม ไวทิกธรรม อารยธรรม และ พราหมณธรรม ว่าที่จริงแล้วก็คือ ธรรมะอันเดียวกันนั่นเอง เพียงแต่เรียกชื่อไปต่างๆ กัน ตามยุคตามสมัย ถึงอย่างไรตำรับพระเวทก็ยังคงมีอยู่ แต่ทว่า อยู่ในกำมือของพราหมณ์ โดยเฉพาะพราหมณ์ผู้มีหน้าที่ที่จะท่องบ่นสาธยาย และสั่งสอนตลอดจนประกอบพิธีต่างๆ ให้แก่ชนในวรรณะของตน

      ครั้นต่อมาศาสนานี้ได้เปลี่ยนชื่อเรียกกันใหม่ว่า “หินทูธรรม” ซึ่งเป็นการเรียกตามี่นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์เรียกกัน อันที่จริงคำว่า หินทู นี้ มีประวัติมาจากคำว่า สินธุ ซึ่งเริ่มเรียกกันมาได้ประมาณเมื่อ ๗00 ปีก่อน แล้วมากลายเสียง ส เป็น ห ไปตามภาษาท้องถิ่น เช่น อสฺสม หรือ อัสสัม ก็มาออกเสียงเป็น อะหม หรือ อาห เป็นต้น เพราะฉะนั้น สินธุ จึงมากลายเป็น หินทู ไปบ้าง

       คำว่า “หินทู” นี้ ถ้าแปลตามหลักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตแล้ว แปลว่า “ผู้ละเว้นหิงสากรรม” คือ อหิงสก นั่นเอง เพราะตามหลักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต มีการวิเคราะห์ศัพท์สมาสนี้ว่า หิงฺสยา ทูยเต อิติ หินทู แปลความว่า ผู้ใดละเว้นจากหิงสากรรม ผู้นั้น คือ “หินทู” ย่อยจะเห็นได้แล้วว่า ที่ในภาษาไทยเรียก หินทู ว่า ฮินดูนี้ ยังมิใช่คำเรียกที่ถูกต้องนัก คำเรียกที่ถูกต้อง คือ หินทู และด้วยประการฉะนี้ “ฮินดูธรรม” หรือ “หินทูธรรม” จึงแปลว่า ธรรมะที่สอนลัทธิอหิงสา

       ปัญหาชื่อที่ว่า “สนาตนธรรม” เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยไหนนั้น ความจริงในโลกก็ยังไม่เคยมีใครสามารถตอบได้อย่างถูกต้องถ่องแท้เลย ได้แต่สันนิษฐานและอภิปรายในความเห็นกันไปต่างๆ ตามทรรศนานุทรรศนะแห่งตน
     
       ในคัมภีร์พระเวทตอนหนึ่งบอกไว้ว่า “สนาตนธรรม” นี้ เป็นธรรมทั้งอนาทิแลเนติ ควำว่า อนาทิ (อน+อาทิ) แปลตามศัพท์ก็ว่า ไม่มีต้น หรือ ไม่สามรถหาตอนปลายได้หรือไม่รู้จบ นั่นเอง หากจะสรุปให้ง่าย สนาตนธรรม ก็คือ ธรรมะอเนไม่มีต้นและไม่มีปลายด้วย

       อย่างไรก็ตาม ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เชื่อถือกันว่า “สนาตนธรรม” นี้ เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มต้นสร้างโลกแล้ว ซึ่งนับได้ว่า เป็นเวลาที่นานอย่างเหลือที่จะคณานับ แต่ถึงกระนั้นใน “สนาตนธรรม” ก็ยังสู้อุตส่าห์นับจำนวนปีได้หถึงเลข ๑๕ ตัว หรือ ๑๕๕,๕๒๘,๖๔๓,๘๙๓,๐๘๕ (หนึ่งร้อยห้าสิบห้าล้านห้าแสนสองหมื่นปดพันหกร้อยสี่สิบสามล้านแปดแสนเก้าหมื่นสามพันแปดสิบห้า) ปีแล้ว ตามหลักในคัมภีสร์โหราศาสตร์ “สุริยสิทธานตะ” ซึ่งการนับเช่นนี้ในภาษาฮินดี อันเป็นราษฎรภาษา คือ ภาษากลางแห่งชาติของประเทอินเดีย อ่านตรงกับภาษาไทยว่า “สิบห้านีล ห้าสิบ ห้า ขรพ ยี่สิบแปดอรุพ หกสิบกโรฑ (โกฎิ) สามสิบแปดลาข (ล้าน) เก้าสิบสามสหศตร (พัน) กับแปดสิบห้าปี

พระศาสดาของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

       “ศาสดา” หรือ “ผู้ตั้งศาสนา” ในภาษาสันสกฤต เรียกว่า “ธรมปรวรตก แห่งสนาตนธรรม” แปลอีกนัยหนึ่ง ให้ตรงกับภาษาไทยก็ได้ว่า “พระศาสดาของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู” และ พระศาสดาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนี้ก็ยังมีอยู่หลายกัลป์

       ในบางกัลป์พระพรหมา หรือปางของพระพรหมาเป็นประธาน ก็เรียกกัลป์นั้นว่า “พรหมกัลป์” ในบางกัลป์พระวิษณุ หรือปางของพระวิษณุเป็นประธาน ก็เรียกกัลป์นั้น ตามปางของพระวิษณุ มี ๑๐ ปาง เช่น วิษณุกัลป์ วาราหกัลป์ เป็นต้น

       ในบางกัลป์พระศิวะ หรือปางของพระศิวะเป็นประธาน ก็เรียกกัลป์นั้นตามปางของพระศิวะ มี ๑๑ ปาง เช่น ศิวกัลป์ รุทรกัลป์ เป็นต้น ไม่ว่าในกัลป์ที่พระพรหมาเป็นประธาน หรือพระวิษณุเป็นประธาน หรือพระศิวะเป็นประธานก็ตามจะได้ยินเสียงจากนภากาศเรียก “อากาศวาณี” จากปรพหม (พระปรมาตมัน) แล้วนำคำสั่งสอนนั้นสอนให้แก่ สนกะ ในกัลป์ที่พระพรหมาเป็นประธาน สั่งสอนแก่สนกะ, ในกัลป์ที่พระวิษณุเป็นประธานสั่งสอนให้แก่ พระพรหมา แล้วพระพรหมาสั่งสอนให้แก่สนกะ, ในกัลป์ที่พระศิวะเป็นประธาน สั่งสอนให้แก่ พระพรหมาแล้วพระพรหมาสั่งสอนให้แก่ สนกะ

         คำสั่งสอนธรรมะและวิธีปฏิบัติธรรม สนกะเป็นผู้รับและสั่งสอนต่อให้ สนนทนสนนทน สอนให้แก่ สนาตนะ สนาตนะสอนให้แก่ สันตกุมาร ผู้เป็นบุตรของพระพรหมาธดาอีกชั้นหนึ่ง ครั้นต่อมาพระพรหมาธาดา กับ สนตกุมาร ก็ได้สั่งสอนแก่ พระนารทมุนี ผู้เป็นเทพฤษีเพื่อให้เผยแพร่ต่อไปยังนานาโลก แต่สำหรับในมนุษย์โลกนี้ พระอุปเทศก คือ พระผู้แสดงเรื่องราวทางศาสนารองลงมาจาก พระนารทมุนี ก็คือ พระกปิลมุนี ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์แท้ๆ มีตัวตนจริงๆ อยู่ในโลกนี้ พระบิดามีชื่อว่า กรรทมมุนี พระมารดาชื่อ เทวหูติ พระกปิลมุนีได้แสดงธรรมเทศนาครั้งแรกที่ วินทุอาศรม ครั้นต่อมาก็ได้ตั้งอาศรมขึ้นที่ปลายทางแม่น้ำคงคงที่ เรียกว่า กันคงคาสาคร ในเดือนธันวาคมและมกราคม ทุกปี จึงมีประชาชนเป็นจำนวนมากไปจาริกแสวงบุณย์กัน ณ ที่แห่งนั้น.....

       “พระปรมาตมันเป็นพระเจ้าสูงสุด” ในภาษาสันสกฤตเราอาจจะเรียกหัวเรื่องข้อนี้ได้ว่า “อุปสสยเทพแห่งสนาตนธรรม” ในพระสนาตธรรมนี้ มีอุปาสยเทพอยู่ด้วยกัน ๓ พระองค์ คือ พระพรหมา (หรือพระพรหมธาดา) พระวิษณุ และ พระศิวะ ความจริงแล้วก็มีพระองค์เดียวเท่านั้น คือ พระปรมาตมัน แต่พระปรมาตมันไม่มีรูปร่างและไม่มีตัวตนเป็นนิรังการ หรือ ริราการ คือ ไม่มีอาการปรากฏ หรือปราศจากอาการนั่นเอง

ครั้งเมื่อพระปรมาตมันมีความประสงค์จะสร้างโลก พระปรมาตมันก็เลยกลายเป็ฯ “สาการภาพ” ขึ้น คือ เกิดภาวะอันมีอาการ และเป็น ตฺรยรูป (สามรูป) ได้แก่ พระพรหมธาดา พระวิษณุ และพระศิวะ

พระพรหมา  เป็นพระเจ้าผู้สร้างโลกต่างๆ
พระวิษณุ เป็นพระเจ้าปาละ คือ ผู้คุ้มครองโลกต่างๆ
พระศิวะ  เป็นพระเจ้าผู้สังหาร หรือทำลายโลกต่างๆ
เมื่อทั้งสามพระองค์มารวมอยู่เป็นจุดเดียวกันก็กลายเป็นพระปรมาตมัน ผู้ไม่มีรูปกาย แต่ หากว่าผู้ใดมีจิตเลื่อมใสศรัทธา ใคร่จะได้ทรรศนาพระเป็นเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ หรือองค์ใดองค์หนึ่งก็ ย่อมกระทำได้ หากแต่ต้องตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนในคัมภีร์พระเวทอย่างเคร่งครัด เป็นเวลานานจึงจะสำเร็จ

เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

        ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีเทพมากมาย ผู้ที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมศาสนาสถานหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ต่างก็จะเห็นได้ว่า แต่ละสถานที่มีเทพเจ้าแต่ละองค์เป็นเอกเทศโดยเฉพาะก็มี ประดิษฐานรวมกันหลายๆ องค์ ก็มี จึงนึกไม่ออกว่าเทพเจ้าองค์ไหนสำคัญกว่า หรือองค์ไหนเป็นเทพเจ้าสูงสุด หรือแต่ละกลุ่มในศาสนิกชนนับถือแต่ละองค์ บางทีในครอบครัวเดียวกัน สมาชิกของครอบครัวแต่ละคนนับถือเทพเจ้าต่างๆ กัน และให้เป็นเทพเจ้าประจำของตน แต่ทุกคนหรือทุกกลุ่มบอกว่าเป็นสาวกของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเหมือนกัน สำหรับบุคคลที่ไม่เคยศึกษาเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมาก่อนนั้น เรื่องนี้เข้าใจยาก บุคคลที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับศาสนาฮินดูก็เข้าใจยากเช่นกัน เพราะนักเขียนผู้นั้นก็ได้เขียนตามความเข้าใจของตนเอง โดยไม่สามารถจับใจความแท้ หรือไม่สามารถตีความอันเป็นเนื้อแท้ที่เขาเขียนขึ้นนั้นได้ จึงจำเป็นต้องทราบเสียก่อนว่า เทวดาต่างๆ นี้ได้เกิดขึ้นอย่างไรดังนี้

       เมื่อพระปรมาตมันมีความประสงค์จะมีโลภต่างๆ ก็ทรงแบ่งภาคเป็นสามภาค คือ พระพรหม พระนารายณ์ และ พระศิวะ ในเวลาเดียวกัน พระแม่อาทิศักตี ก็ทรงแบ่งภาคเป็นสามองค์ คือ มหาสรัสวดี มหาลักษมี และ มหากาลี หรือ พระแม่อุมาเทวี ทั้งหกองค์นี้แบ่งเป็นปางต่างๆ หรือสร้างเทพเจ้าต่างๆ ขึ้นตามความต้องการ

       คัมภีร์ปุราณได้แสดงงไว้ว่ามีเทวดาทั้งหมด ๓๓๐,๐๐๐,๐๐๐ องค์ (สามร้อยสามสิบล้านองค์) เพราะสิ่งของทุกๆ ชนิด มีเทวดาประจำด้วยทุกสิ่ง แม้กระทั่งไม้กวาดที่ใช้ตามบ้านเรือน (ด้วยเหตุนี้จึงเดินข้ามไม้กวาดไม่ได้ถือเป็นบาป ไม่นำไม้กวาดไปใช้สอยธุระเป็นอย่างอื่น และต้องงางไม้กวาดไว้ในที่อันสมควร) ในบ้านเรือนแต่ละส่วนองค์เทพประจำส่วนของบ้าน เช่น เสาแต่ละต้นมีองค์เทพเจ้าแห่งอัญมณีรัตน์ก็คือ พระกุเวร เทพเจ้าแห่งวิชชาก็คือพระแม่สรัสวดี เทพเจ้าแห่งสมองก็คือพระพิฆเนศวร ดังนี้เป็นต้น

       เทวดาต่างๆ นี้ ไม่ว่าจะมีรูปร่างต่างกัน ชื่อก็ต่างกัน หน้าที่ก็ต่างกัน แต่เป็นวัญญาณอันเดียวกัน คือ พระปรมาตมันสูงสุดนั้น แบ่งภาคหรือแบ่งปางแต่ละสมัย ตามที่ต้องการหรือตามความจำเป็น

พระคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

       ปัญหาที่ว่า มีพระคัมภีร์อะไรหรือตำราใดบ้าง อันเป็นที่ยกย่องกันในศาสนานี้ ตอบได้ง่ายๆ ว่า พระคัมภีร์ของสนาตนธรรมก็คือพระเวท ก็นามว่า “พระเวท” นี้ มีความหมายกว้างขวางมาก และไม่ง่ายแก่การทำความเข้าใจนัก ถ้าต้องการให้เข้าใจดีก็น่าจะต้องศึกษา “ษฎศาสตร์” คือ ศาสตร์ ๖ แขนง ที่เรียกว่า เวทางคศาสตร์ คือ ความรู้อันเกี่ยวข้องกันและนับเนื่องกันส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นพระเวท ศาสตร์ ๖ ประการนั้น ได้แก่


๑.
ศึกษาศาสตร์
สอนการอ่านทำนองของพระเวท ว่าจะอ่านได้อย่างไรบ้าง

๒.
กัลปศาสตร์
สอนไว้ว่าพระเวทหรือคำแต่ละคำของพระเวทและมนตร์ต่างๆ นั้นจะมีวิธีนำเอาไปใช้ที่ไหน อละอย่างไร

๓.
ไวยากรณศาสตร์
สอนว่าคำแต่ละคำของพระเวท พระมนตร์ อุบัติขึ้นมาอย่างไร และ ออกเสียงอย่างไร

๔.
นิรุกติศาสตร์
สอนเรื่องคำพูด หรือ ภาษา ความเข้าใจในภาษาและการรู้จักใช้
ถ้อยคำให้ผู้อื่นเข้าใจ การศึกษาถึงที่มาของคำแต่ละคำว่ามีอะไร
มาประกอบกันเข้าบ้าง จึงสำเร็จเป็นคำได้รูปคำอย่างนี้

๕.
ฉันทศาสตร์ หรือ กาพยศาสตร์
สอนว่ามนตร์แต่ละมนตร์ของพระเวทอ่านทำนองอย่างไรและมีวิธีการประพันธ์แต่ละกาพย์แต่ละฉันท์อย่างไรบ้าง กล่าวคือดาราศาสตร์ สอนถึงคติทางโคจรของดวง ดาราทั้งหลายในท้องฟ้า

๖.
โชฺยติษศาตร์ หรือ โหราศาสตร์
จะสังเกตได้ว่าในสมัยโบราณนั้น แม้ว่านาฬิกาจะยังไม่มี แต่นักดาราศาสตร์ก็สามารถจะบอกเวลาที่ถูกต้องได้ ทั้งนี้รวมถึงวิชาอุตุนิยมวิทยาด้วย

       ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ผู้ใดมีความรู้เรื่องศาสตร์ทั้ง ๖ นี้แล้ว ผู้นั้นก็จะสามารถเข้าใจความหมายของพระเวทได้ดี แต่ทว่าน่าเสียดาย ที่มีบุคคลเพียงส่วนน้อย จะสามารถเรียนให้ครบศาสตร์ทั้ง ๖ แขนงดังกล่าว และพระเวทอื่นๆ ต่อไปอีกด้วยได้ เพราะขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของตนจำกัดและสิ่งแวดล้อมทางสังคม เพราะฉะนั้น ท่านมหาฤษี ไ ทฺปายนวยาสมุนี จึงให้แบ่งการศึกษาพระเวทออกกไปเป็น ๔ เล่ม คือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอถรฺวเวท หนังสือพระเวททั้งสี่นี้ยังแยกออกไปได้อีก ๔ เล่ม ที่เรียกกันว่า อุปเวท ดังนี้


๑. ฤคเวท แสดงประวัติศาสตร์ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเทวโลก มนุษย์โลก หรือเคราะหโลกต่างๆ ที่มีอยู่ในห้วงอวกาศ อุปเวทของฤคเวทก็คือ อายุรเวท คือ แพทยศาสตร์
๒. สามเวท  แสดงกลศาสตร์หรือศิลปะศาสตร์ต่างๆ ตวมทั้งสังคีตศาสตร์ด้วย
อุปเวทของสามเวทก็คือ คนฺธรฺวเวท หรือ คันธรรพเวท ซึ่งมีวิธีใช้ศิลปะแห่งการดนตรีเข้าช่วยให้ตั้งเป็นสมาธิได้
๓.  ยชุรเวท แสดงพิธีบูชาบวงสรวงต่างๆ ที่เรียกว่า ยชฺญกรรม หรือ ยัญญกรรม อุปเวทของยชุรเวทก็คือ ธนุรเวท ซึ่งมีวิธีการสร้างอาวุธต่างๆ
๔. อาถรรพเวท  แสดงการใช้เวทมนตร์เพื่อให้เกิดผลดีหรือผลร้ายขึ้น

อุปเวทของอาถรรพเวทก็คือ ศิลปะเวท ได้แก่วิชาศิลปะต่างๆ


       นอกจากนี้ก็ยังมีคัมภีร์อุปนิษัทอีกจำนวนหนึ่ง ที่รจนาขึ้นเพื่อบรรยายความหมายของพรเวท แต่ต่อมามหาฤษีวยาสมุนี ได้ตระ
หนักว่ายังมีคนอีนับจำนวนไม่น้อย ที่ไม่สามารจะตีความหมายในพระเวทให้เข้าใจได้ จึงได้รจนาคัมภีร์ปุราณขึ้นอีก ๑๘ เล่ม และคัมภีร์อุปปุราณอีก ๑๘ เล่ม เพื่อบรรยายหรืออธิบายข้อความและความหมายของคัมภีร์พระเวทที่ยังยากแก่ความเข้าใจ โดยยกเอาเรื่องจริงๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์ร่วมสมัยมากล่าวเป็นตัวอย่าง ประกอบคำอธิบายและใช้นิทานเรื่องต่างๆ เข้ามาสาธกด้วยเพื่อเป็นอุทธาหรณ์ประกอบให้เข้าใจชัดเจนขึ้น

       เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จึงถือกันว่าในทางสนาตนธรรมแล้วมีพระคัมภีร์หรือตำราที่ยกย่องกันในศาสนาตั้งนี้


๑.  พระเวท           มีจำนวน   ๔       เล่ม
๒.  อุปเวท            มีจำนวน   ๔       เล่ม
๓.  ศาสตร์            มีจำนวน   ๖       เล่ม
๔.  อุปนิษัท          มีจำนวน   ๑๐๘   เล่ม
๕.  ปุราณ             มีจำนวน   ๑๘     เล่ม
๖.  อุปปุราณ         มีจำนวน    ๑๘    เล่ม

     นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่เป็นทำนองอรรถาธิบายคัมภีร์พระเวทอีกมากมาย เช่น คัมภีร์สังหิตา คัมภีร์พระพรหมครันถ์  เป็นต้น รวมกันแล้วนับได้หลายพันเล่ม

    แต่คัมภีร์ที่นับว่าเป็นสาระแห่งพระคัมภีร์ทั้งหลายยังมีอีก ๒ เล่ม คือ คัมภีร์มหาภารต ในคัมภีร์เล่มนี้เองมีอยู่ตอนหนึ่งชื่อ ศรีมัทภควัทคีตา นับว่าเป็นตอนที่สำคัญที่สุด เป็นที่ยอมรับของนักคิดนักการศาสนาและนักปรัชญาทุกระบบ หลักธรรมคำสอนในภควัทคีตาก็มีที่มาจากแหล่งคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของคัมภีร์พระเวทเหมือนกัน
     อีกเล่มหนึ่งได้แก่ คัมภีร์รามายณะ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ทราบเรื่องราวกันดีอยู่แล้ว แต่ในทรรศนะของพราหมณ์-ฮินดู ถือกันว่า พระรามแห่งนครอโยธา เป็นอุทาหรณ์แห่งการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์ ผู้อุดมคุณธรรมอันดีงามในทุกๆ ด้าน และทุกแง่ ทุกมุม เป็น “อุดมเลิศบุรุษ” เพราะฉะนั้น ปราชนจึงพร้อมใจกัน ยกย่องนามของพระราม ให้มีคำคุณศัพท์นำไว้ข้างหน้าว่า “มรฺยาทาปุรุโษตฺตม” ส่วนมากก็เรียกกันว่า มรฺยาทปุรุโษตฺตมราม แปลว่า พระรามผู้มีมรรยาทเลิศบุรุษ

      อันที่จริงแล้ว คัมภีร์ “รามายณะ” ก็คือ ประวัติหรือเรื่องราวของพระรามนั่นเอง แต่ทว่าชาวพราหมณ์-ฮินดูเช่นกันว่า พระรามเป็นอวตาลปางที่ ๗ ของพระวิษณุ (ในนารายณ์สิบปาง หรือทศาวตรารของพระวิษณุ) และเป็นผู้มีคติวิเศษในการปฏิบัติมนุษยธรรม เพราะฉะนั้น ประวัติของพระรามจึงเป็นเรื่องราวอันบริสุทธิ์ยิ่ง สมควรเป็นตัวอย่าง ในการบำเพ็ญชีวิตของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี และด้วยประการฉะนี้ เรื่องรามายณะจึงได้กลายเป็นคัมภีร์สำคัญทางศาสนาไปอีกเล่มหนึ่ง

      เรื่องรามยณะแสดงประวัติของพระรามฉันใด เรื่อ มหาภารตก็แสดงประวัติชีวิตของพระกฤษณะฉันนั้น เพราะพระกฤษณะเป็นอวตารปางที่ ๘ ของพระวิษณุ คำสั่งสอนของพระกฤษณะที่เรียกว่า “ศรีมทฺภควทฺคีตา” นั้น กล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น ทั้งมหาภารต รามายณะ และ ภควัทคีตา  ต่างก็ได้รับความยกย่องเป็นอย่างสูงว่า เป็นคัมภีร์ทางศาสนา ที่ชาวพราหมณ์-ฮินดู ต่างก็ภาคภูมิใจยิ่ง

       ในปัจจุบันเกือบจะกล่าวได้ว่า ทุกๆ ครอบครัวทั้งในและนอกประเทศอินเดีย มีพระคัมภีร์เหล่านี้ไว้ในความครอบครองของตน นอกจากจะถือว่าเป็นวรรณกรรมชิ้น สำคัญแล้ว ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ที่ให้บทเรียนทางปรัชญา ศาสนา และ จริยธรรมในหลายด้าน จนได้รับการแปลออกสู่ภาษาต่างๆ หลายภาษา กล่าวได้ว่าเป็นคัมภีร์แห่งมนุษยธรรมก็ว่าได้

      ในคัมภีร์ของ สนาตนธรรมทุกๆ คัมภีร์ ได้สอนไว้ว่า ชีวคือวิญญาณนี้ไม่มีวันต่ายและไม่มีวันสูญสลายไปเลย ย่อมมีอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์นิรันดร์ เพียงแต่ว่าหมุนเวียนอยู่โดยกรรมคติที่กระทำอยู่ตลอดเวลา สนาตนธรรมที่ได้กล่าวมาตั้งแต่เริ่มต้นนี้ มีอยู่ด้วยกันหลายสาขา เช่น สมารฺต ไวษณพ ไศวะ ศากฺต อารฺยสมาช เป็นต้น

สัญลักษณ์ทางศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

      สัญลักษณ์ทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สำคัญที่สุด คือ ตัวอักษร     ***   อ่านว่า โอมฺ มาจาก อ + อุ + ม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระตรีมูรติเทพ คือ


   แทนพระนารายณ์ หรือพระวิษณุ
อุ    แทน พระพรหมา หรือ พระพรหมธาดา
   แทน พระศิวะ หรือ พระอิศวร


      เมื่อรวมกันเข้าอักษรเดียวกันกลายเป็นอักษร ***  แทนพระปรมาตมัน พระเจ้าสูงสุดไม่มีตัวตน สัญลักษณ์นี้ทุกนิกายทุกลัทธิในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ต้องใช้เป็นประจำ

      รองลงมาก็ คือเครื่องหมายสวัสติกะ เป็น สัญลัษณ์ที่ทุกนิกายและทุกลัทธิใช้เป็นส่วนมาก เครื่องหมายสวัสติกะนี้เป็นเครื่องหมายแทนพระพิฆเนศวร หรือ พระคเนศ หมายถึง เป็นมงคลทุกทิศทุกทางทุกด้านทุกมุม ปราศจากอุปสรรคทั้งปวง

      รองลงมาอีก มีเครื่องหมายสัญลักษณ์หลายอย่าง ซึ่งแต่ละนิกายและลัทธิใช้กันประจำ นิกายและประจำลัทธิ อาทิเช่น นิกายไศวะเอารูปตรีศูล *** เป็นสัญลักษณ์ประจำไศวะ นิกายไวษณพเอารูปจักร เป็นสัญลักษณ์ประจำนิกายไวษณพ นิกายศากกตเอารูปตรีศูล หรือ หอก เป็นสัญลักษณ์ประจำนิกาย นิกายสฺมารฺต เอารูปโอม ***  เป็นสัญลักษณ์ประจำนิกาย ดังนี้ เป็ฯต้น

       ในประเทศไทย เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ใช้รูป ทั้งตรีศูลและตัวอักษร อ อุ ม เป็นสัญลักษณ์ , สมาคมฮินดูสามาช ใช้ตัวอักษรโอม *** เป็นสัญลักษณ์ , สมาคมฮินดูธรรมสภา ใช้รูปโอมล้อมรอบด้วยสวัสติกะและจักรในรูปวงกลมเป็นสัญลักษณ์

       ทั้งสามสถาบันดังกล่าวรวมกันเรียกว่า องค์กรศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีสัญลักษณ์ร่วม คือ ตัวโอมอยู่ในระหว่างตรีศูล นอกจากนี้ยังมีรูปดอกบัว สังข์ คฑา ช้าง โค พระอาทิตย์ นกยูง นาค สิงโต (งู) คันไถ และ อื่นๆ ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำนิกายและประจำลัทธิด้วย แต่ทิ้ง ***  โอมฺ ไม่ได้

นิกายและลัทธิในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

นิกายใหญ่ๆ ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มี ๔ นิกายด้วยกัน คือ

๑.
นิกาย ไศวะ  ถือพระศิวะเป็นใหญ่ และนับถือพระนารายณ์ พระพรหมา และเทพอื่นๆ ด้วย
๒.
นิกาย ไวษณพ   ถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ และนับถือ พระศิวะ พระพรหม และ เทวดาอื่นๆ ด้วย
๓.
นิกาย ศากฺต ถือพระแม่อาทิศักตี หรือ พระแม่ปราศักตีเป็นใหญ่ องค์เทวีทั้งปวงเป็นปางของพระแม่อาทิศักตีหรือพระแม่ปราศักตีนั้นเอง และนับถือพระพรหมา พระนารายณ์ พระศิวะและองค์เทพอื่นๆ ด้วย
๔.
นิกาย สฺมารฺต ถือห้าองค์ด้วยกัน คือ พระพิฆเนศวร พระแม่ภวานี คือ พระแม่อิศักตี พระพรหมา พระนารายณ์ พระศิวะ ไม่องค์ใดใหญ่กว่ากันโดยเฉพาะ

       ทั้ง ๔ นิกายนี้ ถือว่า พระปรมาตมันไม่มีรูป ไม่มีตน เป็นพระเจ้าสูงสุด และ พลังของพระปรมาตมัน คือ พระแม่อาทิศักตี บางตำราก็เรียกชื่อว่าพระปรมาตมันว่า อาทิปุรุษ และ ประพรหม ด้วย มีลัทธิที่แยกจาก
       ทั้งสี่นิกาย มีหลายร้อยนิกายด้วยกัน แต่ละนิกายมีเทวดาสำหรับบูชาสักการะมีพระปรมาจารย์ผู้กำเนิดนิกาย แต่ทุกนิกายถือว่าพระปรมาตมันเป็นพระเจ้าสูงสุดและตัวอักษร โอมฺ ใช้เป็นสัญลักษณ์ทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะมีนิกายมากมายสักเพียงใดก็ตาม แต่เป็นครอบครัวใน สนาตนธรรม คือ พราหมณ์-ฮินดู เดียวกัน

จุดมุ่งหมายของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

จุดมุ่งหมายของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ก็เพื่อนำบุคคลไปสู่ความหลุดพ้น ความหลุดพ้นในที่นี้หมายถึง หลุดพ้นจากกองกิเลสและกองทุกข์ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหลุดพ้นไปแล้วก็จะกลายเป็นเอกภาพมีภาวะเป็นอันหนึ่งอันเดียวไปกับพระปรมาตมันด้วย ภาวะหนทางหรือความเป็นไปเช่นนี้ เรียกว่า “โมกฺษคติ” หรือ “พรหมมารฺค”

      โมกฺษ คือ ความหลุดพ้น ส่วนคติ คือทาง ทางไป หรือทางดำเนิน เพราะฉะนั้น เมื่อรวมกันเข้าแล้วจึงหมายความว่า ทางไปสู่ความหลุดพ้น หรือทางแห่งความหลุดพ้นนั่นเอง บุคคลใดก็ตามเมื่อบรรลุสภาพแห่งความหลุดพ้นเช่นนี้แล้ว บุคคลนั้นก็เป็นอันว่า ไม่มีวันที่จะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป โมกฺษในคติพราหมณ์ – ฮินดู ถือว่า “มีสภาพไปกลมกลืนรวมอยู่กับพระปรมาตมัน”
 
        ในโลกนี้มีโยนิ คือ สัตว์ทั้งหลาย อยู่ถึง ๘,๔๐๐,๐๐๐ ชนิด ในจำนวนนี้มีสัตว์เพียงประเภทเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิพิเศษโดยเฉพาะ ในอันที่จะปฏิบัติการเพื่อ “โมกฺษ” ได้คือ “มนุษย์” เพราะเหตุฉะนั้น คัมภีร์นานาประเภททางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จึงกล่าวไว้เป็นคติเตือนใจว่า หากชีวใดหรือวิญญาณดวงใดก็ตาม ได้มีโอกาสมาถือปฏิสนธิเป็นมนุษย์แล้ว ไม่ปฏิบัติการเพื่อหาหนทางไปสู่โมกฺษคติ โดยถือหลักแห่งมนุษยธรรม คือ ธรรมะ หรือหลักและวิธีการที่มนุษย์จะพึงประพฤติปฏิบัติกลับหันไปประพฤติปฏิบัติแต่อธรรมแล้วไซร้ ชีวนั้นหรือวิญญาณดวงนั้นก็ชื่อว่าเป็นมนุษย์ แต่เพียงร่างกายเท่านั้น จะได้มีความแตกต่างจากสัตว์เดียรัจฉานแม้แต่ประการใดก็หาไม่

      ถึงแม้ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จะสั่งสอนหรือเน้นซึ่งหลักการแห่ง “โมกฺษคติ” หรือ ทางแห่งความหลุดพ้นไว้เช่นนี้แล้วก็ตาม แต่ใช่ว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จะปล่อยให้เป็นภาระแก่เทพเจ้า หรือ อาศัยแต่เทพเจ้าเป็นที่พึ่งอยู่แต่ฝ่ายเดียวก็หาไม่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูก็ยังอาศัยกรรมของตนอยู่นั่นเอง คัมภีร์พระเวทจึงได้สอนไว้ว่า มนุษยชาติทั้งหลาย ควรปฏิบัติตามคติ ๔ ประการ คือ ธรรมะ อรรถะ กามะ และ โมกษะ

อรรถ       แปลว่า     ทรัพย์สมบัติ หรือ สิ่งของที่เราต้องการ
กาม         แปลว่า     ความปรารถนา ความประสงค์ หรือ ความต้องการ การอุปโภคบริโภคซึ่งสิ่งต่างๆ ก็จัดเป็นกามเหมือนกัน
ทั้งสองอย่างนี้หมายความถึงการอันควรปฏิบัติทางอรรถคติ โดยถือหลักธรรมประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง หมายถึง การอันควรปฏิบัติทางกามคติ โดยถือหลักธรรมเช่นเดียวกัน เมื่อทั้งอรรถคติและกามคติได้รับการปฏิบัติเป็นหลักอย่างครบถ้วยแล้ว โมกษคติก็ย่อมจะสำเร็จลงด้วยโดยไม่ต้องสงสัย

        อย่างไรก็ตามเมื่อมนุษย์สำเร็จโมกษธรรมแล้ว ยังไม่ควรจะละเลิกอรรถะกับกามะเสียโดยสิ้นเชิง เพราะถ้าหากมนุษย์ทั้งปวงมิได้คิดถึงอรรถคติกับกามคติเลย มนุษย์เราก็คงจะต้องถึงแก่กาลสูญพันธุ์ หรือมิได้มีการวิวัฒน์พัฒนาทั้งในทางสังคม ทางความเจริญ ทรัพย์สมบัติ ทางโลกและทางประเทศชาติ ตลอดจนแม้กระทั้งทางเพศ คือ การรักษาและขยายชาติพันธุ์มนุษย์ด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้น มนุษย์ก็จะเฝ้าแต่ดิ้นรนหาทางเพื่อไปสู่โมกษะแต่เพียงอย่างเดียว หรือเพียงแต่บำเพ็ญสมาธิเรื่อยเฉื่อยไปเปล่าๆ เมื่อการณ์เป็นดังนี้แล้ว โลกทั้งโลกก็จะดูเสมือนหนึ่งหยุดหมุน หรือหยุดนิ่งอยู่กับที่ จะไม่มีการสมรสรักษาวงศ์ตระกูลให้อยู่ยั่งยืนนาน จะไม่มีการใช้เวลาไปในการศึกษาวิชาการเพื่อแสงงหาความรู้หรือเพื่อความก้าวหน้า หรือแม้แต่ในการสร้าง การประดิษฐ์เครื่องอุปโภค บริโภคต่างๆ อีกต่อไป

       อย่างไรก็ตามโดยธรรมชาติแล้ว คนเราย่อมมีปกติต้องคิดหรือต้องทำ ไม่สิ่งใดก็สิ่งหนึ่งอยู่เสมอ จะอยู่นิ่งๆ ย่อมไม่ได้ เพราะฉะนั้น คัมภีร์พระเวทจึงกล่าวว่า มนุษย์เราความปฏิบัติตนตามอรรถคติและกามคติ โดยถือหลักธรรมชาติ ทั้งนี้ ก็เพื่อน้อมนำตนให้เข้าสู่โมกษคตินั่นเอง เพราะคัมภีร์พระเวทสอนไว้ว่า มนุษย์เราควรจะแสวงหาทรัพย์สมบัติโดยมีหลักธรรม และทรัพย์สมบัติที่หามาได้แล้วโดยหลักธรรมนั้น ก็พึงนำไปใช้ในการอุปโภคบริโภคอย่างมีหลักธรรมด้วยจึงจะชอบ

ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูในดินแดนสุวรรณภูมิ

ก .สมัยก่อนรัตนโกสินทร์

ศาสนาพราหมณ์ได้เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิก่อนสมัยทวารวดี แต่ไม่สามารถหาหลักฐานได้ว่าเมื่อใด แม้แต่คัมภีร์ชาดกในพระพุทธศาสนา เช่น มหาชนกชาดก สังขพราหมณ์ชาดก สุสันธีชาดก เป็นต้น และคัมภีร์รามายณะก็กล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิ และสุวรรณทวีปไว้ เท่าที่หาหลักฐานได้ เมื่อ พ.ศ. ๓๐๓ คณาจารย์พราหมณ์ ที่ติดตาม พระโสณเถระกับพระอุตรเถระศาสนาทูต ของพระเจ้าอโศกมหาราช เข้ามายังสุวรรณภูมิ จุดแรกที่พระเถระทั้งสองมาประดิษฐานพระศาสนา คือ นครปฐม ตอนนี้ก็นับเป็นยุคแรก ๆ ของพราหมณ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันดังประจักษ์พยาน ในการเผยแผ่ศาสนาพราหมณ์ คือ ปฏิมากรรมในพระพุทธศาสนา เช่น เทวรูป เทวาลัย พบที่จังหวัด นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรีและที่ตำบลพงตึก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น

โบราณวัตถุของพราหมณ์ดังกล่าวนี้ มักจะพบคู่กับปฏิมากรรมในพระพุทธศาสนา เช่น พบพระพุทธรูป พระเจดีย์ หรือ พระปรางค์ ณ ที่ใดก็มักจะพบเทวรูป และศาสนาของพราหมณ์พร้อมกับวัตถุทางศาสนา เช่น เสาชิงช้า เป็นต้น ณ ที่นั้นด้วยเสมอ

ที่เป็นดังนี้เพราะ ศาสนาพราหมณ์ได้แพร่ออกจากอินเดียพร้อม ๆ กับการเดินทางของพระอรหันต์สมณฑูต ๒ รูป ดังกล่าว ยุคนี้ ศาสนาพราหมณ์แพร่มาทางพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานหรือเถรวาท หลังจากการทำตติยสังคายนาในประเทศอินเดีย

ราวพุทธศักราช ๑๘๐๐ พระพุทธศาสนาลัทธลังกาวงศ์ ได้แพร่มาจากอินเดียมาสู่ประเทศไทย ตั้งมั่นที่กรุงสุโขทัย กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ทรงเอาพระทัยใส่ทะนุบำรุงมาก ในขณะเดียวกัน ก็ทรงเอาธุระในศาสนาพราหมณ์ด้วย ในราชสำนักมีพราหมณ์ พระศรีมโหสถพระมหาราชครูเป็นปุโรหิต ถวายความรู้วิทยาการนักรบ และวิทยาการของกษัตริย์ มีการประกอบพิธีกรรมตามพระเวท อันสืบเนื่องมาเป็นพระราชพิธี จนปัจจุบัน ดังที่รู้เห็นและทราบ ๆ กันอยู่แล้ว

บรรดาพิธีกรรม ที่เกี่ยวกับการเบียดเบียนชีวิตมนุษย์และสัตว์ ที่เรียกว่ายัญกรรมนั้น คณาจารย์พราหมณ์ในประเทศไทยได้เลิกหมดสิ้น เข้าใจว่าเป็นเพราะสังคมไม่นิยม หรือขัดความรู้สึกพื้นฐานของสังคมชาวพุทธ คงเหลือแต่การประกอบพิธีสาธยายพระเวท สร้างมงคลล้างอัปมงคลดำเนินงานศาสนาคู่กันไปกับพระพุทธศาสนา อีกทั้งคณาจารย์พราหมณ์ ได้เป็นอุบาสกทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา เจริญรอยตามพระยุคลบาทพระราชาธิบดีของประเทศไทยตั้งแต่โบราณกาลนั้นด้วยเหตุนี้เอง คำว่า “พุทธกับไสยอิงอาศัยกัน” จึงเกิดมีขึ้น ปัจจุบันนี้พิธีกรรมพราหมณ์บางอย่างก็มีพุทธเจือปน เช่น มีพระสงฆ์สวดมนต์ท้ายพระราชพิธีตรียัมพวาย – ตรีปวาย เป็นต้นเรื่องของพุทธก็มีพิธีพราหมณ์แทรก เช่น การเดินประทักษิณรอบวัตถุสถานมงคล การจุณเจิมลูกนิมิต การรดน้ำสังข์ให้เจ้านาค การเบิกพระเนตรพระพุทธปฏิมา เป็นต้น

ในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ตามลัทธิลังกาวงศ์จึงนับว่า เป็นยุคที่สองของพราหมณ์ในประเทศไทย ยุคนี้ห่างจากยุคแรก ถึง ๑๕๐๐ ปีเศษ ได้ปรากฏปูชนียวัตถุ ในศาสนาพราหมณ์หลายแห่ง ที่ขุดพบในอาณาจักรสุโขทัย รวมทั้งจารึกพระเวทในศาสนาพราหมณ์อีกเป็นจำนวนมากด้วย

พราหมณ์ในประเทศไทยนี้ อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นพราหมณ์สมัยพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่า ที่ตั้งของศาสนพิธีของพราหมณ์ก็ดี ของพุทธก็ดี ที่ได้สำรวจพบในประเทศไทย มักจะมีวัตถุเทวรูป ปฏิมากรรม อยู่ในสถานที่ตำบลเดียวกันเสมอ

เริ่มแรกที่ได้แพร่เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมินี้ ประมาณ พ.ศ. ๓๐๓ คือ เป็นสมัยที่เกี่ยวข้องกับพระโสณะเถระ และพระอุตตระเถระ เป็นศาสนฑูตของ พระเจ้าอโศกมหาราช นั่นเอง และย่อมเป็นของแน่นอนว่า พราหมณ์ปุโรหิตที่ได้เข้ามาในสมัยเดียวกันนั่นเอง ได้เริ่มสอนวิชาการต่าง ๆ อันเป็นอาถรรพเวทและอุปเวท ควบคู่กันไปกับการสอนพระพุทธศาสนา เราจึงพบว่าพุทธกับไสยได้ดีเกลียวเป็นเชือกเส้นเดียวกัน คณาจารย์สายแรกที่มา ตั้งอยู่ ณ นครปฐม ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ระยะหนึ่ง แล้วจึงเดินทางไปทางใต้ สู่ราชบุรี เพชรบุรี ไชยา จนถึงนครศรีธรรมราช พัทลุง ระหว่างทางนี้ได้สร้างโบสถ์ วิหาร ของพระพุทธศาสนาและของพราหมณ์ มาตลอดรายทาง ดังจะพบเห็นปูชนียวัตถุทั้งสองอย่างนี้พร้อมกันไปดังกล่าวแล้ว

สายที่สอง ที่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ เดินทางอ้อมมาจากหมู่เกาะชวา ขึ้นที่ประเทศจามราว ๆ ญวนใต้หรือเขมร แล้วแผ่อิทธิพลเข้าไปสู่อาณาจักรขอม ในตอนนี้เป็นที่น่าสนใจว่ากษัตริย์ที่ปกครองเขมร มีนามว่า องค์สริยวรมัน อีกพระองค์มีนามว่า โกณฑัญญะ (พราหมณ์) ภายหลังเมื่อได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งขอมแล้ว ก็ได้สถาปนาเป็นราชวงศ์ขึ้นใหม่ ชื่อว่า สุริยวรมัน วงศ์นี้ได้นำความเจริญมาสู่ขอมอย่างมากมาย ทั้งทางวัตถุและศาสนา เป็นความเจริญรุ่งเรืองทั้งศาสนาและอาณาจักร มีวัตถุโบราณอันเป็นศิลปวัตถุของสมัยนี้ปรากฏอยู่มาก ทั้งในดินแดนเขมรและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

อย่างไรก็ตาม การเดินทางจากอินเดียเข้าสู่สุวรรณภูมิ ก็ได้เกิดขึ้นหลายยุคหลายสมัยตามหลักฐานที่ได้จดหมายเหตุไว้มีปรากฏ เมื่อครั้ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช พระนารายณ์รามาธิบดีแห่งรามนคร (พาราณสี) ในอินเดียเป็นผู้เรืองอำนาจมาก เหล่าทหารเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศได้ ครั้งหนึ่งมีพ่อค้าชาวรามนครคนหนึ่ง นำสิ่งของบรรทุกเรือเข้ามาขายที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อขายเสร็จแล้วก็จัดซื้อสิ่งของบรรดามีในกรุงศรีอยุธยา เมื่อขายเสร็จแล้วก็จัดซื้อสิ่งของบรรดามีในกรุงศรีอยุธยา บรรทุกเรือกลับไปยังรามนคร ครั้นแล้วก็ได้นำสิ่งของต่าง ๆ เข้าเฝ้าถวายต่อเจ้าเมืองรามนคร อันมีพระนามว่าพระนารายณ์รามาธิบดี แล้วได้กราบบังคมทูลเรื่องราว ที่ได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาว่า เจ้าเมืองแห่งนครนั้นก็ทรงพระนามว่าพระนารายณ์รามาธิบดีเหมือนกัน เมื่อเจ้าเมืองรามนครทรงทราบดังนั้น จึงสั่งให้จตุรทหาร เอาเครื่องจตุรภัณฑ์เข้ามายังพระนครศรีอยุธยา และรับสั่งว่าถ้าเป็นพระนารายณ์จริง ก็จะเห็นเป็นสี่กร ให้เอาเครื่องบรรณาการนั้นถวาย แต่ถ้าเป็นคนธรรมดาแล้วให้ตัดศรีษะเสีย ทหารทั้งสี่แสดงอิทธิฤทธิ์เหาะมาทางอากาศเข้าสู่พระราชมณเฑียรของพระนารายณ์รามาธิบดีแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อได้เข้าไปในห้องบรรทม ก็ได้เห็นพระนารายณ์รามาธิบดีบรรทมอยู่ และมีสี่พระกรด้วยกัน ด้วยอานุภาพอันอัศจรรย์ ทหารทั้งสี่ถึงกับตะลึง มีอาการงงงันพูดไม่ออกดุจคนใบ้ ครั้นพระนารายณ์ตื่นบรรทมเห็นเข้าจึงทรงถามดูเมื่อได้ทราบความจริงแล้วก็ทรงโสมนัสยินดี ที่จะเป็นไมตรีกับพระนารายณ์เมืองรามนคร ทรงมีรับสั่งให้จัดเครื่องบรรณาการ ให้ทหารทั้งสี่กลับไปถวายตอบแทน ทหารทั้งสี่กลับไปยังรามนคร ให้พระนารายณ์แห่งรามนครทรงทราบความจริง พระองค์จึงรับสั่งให้นำเทวรูปพระนารายณ์ พระลักษมี พระมเหศวรี บรมหงส์ และ ชิงช้าทองแดง ให้ราชทูตนำลงเรือมาถวายยังกรุงศรีอยุธยาในระหว่างทางเรือได้ถูกพายุพัดพา เข้ามายังปากน้ำเมืองตรัง ข่าวทราบถึงเมืองนครศรีธรรมราชเจ้าเมืองนั้น พร้อมด้วยบริวาร พากันไปรับเทวรูปทั้งหมด มาไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช แล้วแจ้งข่าวไปยัง พระนารายณ์แห่งพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ทรงโปรดให้มารับเทวรูปโดยทางเรือ ขณะนั้นบังเกิดอัศจรรย์มีลมพายุพัดมาเป็นเมฆหมอกมืดอยู่ ๗ วัน ๗ คืน เทวรูปพระนารายณ์ก็เข้านิมิต ให้เจ้าพระยาโกษาธิบดีทราบว่า พระองค์ต้องการอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช เพราะมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ที่หาดทรายแก้ว บรรดาข้าราชการบริพารทั้งหลาย จึงต้องนำเทวรูปกลับมาไว้ยังเมืองนครศรีธรรมราชตามเดิม ข้าราชบริหารทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องราวที่เกิดขึ้นยังพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ให้เจ้านครหาที่ให้เหมาะสมเพื่อประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ไว้ ณ เมืองนครนั้น เจ้านครพร้อมด้วยออกทหารกรมการเมือง

ตระกูลของพราหมณ์ที่เข้ามาในประเทศไทยนี้มีมากมาย แต่เนื่องจากเป็นพราหมณ์ในสังคมพุทธ ดังกล่าวแล้ว ฉะนั้น การถือวรรณะก็เป็นแต่เพียงการรักษาธรรมเนียมของตระกูลหาได้ถือว่าวรรณะเป็นการแบ่งแยกชั้นของบุคคลทางสังคมวิทยาแต่อย่างใดไม่ การสมรสกันในชั้นต่าง ๆ จึงไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณาคงถือเฉพาะสายเลือดของฝ่ายบิดาเท่านั้นที่จะบวชเรียน ถือเพศเป็นพราหมณ์ต่อไปได้ และเป็นที่น่าเสียดายที่การใช้นามสกุลไม่มีมาแต่เดิม และไม่อาจทราบได้ว่าเปลี่ยนแปลงกันเมื่อไร จึงไม่มีทางทราบได้ว่าผู้ใดเป็นเชื้อสายของพราหมณ์อยู่ บางทีตนเองเป็นพราหมณ์อยู่โดยสายเลือดแล้ว ก็ยังไม่รู้ตัว เช่นนี้ก็มีไม่น้อย ทั้งนี้เพราะการขาดจดหมายเหตุนั่นเองเท่าที่ทราบ ขอยกตัวอย่างตระกูลพราหมณ์สำคัญครั้งกรุงศรีอยุธยามาให้เห็นในที่นี้ คือ

พราหมณ์ศิริวัฒนะ ได้เป็นพระมหาราชครูพระราชปุโรหิตาจารย์สุภาวดีศรีบรมหงษ์วงศ์บริโสดมพราหมณ์ ทิชาจารย์ พระมาหราชครู ท่านผู้นี้ได้มีลูกหลานให้กำเนิดสกุลสำคัญ ๆ สืบต่อมาจนถึงรัตนโกสินทร์นี้มากมาย คือ

เจ้าพระยาพลเทพ (ทองอิน) เป็นต้นสกุล ทองอิน อินทรพล
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ (มุก) เป็นต้นสกุล นรินทรกุล
เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นสกุล สิงหเสนี
เจ้าพระยาสุรินทรราชา (จันทร์) เป็นต้นสกุล จันทรโรจวงศ์
พระยาทัศฎาจาตุรงค์ (ขนมต้ม) เป็นต้นสกุล ชัชกุล
พระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก) เป็นต้นสกุล ภูมิรัตน์
เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี) เป็นต้นสกุล บูรณศิริ
หลวงอาสาสำแดง (แตง) เป็นต้นสกุล สุจริตกุล
พระยาราชโยธา (ทองอยู่) เป็นต้นสกุล ศิริวัฒนกุล

      จะเห็นได้ว่าสกุลพราหมณ์สมัยกรุงศรีอยุธยาที่ได้จดหมายเหตุเอาไว้ ได้สืบเนื่องกันมาเป็นหลายสกุลในขณะนี้ เกิดจากพราหมณ์ศิริวัฒนะเพียงคนเดียว แต่ที่นอกเหนือไปจากนั้นที่ไม่ได้จดหมายเหตุเอาไว้ ใครจะรู้ได้ว่า เวลานี้มีผู้ใดบ้างที่มีเชื้อสายเป็นพราหมณ์อยู่ เพราะพราหมณ์มีหน้าที่ในราชสำนักและการทำกิจพิธีของราษฎร์มาเป็นเวลาช้านานในประเทศไทยแล้วอย่างไรก็ตามพราหมณ์นั้นเรียกว่าเป็น ทวิชาติ คือ ผู้เกิดสองหน
การเกิดครั้งแรกเกิดจากบูรพการีคือบิดามารดาผู้ให้ชีวิต
การเกิดครั้งที่สอง คือ การบวชตามประเพณีพราหมณ์
ที่เรียกว่า พิธีอุปนยนสันสการ คือพิธีรับสายยัญโญปวีต เป็นพราหมณ์ตามธรรมเนียม

เราแบ่งหน้าที่พราหมณ์ออกเป็น

๑. พราหมณ์โหรดาจารย์ ผู้บูชาในลัทธ
๒. พราหมณ์อุทาคาดา สวดขับดุษฎีสังเวย
๓. พราหมณ์อัชวรรยุ จัดทำพิธีในลัทธิ

ข. สมัยรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯให้พราหมณ์จากปักษ์ใต้ขึ้นมารับสนอง พระบรมราชโองการ เป็นพราหมณ์ประจำราชสำนัก ปฏิบัติพระราชพิธีสำหรับพระองค์และประเทศชาติ โดยให้ประกอบพระราชพิธีตรียัมปวาย โล้ชิงช้า ซึ่งเป็นการขอพรเทพเจ้าพระอิศวร ให้พระนครมีความมั่นคง แข็งแรง และมีความอุดมสมบูรณ์ หลังจากการสร้างพระนครแล้ว ทรงโปรดให้ทำพิธีปราบดาภิเษก เถลิงราชสมบัติ และสถาปนาพระองค์เป็นสมมุติเทพปกครองประชาราษฎร ์และทรงโปรดเกล้าฯให้พราหมณ์ปฏิบัติพระราชพิธีต่อมาทุกรัชกาล จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเล็กน้อยก็ให้เลิก กรมพิธีพราหมณ์ กระทรวงวังซึ่งสมัยนั้นเป็นหน่วยงานของรัฐบาลเสีย พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราหะห์ให้พราหมณ์ปฏิบัติพระราชพิธีสำหรับพระองค์และประเทศชาติต่อไป โดยให้ขึ้นตรงต่อสำนักพระราชวัง และปฏิบัติศาสนกิจที่เทวสถานสำหรับพระนคร ข้างวัดสุทัศนเทพวราราม เสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร

ตำแหน่งพราหมณ์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (อักขรวิธีรักษาไว้อย่างต้นฉบับทุกประการ)
พระมหาราชครู พระครูมหิธรธรรมราชสุภาวดีศรีวิสุทธิคุณวิบูลธรรมวิสุทธิพรมจาริยาธิบดีศรีพุทธาจารย์
นา ๑๐๐๐๐
พระราชครู พระครูพิเชดษรราชธิบดีศรีษรดม นา ๕๐๐๐
พระธรรมสาตรราชโหระดาจารย์ ปลัดมหิธร    นา ๓๐๐๐


ที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา และสั่งสอนพระเวทวิชาการต่าง ๆ เป็นอย่างดี

จากตำนานที่มีอยู่ และ ข้อสันนิษฐานต่าง ๆ เมื่อรวมกันแล้วจะเห็นว่าวิชาการต่าง ๆ ที่ได้ร่ำเรียนกันมา
ในสมัยพันกว่าปีลงมานี้ ได้อาศัยวิชาในแขนง อุปเวท อาถรรพเวท เป็นส่วนมาก เช่นอายุรเวท ว่าด้วย
ทาง เภสัชการปรุงยาและการแพทย์ทุกแขนง นิติเวท ว่าด้วยการปกครองกฏหมาย ระเบียบแบบแผน
ของบ้านเมือง เป็นต้น ตลอดจนวรรณคดี เช่น หนังสือสมุทโฆษคำฉันท์ฉบับที่พระมหาราชครูแต่งและ
หนังสือจินดามณี ต้นตำราการเรียนภาษาไทย ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้พระยาโหราธิบดี
(พราหมณ์) แต่งเอาไว้ เพื่อใช้สอนกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์นี้ เป็นต้น ฉะนั้น ในสมัยก่อนที่ปรึกษา
ราชการงานเมือง จึงมีพราหมณ์ปุโรหิตอยู่ด้วยเสมอ เพราะโดยตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนวิชาการต่าง ๆ
ด้วย นี่เองเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สถาบันกษัตริย์ของไทยเรา จึงมีพราหมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องในราชสำนักสืบ
มาจนถึงแม้กระทั่งทุกวันนี้กล่าวโดยปริยายส่วนสูง ก็เพื่อเป็นการช่วยสงเคราะห์สังคมนั่นเอง

จากการวิวัฒนาการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปจากวิวัฒนาการเดิม มาเป็นการรักษาประเพณีของ ชาติและ ขนบธรรมเนียม อันเป็นมงคลให้บังเกิดอิทธิฤทธิ์ ตามคัมภีร์ไสยศาสตร์ในด้านอาถรรพเวท เช่น พระราชพิธืถือน้ำพิพัฒน์ สัตยา พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพธีตั้งหลักเมือง พระราชพีตรียัมพวาย – ตรีปวาย พระราชพีบรมราชาภิเษก

พระอัฐยาปรีชาธิบดีโหระดาจารย์ ปลัดพระครูพิเชต        นา ๓๐๐๐
พระญาณประกาษอธิบดีโหระดาจารย์                         นา ๓๐๐๐
พระศรีลังกอรอธิบดีโหระดาจารย์                               นา ๓๐๐๐
ขุนไชยอาญามหาวิสุทธิปรีชาจารย์                            นา ๑๕๐๐
ขุนจินดาพิรมยพรมเทพวิสุทธิวงษาจารย์                     นา ๑๕๐๐
พระมหาราชครู พระราชประโรหิตาจารย์ ราชสุภาวดีศรีบรมหงษ์องคปุริโสดมพรหมญาณวิบุลสิลสจริตวิวิทธเวทยพรหมพุทธาจารย์
นา ๑๐๐๐๐
พระราชครู พระครูพิรามราชสุภาวดีตรีเวทจุทามะณีศรีบรมหงษ์
นา ๕๐๐๐
พระเทพราชธาดาบดีศรีวาสุเทพ ปลัดพระราชครูประโรหิต
นา ๓๐๐๐
พระจักปานีศรีสิลวิสุทธิ ปลัดพระครูพิราม
นา ๓๐๐๐
พระเกษมราชสุภาวดีศรีมณธาดูลราช เจ้ากรมแพ่งกระเษม
นา ๓๐๐๐
ขุนสุภาเทพ ๑ ขุนสุภาพาน ๑ ปลัดนั่งศาล                 นา ๔๐๐
ขุนหลวงพระไกรศรีราชสุภาวดีศรีมณธาดูลราชเจ้ากรมแพ่งกลาง                                                                 นา ๓๐๐๐
ขุนราชสุภา ๑ ขุนสุภาไชย ๑ ปลัดนั่งศาล                  นา ๔๐๐
พระครูราชพิทธีจางวาง                                          นา ๑๐๐๐
พระครูอัศฎาจารย์เจ้ากรม                                       นา ๘๐๐
หลวงราชมณี ปลัดกรม                                          นา ๖๐๐
ขุนพรมไสมย ครูโล้ชิงช้า                                       นา ๔๐๐
ขุนธรรมณะรายสมุบาญชีย                                      นา ๓๐๐
ขุนในกรม                                                           นา ๓๐๐
หมื่นในกรม                                                         นา ๒๐๐
พราหมณ์เลวรักษาเทวสถาน                                   นา ๕๐
พระอิศวรธิบดีศรีสิทธิพฤทธิบาทจางวาง                     นา ๑๐๐๐
หลวงสิทธิไชยบดี เจ้ากรม                                      นา ๘๐๐
หลวงเทพาจาริยรองพระดำรับชวา                            นา ๖๐๐
หลวงอินทาไชยไชยาธิบดีศรียศบาทรองพระตำรับซ้าย นา ๖๐๐
ขุนในกรมพฤทธิบาท                                            นา ๓๐๐
หมื่นในกรมพฤทธิบาท                                          นา ๒๐๐
ประแดงราชมณี                                                   นา ๒๐๐

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พราหมณ์ชาวอุตตรประเทศ และปัญจาบ ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมการ โดยที่ศาสนิกพราหมณ์ ที่มาจากปัญจาบทำกิจการค้าขายผ้า ๙๙% ศาสนิกพราหมณ์ที่มาจากอุตตรประเทศ ประกอบกิจการประเภทรับจ้างและราชการ เป็นต้น ใน พ.ศ. ๒๔๒๒ ศาสนิชกพราหมณ์จากทางภาค ใต้ของอินเดียที่อยู่ในประเทศไทย ได้ร่วมกัน จัดสร้างศาลาเล็ก ๆ สำหรับประดิษฐานเทวรูปพระแม่อุมาเทวี เพื่อให้ศาสนิกพราหมณ์ทั้งหลายได้เคารพบูชา เมื่อ จำนวนศาสนิกมากขึ้น จึงไปจัดสร้างวัดวิษณุ โดย ศาสนิกพราหมณ์อุตตรประเทศร่วมกันจัดสร้าง

ศาสนิกชาวปัญจาบแบ่งเป็น ๒ พวก คือ ซิกข์ และพราหมณ์ฮินดู (ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าวรรณะแพศย์) ได้ใช้สถานที่ ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจที่บ้านบริเวณหลังวังบูรพา เมื่อมีศาสนิกเพิ่มมากขึ้นจึงแยกกัน โดยที่ศาสนิกพราหมณ์ฮินดู ไปสร้างฮินดูสมาชขึ้นที่บริเวณใกล้เสาชิงช้า (คือบริเวณฮินดูสมาชที่ ปรากฏอยู่บัดนี้) ต่อมาชาวภารตรวบรวมกันจัด ตั้งสถาบันขึ้นพร้อมกับสมาคมฮินดูธรรมสภา เรียกว่า อารยสมาช (เป็นพราหมณ์ฮินดูที่ถือธรรมะเป็นศาสนา ไม่บูชานับถือรูปเคารพใด ๆ )

การปกครองของพราหมณ์ในปัจจุบัน

พราหมณ์ได้รับพระราชทานตำแหน่งจากพระมหากษัตริย์ ให้มีตำแหน่งเป็น
๑. พระมหาราชครู
๒. พระราชครู
๓. พระครู
๔. พราหมณ์พิธีฃ

ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ถวาย โดยขึ้นตรงกับกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง

ลำดับตำแหน่งของพราหมณ์ในพระราชสำนัก

๑. พระมหาราชครู , พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้า หรือ ประธานพระครูพราหมณ์
๒. พระครูอัษฎาจารย์ ตำแหน่งเป็นผู้ช่วยฝ่ายเลขา
๓. พระครูสตานันทมุนี ตำแหน่งเป็นผู้ช่วยฝ่ายซ้าย
๔. พระครูศิวาจารย์ ตำแหน่งเป็นผู้ช่วยทั่วไป
๕. พราหมณ์ ผู้จัดเตรียมพิธีกรรม



ที่มา-- devasthan.org